ทำไมนิสิต (มน.) จึงบริจาคเลือด


เราๆ ท่านๆ ที่มีประสบการณ์ในการบริจาคเลือดครั้งแรกคงจะคิดไปต่างๆ นานา... ไม่เหมือนกัน

                               

เราๆ ท่านๆ ที่มีประสบการณ์ในการบริจาคเลือดครั้งแรกคงจะคิดไปต่างๆ นานา... ไม่เหมือนกัน ผู้เขียนบริจาคเลือดครั้งแรกที่ศูนย์ฝึกวิชาทหาร กรมการรักษาดินแดง กรุงเทพฯ

Menorah <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> อาจารย์ครูฝึกท่านประกาศเสียงดังฟังชัดว่า ใครบริจาคเลือดไม่ต้องฝึก กลับบ้านได้เลย ผู้เขียนฟังแล้วตัดสินบริจาคทันที… ได้บุญด้วย ไม่ต้องฝึกด้วย… ถูกใจจริงๆ </div></li></ul><p>ปีนี้ (2549) มีนิสิตรังสีเทคนิค มน. ไปฝึกงาน 4 ท่านได้แก่</p>

  • คุณพัฒนา แจ้งสว่าง / ป้อม
  • คุณโนรี สรรเพชุดามณี / โน่
  • คุณศิริพรรณ รักษาคำ / เชอรี่
  • คุณธวัชชัย ตาลผัด / ต้น

</span></span><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">นิสิตรังสีเทคนิค 4 ท่านบริจาคเลือดกันครบทุกท่าน… เชิญอ่านเรื่องการบริจาคเลือด “เชอรี่บริจาคเลือดครั้งแรก” ได้ที่นี่ >>>>> [ Click ] หรือที่นี่ >>>>> http://gotoknow.org/blog/talk2u/61608</p><ul><li class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">ผู้เขียนขอให้ท่านเหล่านี้ลองเล่าว่า ทำไมถึงได้บริจาคเลือด</li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    เชอรี่:</p> <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">เชอรี่… นักธรรมโทคนขยันตามคุณแม่ไปบริจาคเลือดมาแล้วหลายครั้ง ครั้งนี้ลงทุนบริจาคเลือดเป็นครั้งแรกกล่าวว่า อยากรู้ว่า ความรู้สึกของการบริจาคเลือดนั้นเป้นอย่างไร และอยากรู้ว่า ตัวเองจะทำได้หรือไม่</div></li></ul>    โนโน่: <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">โนโน่… นิสิตคนขยัน ช่างซักช่างถามกล่าวว่า ต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยการบริจาคเลือดเลือด ซึ่งคิดว่า เป็นทานที่ดีที่สุด และร่างกายเราก็พร้อมที่จะบริจาค</div></li></ul>    ป้อม: <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">ป้อม… นิสิตคนขยัน และมีบุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใสกล่าวว่า เพราะว่า พอบริจาคแล้วมีความสุขกับการที่เราสามารถทำประโยชน์ให้คนอื่นได้ โดยการบริจาคเลือด ถึงแม้ว่า มันไม่มีค่ามากมาย แต่ถ้ามีโอกาสก็อยากบริจาคอีก!”</div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    ต้นตาล:</p> <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">ต้นตาล… นิสิตที่ช่วยผู้เขียนเก็บมะละกอไปถวายวัดกล่าวว่า เพราะผมคิดว่า หากเรามีอากาสที่จะทำดี, ทำบุญแล้ว ควรจะรีบทำ </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ถึงแม้ว่า มันจะเป็นเพียงการทำบุญเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ซึ่งในการบริจาคเลือดครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 3 เมื่ออาจารย์ชวนจึงมีจิตคิดบริจาคทันทีครับ!”</p> Raining Hearts <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify"> อาจารย์คลังเลือด ศูนย์วิจัยสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวรกล่าวชมนิสิตไว้เมื่อปี 2547 ว่า นิสิตช่วยเหลือคลังเลือดดีมาก ช่วยกันรวมกลุ่มกัน… เวลาเลือดขาดนี่… นิสิตจะช่วยกันตามเพื่อนๆ มาบริจาค </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ผู้เขียนขออนุโมทนา… สาธุ สาธุ สาธุ… กับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรทุกท่านที่บริจาคเลือด</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">Love Drops</p><ul>

  • การบริจาคเลือดไม่ใช่บุญเล็กๆ แต่เป็นบุญใหญ่ๆ ที่เราทำได้โดยไม่ยาก และทำได้เป็นประจำ... ถ้ารักษาสุขภาพให้ดี
  • ท่านผู้อ่านบริจาคเลือดแล้วยังครับ... ลองดูแล้วจะรู้ว่า บุญอย่างนี้ไม่ธรรมดาเลย
  • </ul><p>    แหล่งข้อมูล: </p><ul>

  • ขอขอบพระคุณ > เชอรี่, โนโน่, ป้อม, ต้นตาล. นิสิตรังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรที่ไปฝึกงานศูนย์มะเร็งลำปาง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๔๙.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ >
  • ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้โดยไม่เกี่ยวข้องกับการค้าได้ครับ...
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 18.0pt" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 18.0pt" class="MsoBodyTextIndent">    เชิญอ่านและดาวน์โหลดที่นี่:</p><ul>

  • รวมบทความน่าอ่าน >>> http://gotoknow.org/planet/go2no
  • อ่านบ้านสุขภาพ >>> http://gotoknow.org/blog/health2you > เชิญท่านผู้อ่านชมบันทึกย้อนหลังได้จากปฏิทินกิจกรรมทางขวามือ (เลือกจากเดือนและปี)
  • อ่านบ้านสาระ >>> http://gotoknow.org/blog/talk2u > เชิญท่านผู้อ่านชมบันทึกย้อนหลังได้จากปฏิทินกิจกรรมทางขวามือ (เลือกจากเดือนและปี)
  • Download แฟ้ม PDF >>> www.lampangcancer.com > ขอขอบคุณณรงค์ ม่วงตานี webmaster
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 67499เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (16)
    • สวัสดีค่ะท่านอาจารย์หมอวัลลภที่เคารพรักของเราชาว NUKM blog
    • ..
    • ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ จาก อ.หมอมาก ๆ ค่ะ หนูเองเพิ่งไปบริจาคเลือดมาเมื่อบ่ายวันนี้เองค่ะ
    • ..
    • ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว ครั้งแรกเลือดข้นมาก ๆ ไม่ยอมเต็มถุงสักทีค่ะ สุดท้ายเลยได้แค่ครึ่งถุงเอง
    • ..
    • มาครั้งนี้เลือดไหลเร็วมาก แป๊บเดียวเต็มถุง .. เสียดายที่ใช้ถุงเล็ก ถ้ารู้ว่าเลือดไหลเร็วให้ใช้ถุงใหญ่ไปแล้ว (คุยซะเลย)
    • ..
    • อ.หมอคะรบกวนถามนิดนึง ทำไมเลือดถึงเปลี่ยนสภาพได้ง่ายคะ ที่อย่างที่หนูบริจาค 2 ครั้ง ต่างกันมาก เดี๋ยวเลือดข้น เลือดใส เกี่ยวกับอะไรหรอคะ เพราะการกิน การนอนก็เป็นปกติทุกวัน ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลยค่ะ ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไรเลือดถึงมีสภาพต่างกันมาก
    • ..
    • ขอบคุณมากค่ะ
    • ..
    • ด้วยความเคารพอีกครั้งค่ะ
    • ..
    ขอยินดีกับน้อง ๆ ด้วยค่ะ ที่ได้ทำบุญโดยการบริจาคเลือด

    จำได้ว่าอาจารย์หมอวัลลภ ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับข้อดีของการบริจาคเลือดไว้แล้ว ซึ่งมีประโยชน์มากเลยค่ะ
    • อาจารย์หมอคะ  หนูเคยเล่าพร้อมกับตั้งคำถามกับท่านอาจารย์หมอเกี่ยวกับการบริจาคเลือด
    • วันนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่หนูตั้งใจเดินทางไปบริจาคเลือดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรค่ะ
    • แต่น่าเสียดาย  ไปครั้งนี้น้องที่เป็นเจ้าหน้าที่  ที่รับบริจาคตรวจความดันบอกว่าค่อนข้างสูง  แต่หนูก็ยืนยันว่าขอบริจาคเพราะความดันสูงเป็นปกติ  และเมื่อเจาะเลือดเพื่อตรวจน้องบอกว่าเลือดพี่วันนี้ทำไมใสจัง  และเมื่อทดสอบปรากฎว่าเลือดลอยค่ะ
    • เสียดายวันนี้เลยไม่ได้บริจาคเลือดตามที่ตั้งใจไว้ค่ะ
    • แต่น้องที่เป็นเจ้าหน้าที่ได้มอบ "ยาเสริมธาตุเหล็ก" ให้มาทานจำนวน 10 เม็ด  แต่บอกว่าทานซัก 5 เม็ดก็ได้  ตั้งใจว่าอีกซัก 2 อาทิตย์จะกลับไปบริจาคอีกครั้งค่ะ
    • ตอนนี้กำลังสนใจในการบริจาค "เกล็ดเลือด" ค่ะ  แต่ต้องไปนอน 2 ชม. ไม่แน่ใจว่าจะไปได้วันไหนค่ะ
    • มีเรื่องน่ายินดีแทน คือ  ได้แนะนำน้องที่สนิทกันอีกคนจากแดนไกลไปบริจาคเลือดครั้งแรกเพื่อฉลองวันเกิดของเค้าในวันนี้  และน้องก็ได้ไป  และได้บริจาคตามที่เค้าตั้งใจไว้ค่ะ

      ด้วยความเคารพค่ะ

    วันนี้ผมได้ไปบริจาดเลือดอย่างที่ตั้งใจไว้ ตื่นเต้นมากๆๆเป็นครั้งที่ไปบริจาด ได้เลือดไปเต็มถุงเลย เลือดไหลดี มากๆๆ

    อยากบริจาคมั่งจังเลยค่ะแต่น้ำหนักไม่ถึง เศร้า

                        

    ขอขอบคุณอาจารย์ RO_NUQA และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • เพิ่งกลับจากกัมพูชา... ขอกล่าว "จุมเรียบซัวบาท = สวัสดีครับ" 
    • ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ RO_NUQA และท่านผู้อ่านทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการบริจาคเลือด... ไม่ว่าจะเป็นบริจาคเอง ชวนผู้อื่นบริจาค สนับสนุนการบริจาค เช่น บริจาคขนม-เครื่องดื่มให้ผู้บริจาค ฯลฯ

    ปัญหาเรื่องเลือดข้น...

    • ปัญหาเรื่องเลือดข้นที่พบบ่อยได้แก่ การขาดน้ำ เช่น กินน้ำน้อย เสียน้ำมากจากอากาศแห้ง อยู่ในห้องแอร์ ได้รับกาเฟอีนจากชา/กาแฟ/ช็อคโกแล็ตมากเกิน ฯลฯ

    วิธีป้องกันภาวะขาดน้ำง่ายๆ ได้แก่

    • ดื่มน้ำให้มากพอทั้งวัน (จนถึงประมาณ 2 ทุ่ม หลังจากนั้นควรดื่มแต่น้อย เพื่อป้องกันฝันร้ายจากการปวดปัสสาวะ)
    • สังเกตสีปัสสาวะ... ถ้าไม่ขาดน้ำจะมีสีเหลืองจาง หรือไม่เห็นสี ถ้าขาดน้ำจะมีสีเหลืองเข้ม

    ภาวะขาดน้ำมีส่วนทำให้ผู้บริจาคเลือดเป็นลม หน้ามืด เลือดไหลช้าได้ง่าย

    • วิธีป้องกันง่ายๆ คือ ดื่มน้ำให้มาก 24 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด... จนปัสสาวะสีจางมากๆ
    • ก่อนบริจาคให้งดน้ำประมาณ 2 ชั่วโมง... หลังจากเจาะปลายนิ้ว ตรวจความเข้มข้นเลือดผ่านแล้ว ค่อยดื่มน้ำ 1-2 แก้ว
    • การดื่มน้ำให้มากพอช่วยลดโอกาสเป็นลม หน้ามืดหลังบริจาคเลือดได้ประมาณ 50%
    • หลังบริจาคให้ดื่มน้ำให้มากต่อไปอีก 24-48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเป็นลม หน้ามืด

    ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เลือดไหลช้าได้แก่...

    • เส้นข้างไหลช้ากว่าเส้นกลาง เนื่องจากเส้นกลางมีเลือดเทเข้ามากกว่า
    • เส้นเลือดมีขนาดเล็ก... ฝึกได้โดยหาที่ฝึกบีบมือ (hand grip) มาฝึกบีบล่วงหน้า ชุดละ 10 ครั้ง วันละ 3 ชุด
    • หรือหาของหนักหน่อยมาถือ ปล่อยแขนห้อยลง เดินเร็วคราวละ 10 นาที จะทำให้เส้นเลือดแข็งแรง และมีขนาดโตขึ้น

    ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีโอกาสบริจาคเลือดครั้งต่อๆ ไปโดยเร็ว และบริจาคเลือดได้นานๆ... ขอลาแบบกัมพูชา (จุมเรียบเลียบาท = สวัสดีครับ / ลา = เลีย; บาท = ครับ)

    ขอขอบคุณอาจารย์มะปรางเปรี้ยว และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ที่ร่วมแสดงความชื่นชม / อนุโมทนาในกุศลเจตนาของนิสิตนักศึกษา

    ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีโอกาสบริจาคเลือดครั้งต่อๆ ไปโดยเร็ว และบริจาคเลือดได้นานๆ... ขอลาแบบกัมพูชา (จุมเรียบเลียบาท = สวัสดีครับ / ลา = เลีย; บาท = ครับ)

    สวัสดีครับ(เพิ่งกลับจากกัมพูชา = จุบเรียบซัวบาท)ขอขอบคุณอาจารย์เจนจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • เรื่องเลือดลอยนี่... สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำการศึกษาในผู้บริจาคเลือดที่เลือดลอย > 40% เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก

    อาจารย์ท่านแนะนำว่า

    • ผู้ชายควรกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก 15 เม็ดต่อ 1 รอบบริจาคเลือด
    • ผู้หญิงควรกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก 30 เม็ดต่อ 1 รอบบริจาคเลือด
    • ฝรั่งไม่เป็นอย่างนี้ครับ... เขากินเนื้อแดงมาก และมักจะมีปัญหาเหล็กมากเกิน
    • คนไทยกินเนื้อแดงน้อยกว่า และมักจะมีปัญหาขาดธาตุเหล็ก
    • ถ้าอาจารย์มีปัญหาเลือดลอย > ไม่ควรกินยาบำรุงเลือด 5-10 เม็ด ทว่า... ควรจะกิน 30 เม็ดต่อ 1 รอบบริจาคเลือด เพื่อให้เลือดของเรามีคุณภาพ (ความเข้มข้น) ดีที่สุด ทำให้วัตถุทานของเรา (เลือด) มีคุณภาพสูง

    การบริจาคเกล็ดเลือด...

    • เท่าที่ทราบ... ส่วนใหญ่ถ้าคลังเลือดเลือกได้จะเลือกผู้ชายก่อน
    • ไม่ใช่เป็นการกีดกันทางเพศ (discrimination)
    • ทว่า...
      (1). ส่วนใหญ่ผู้ชายจะมีน้ำหนักตัวมากกว่า มีมวลกล้ามเนื้อมากกว่า > ทำให้มีปริมาตรเลือดสูงกว่า > เก็บเกล็ดเลือดได้มากกว่า
      (2). ผู้ชายมักจะมีระดับเกล็ดเลือดสูงกว่าผู้หญิง
      (3). ผู้ชายมักจะมีระดับเม็ดเลือดแดงสูงกว่าผู้หญิง ปริมาณเม็ดเลือดแดงมีส่วนช่วยในการเกาะกลุ่มรวมกับเกล็ดเลือด เพื่อสร้างลิ่มเลือดได้มากกว่า > เก็บเกล็ดเลือดได้มากกว่า
      (4). ถ้าเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการบริจาค (ประมาณ 90-120 นาที + เวลาเตรียมการประมาณ 20 นาที) คือ การปวดปัสสาวะ... ผู้ชายปัสสาวะได้ง่ายกว่า (โดยให้ปัสสาวะลงถาด / bed pan)

    ปัญหาความดันเลือดสูงเวลาตื่นเต้น (white hypertension) เช่น ไปโรงพยาบาล ไปบริจาคเลือด ฯลฯ พบได้ครับ... แม้ว่า เวลาอื่นความดันจะเป็นปกติ

    • วิธีง่ายๆ คือ ฝึกคลายเครียดด้วยการเจริญอานาปานสติ หรือฝึกหายใจเข้าออกช้าๆ ให้ต่ำกว่า 10 ครั้ง/นาที วันละ 15 นาทีทุกวัน
    • วิธีนับให้นับ เข้า๑ ออก๑ เข้า๒ ออก๒ เข้า๓ ออก๓ เข้า๔ ออก๔ เข้า๕ ออก๕ > ๒ รอบ = ๑๐ ครั้ง... ควรจะหายใจช้าๆ ให้ ๑๐ ครั้งนี่นานกว่า ๑ นาที
    • กำหนดการเคลื่อนไหวที่ท้อง หรือที่ปลายจมูกก็ได้
    • หลังจากนั้นให้ฝึกนับเป็นชุดๆ ละ ๕ รอบจนครบ ๑๕ นาที
    • ถ้าต้องการเจริญอานาปานสติ... โปรดอ่านต่อจากหนังสือ "วิสุทธิมรรค" ครับ

    นอกจากการฝึกลมหายใจแล้ว

    • ควรลดเกลือ ไม่เติมซอส หรือน้ำปลาในกับข้าว ลดของหมัก ของดอง อาหารสำเร็จรูปลง...
    • และออกกำลังแบบแอโรบิค เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันไดสลับเดินแนวราบ(เดินขึ้นลงบันไดสัก 3 ชั้น แล้วเดินต่อแนวราบ) ฯลฯ คราวละ 30 นาที ทุกวัน

    ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ และน้องที่บริจาคเลือดในวันเกิด...

    • ถูกแล้วครับ... วันเกิดควรฉลองบุญ(สร้างบุญใหม่)ด้วยการบริจาคเลือด บริจาคอวัยวะ ทำความดี... ไม่ใช่ฉลองด้วยงานเลี้ยง(กินบุญเก่า)
    • สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีโอกาสบริจาคเลือดครั้งต่อๆ ไปโดยเร็ว และบริจาคเลือดได้นานๆ... ขอลาแบบกัมพูชา (จุมเรียบเลียบาท = สวัสดีครับ / ลา = เลีย; บาท = ครับ)

    สวัสดีครับ(เพิ่งกลับจากกัมพูชา = จุบเรียบซัวบาท)ขอขอบคุณคุณ LoveOnline และท่านผู้อ่านทุกท่าน...// ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของคุณนิสิตนักศึกษาที่บริจาคเลือด สาธุ สาธุ สาธุ // ขอให้มีสุขภาพดี มีความสุข ความเจริญ และมีโอกาสบริจาคเลือด หรือทำคุณงาม ความดีประการอื่นๆ ไปอีกนานๆ ครับ... สาธุ สาธุ สาธุ //ขอให้คุณ LoveOnline ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีโอกาสบริจาคเลือดครั้งต่อๆ ไปโดยเร็ว และบริจาคเลือดได้นานๆ... ขอลาแบบกัมพูชา (จุมเรียบเลียบาท = สวัสดีครับ / ลา = เลีย; บาท = ครับ)

    สวัสดีครับ(เพิ่งกลับจากกัมพูชา = จุบเรียบซัวบาท)ขอขอบคุณอาจารย์ Wannaporn และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • น้ำหนักน้อยอย่าเพิ่งตกใจครับ...
    • วิธีที่ดีมากๆ คือ ให้เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้หุ่นดี และป้องกันโรคกระดูกโปร่งบางได้ด้วย

    เรียนเสนอให้ไปที่คณะสหเวชศาสตร์...

    • ไปฝึกออกกำลังต้านแรง (weight training) สัปดาห์ละ 2-4 ครั้ง (ดีที่สุดประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์)
    • หางาดำ (งาขาวมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่างาดำ) มีคั่วนิดหน่อย ทุบให้ละเอียด นำไปเติมในกับข้าว หรือคลุกข้าววันละ 2 มื้อๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ
    • จะได้รับโปรตีน ธาตุเหล็ก สารต้านอนุมูลอิสระ และน้ำมันชนิดดีจากงาดำ... ร่างกายจะแข็งแรงขึ้นเร็ว
    • ถ้ามีเวลา... เสนอให้คั้นน้ำผัก น้ำผลไม้สดๆ ดื่มเพิ่มวันละ 2 แก้ว
    • ถ้าตั้งความปรารถนา (อธิฏฐาน) ดีๆ... น่าจะบริจาคได้ภายใน 6 เดือนครับ

    ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีโอกาสบริจาคเลือดครั้งต่อๆ ไปโดยเร็ว และบริจาคเลือดได้นานๆ... ขอลาแบบกัมพูชา (จุมเรียบเลียบาท = สวัสดีครับ / ลา = เลีย; บาท = ครับ)

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอวัลลภ

    ไปบริจาคเลือด เพราะว่าอยากจะให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดใหม่ๆ บ้าง และเพื่อว่าเลือดเราอาจจะมีประโยชน์กับคนอื่นได้

    เพียงแค่ก้าวให้พ้น...ความกลัว

    ^____^

    สวัสดีครับ(เพิ่งกลับจากกัมพูชา = จุบเรียบซัวบาท)ขอขอบคุณอาจารย์ iS และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขออนุโมทนาในการบริจาคเลือดของอาจารย์... สาธุ สาธุ สาธุ

    การบริจาคเลือดมีส่วนช่วยให้ร่างกายเราได้ฝึก...

    • เปรียบคล้ายการออกกำลัง เปรียบคล้ายชีวิตที่ได้ผ่านฤดูใบไม้ร่วง(สละเลือด) ก่อนจะเข้าสู่ฤดูหนาว(สร้างเลือดใหม่) และฤดูใบไม้ผลิ(แข็งแรง)ต่อไป
    • ทำให้ชีวิตมีสีสัน มีชีวิตชีวา ซึ่งคนที่ไม่บริจาคเลือดไม่อาจสัมผัสความรู้สึกดีๆ เช่นนี้ได้

    แน่นอนครับ...

    • เลือดที่บริจาคไปย่อมมีคุณค่าต่อผู้รับแน่นอน
    • ขอขอบพระคุณอาจารย์ iS ที่ทำลิ้งค์ให้อ่านเพิ่มเติม... สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีโอกาสบริจาคเลือดครั้งต่อๆ ไปโดยเร็ว และบริจาคเลือดได้นานๆ... ขอลาแบบกัมพูชา (จุมเรียบเลียบาท = สวัสดีครับ / ลา = เลีย; บาท = ครับ)

    บอกตรง ๆ ค่ะ ว่าไม่เคยบริจาคเลือดเลย เนื่องจากเป็นคนกลัวเข็ม แล้วที่สำคัญคือไปยืนดูเพื่อนบริจาค เห็นเลือดเป็นขวด ๆ เลยค่ะ เลยกลัว... อีกประการนึง คือ อันนี้เข้าใจไปเองหรือเปล่าไม่แน่ใจค่ะ เพราะสังเกตตัวเองหลายครั้งว่าเวลามีบาดแปลเลือดจะไม่ค่อยออกและจะหยุดและแห้งเร็วมาก ก็เลยสัญนิฐานว่าตัวเองเป็นคนเลือดน้อยและเลือดแข็งตัวเร็วค่ะ แต่จริง ๆ แล้วก็คิดจะบริจาคเลือดสักครั้งในชีวิตก็ดีค่ะ แต่ตอนนี้ยังทำใจไม่ได้เพราะกลัวเลือด...กลัวเข็มค่ะ

    สวัสดีครับ(เพิ่งกลับจากกัมพูชา = จุบเรียบซัวบาท)ขอขอบคุณอาจารย์ Vij และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขออนุโมทนาในความตั้งใจที่จะบริจาคเลือดของอาจารย์... สาธุ สาธุ สาธุ
    • คนที่เลือดออกแล้วหยุดเร็ว... ไม่ใช่ผิดปกติอะไร เป็นธรรมชาติของร่างกายที่จะป้องกันการสูญเสียเลือด โดยการสร้างลิ่มเลือด

    วิธีง่ายๆ ที่จะบริจาคเลือดครั้งแรกคือ

    • ให้ไปทันที... อย่ามองถุงเลือด
    • ให้กรอกแบบฟอร์มขอบริจาคเลือดทันที... อย่าถามโน่นถามนี่(เสียเวลา)
    • ให้ขึ้นเตียงบริจาคทันที... อย่าเดินไปเดินมา
    • เวลาเจาะเลือดให้หลับตาทันที... อย่ามองเข็ม

    เมื่อบริจาคครั้งแรกได้... ครั้งต่อไปจะง่ายกว่าครั้งแรกเยอะเลย 

    • ผมเพิ่งไปพนมเปญมา... นำพลาสเตอร์ยาไปบริจาคให้คลังเลือด โรงพยาบาลอองดวง (ไปกับรถวัด)
    • ขอบริจาคเงินด้วย... อาจารย์ท่านว่า ไม่รับ รับแต่เลือดกับพลาสเตอร์ยา
    • แม่ชี 2 ท่านเลยขอบริจาคเลือด... บริจาคไปยิ้มแย้มไป...
    • พระอาจารย์สา แอมท่านเห็นแม่ชีบริจาค เลยขอบริจาคด้วย... บริจาคแล้วท่านว่า ไม่เห็นจะเจ็บอะไรเลย

    ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีโอกาสบริจาคเลือดโดยเร็ว...

    • ขอกล่าวลาแบบกัมพูชา (จุมเรียบเลียบาท = สวัสดีครับ / ลา = เลีย; บาท = ครับ)
    • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์หมอ
    • เดินทางเหนื่อยมั้ยคะ  อาจารย์พักผ่อนมากๆ นะคะ

      ด้วยความเคารพและระลึกถึงค่ะ  "จุมเรียบเลีย...ค่ะ"

    สวัสดีครับ(เพิ่งกลับจากกัมพูชา = จุบเรียบซัวบาท)ขอขอบคุณอาจารย์เจนจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • การเดินทางครั้งนี้ได้ทั้งประสบการณ์ สาระ ข้อคิด และอะไรๆ อีกมากมาย

    คณะของเราเสี่ยงตายนิดหน่อยบนรถรับจ้างที่ลักลอบขนไม้เถื่อนในกัมพูชา...

    • ออกเดินทางจากลำปาง-กรุงเทพฯ (ศุกร์ 20.30 น.) > ออกจากกรุงเทพฯ-อรัญฯ (เสาร์ 06.00 น.) > ออกจากปอยเปต (เขมรออกเสียงคล้าย "ปอยแปต" เสาร์ 16.40 น.) > ถึงพนมเปญ(อาทิตย์ 02.30 น. และกว่าจะได้ของบนรถครบเกือบเช้า) 
    • ถ้าไม่มีข้อขัดข้องทางเทคนิค... จะนำบทเรียนนี้ขึ้นบล็อก "บ้านสาระ" ครับ

    ขอลาแบบแขมร์ "จุมเรียบเลียบาท" (แขมร์ = เขมร / จุมเรียบเลียบาท = สวัสดีครับ / ลา = เลีย; บาท = ครับ / ถ้าเป็นผู้หญิงใช้คำลงท้ายว่า "จ้ะ")

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท