BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

หลักสาเหตุ ๑.


หลักสาเหตุ

นำเรื่อง               

หลักสาเหตุ แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง The Causal Principle ในหนังสือ an Introduction to Philosophical Analysis ของ John Hospers ในสมัยที่ยังศึกษาอยู่ และเคยพิมพ์แจกเพื่อนๆ มาครั้งหนึ่งหลายปีแล้ว ยังคงเหลือต้นฉบับอยู่ จึงได้จัดพิมพ์ใหม่เพื่อเผยแพร่อีกครั้ง เนื้อหาในเรื่องนี้ ผู้เขียนพยายามที่จะเสนอว่า หลักสาเหตุคืออะไร  มีอะไรเป็นหลักฐานรองรับ ปัญหาของหลักสาเหตุ และเสนอแนะว่าเราควรเชื่อถืออย่างไร จึงจะไม่ตกอยู่ภายใต้นิยัตินิยมหรือเจตจำนงเสรีอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ถ้ากรณีใดใช้ได้ก็นำมาใช้ แต่ถ้ากรณีใดใช้ไม่ได้ก็ไม่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ ดังนั้น จึงสรุปว่า ผู้เขียนเรื่องนี้ น่าจะมีแนวคิดโน้มเอียงไปทางปรัชญาปฏิบัตินิยม อนึ่ง ในการแปลและเรียบเรียงครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ ตัด, ต่อ, แต่ง, เติม บ้างตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อ่านได้เข้าใจและไม่ละเลยใจความสำคัญทั้งหมดที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ แต่ย่อมมีข้อบกพร่องอยู่บ้างเป็นธรรมดา เพราะเนื้อหาค่อนข้างยากและข้าพเจ้าก็ไม่มีความชำนาญในการถอดความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเพียงพอ 

Bm.chaiwut๑๔/๑๒/๒๕๔๙ 

หลักสาเหตุ (The Causal Principle)

สรรพสิ่งเกิดขึ้นได้อย่างไร ?               

คำว่า สาเหตุ หมายถึง เงื่อนไขที่เพียงพอ ดังนั้น จะมีคำถามว่า เหตุการณ์ทุกอย่างในจักรวาลจะมีเงื่อนไขอย่างนั้น คือ ถ้าเงื่อนไขทุกอย่างซึ่งได้แก่ C เกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์ซึ่งได้แก่ E จะเกิดขึ้นหรือไม่ ? ยังมีคำถามทำนองเดียวกันว่า เหตุการณ์ทุกอย่างมาจากเงื่อนไขอย่างนั้นหรือไม่ ? ถ้าตอบว่า ใช่ ก็จะเป็นการยอมรับหลักเหตุภาพของจักรวาล หรือเรียกย่อๆ ว่า หลักสาเหตุ               

เมื่อจะตอบคำถามนี้ จะมีความยุ่งยากเกิดขึ้นเบื้องต้นว่า ทุกครั้งที่เงื่อนไข C ก่อตัวขึ้นแล้ว ก็จะทำให้เหตุการณ์ E เกิดขึ้น แต่ E เป็นสิ่งเฉพาะ คือเป็นเหตุการณ์เฉพาะ และเหตุการณ์เฉพาะจะไม่เกิดขึ้นซ้ำ เหตุการณ์ที่คล้ายกันก็อาจเกิดขึ้นได้ แต่เหตุการณ์ E ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดำเนินต่อไป ดังนั้น เราจะอธิบายเหตุการณ์เฉพาะ E ที่เกิดขึ้นซ้ำได้อย่างไร                

ถ้า E ไม่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองแล้ว เหตุการณ์ที่คล้ายกับ E อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่คล้ายกันนั้นใช้เงื่อนไข C ซึ่งตามปรกติมีหลักการที่วางสูตรไว้ว่า (สูตรจะมีหลากหลาย) ทุกชนิดของเหตุการณ์ E ในจักรวาล เป็นชนิดของเงื่อนไข C ถ้าว่าเมื่อไรก็ตามที่เงื่อนไข C ตัวอย่างเกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์ E ตัวอย่างก็จะเกิดขึ้นตามมา ตัวอย่างก็คือ เมื่อไรก็ตามที่ชนิดของเงื่อนไขแรกซึ่งเป็นวัสดุติดไฟ และบวกกับเงื่อนไขที่สองกับที่สามซึ่งเป็นอุณหภูมิกับออกซิเจน ซึ่งรวมเงื่อนไขทั้งหมดเป็นชนิดของเงื่อนไข C ได้เกิดขึ้นแล้ว ชนิดของเหตุการณ์ E ตัวอย่างก็จะเกิดขึ้นตามมา               

เราจะตั้งคำถามว่า เป็นความจริงว่าเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในจักรวาล (อดีต, ปัจจุบัน, อนาคต) เป็นสมาชิกของเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยงกับชนิดของเงื่อนไข ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เป็นสมาชิกของเงื่อนไขที่ทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นหรือไม่?” (คำถามนี้ซับซ้อน แต่หลายครั้งที่ความซับซ้อนเป็นผลให้เราใช้ความแม่นยำได้) ถ้าตอบว่า ใช่ หลักสาเหตุก็เป็นจริง แต่ถ้าตอบว่า ไม่ หลักสาเหตุก็ไม่เป็นจริง 

๑. การแปลความหมายเชิงประจักษ์ (The Empirical Interpretation)           

เราสามารถสังเกตส่วนปลีกย่อยของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจักวาฬได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และถ้าเราสังเกตได้ทุกอย่าง การค้นคว้าเหตุการณ์ในอดีตก็ยังไม่สิ้นสุดเพราะเป็นสิ่งที่เกินกว่าการคำนึงถึงของเรา และเหตุการณ์ในอนาคตก็ยังไม่เกิดขึ้น ตามความจริงเรามั่นใจ หลักการ (Principle) น้อยกว่า กฎเชิงประจักษ์ (Empirical Law) ทั่วๆ ไป เช่น กฎทางกายภาพหรือทางเคมี เพราะได้รวมสิ่งประจักษ์ไว้มากกว่า ดังนั้น จึงมีอยู่ ๒ กลุ่ม คือ ฝ่ายที่ยืนยันหลักการ และฝ่ายที่ปฏิเสธหลักการซึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งนอกเหนือสิ่งที่สังเกตได้เชิงประจักษ์               

ตามความจริงดูเหมือนว่า เราสามารถสังเกตได้ทุกอย่าง เช่น เมื่อเราตรวจสอบธรรมชาติ เราก็พบความเหมือนกันบางอย่างของเหตุการณ์บางอย่างที่สัมพันธ์กับเงื่อนไขบางอย่างสม่ำเสมอ และสิ่งที่เราสังเกตได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เราก็ได้พบความแน่นอนจำนวนมาก แต่ยังคงมีอีกจำนวนมากของความสม่ำเสมอที่มีผลทุกขณะซึ่งเรายังค้นคว้าไม่พบ แม้ว่าเราจะพยายามอย่างเต็มที่ก็ตาม บางครั้งเราก็สร้างสูตรเงื่อนไขเชิงสาเหตุขึ้นมาโดยยังไม่มีข้อยุติ เช่น เงื่อนไขที่ทำให้มะเร็งพัฒนาขึ้นมาในอินทรียภาพ เงื่อนไขเชิงสาเหตุที่สร้างขึ้นมาบางครั้งก็มีประสบการณ์รองรับบางครั้งก็ไม่มี จริงอยู่ เมื่อยังไม่มีประสบการณ์รองรับ เราก็จะพยายามต่อไปโดยการเพิ่มองค์ประกอบอื่นๆ เข้าไปในสถานการณ์นั้นบ้าง หรือขยายความสิ่งเก่าๆ และทำให้มันชัดเจนขึ้นบ้าง จนกระทั้งสามารถยืนยันความสัมพันธ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงระหว่างเหตุการณ์และเงื่อนไขนั้นได้ แต่วิธีนี้ก็ทำได้สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง               

 การค้นหาความสัมพันธ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์และเงื่อนไขเป็นสิ่งที่ยุ่งยากที่สุด พิจารณาเหตุการณ์ธรรมดา เช่น ต้นไม้ที่หักโค่นลงมา คือ เมื่อไรก็ตามที่สมาชิกของเงื่อนไข C (ลมกระทบต้นไม้) ทำให้สำเร็จ สมาชิกของเหตุการณ์ E (ต้นไม้ล้ม)  จะเกิดขึ้นเสมอทุกครั้งหรือ? ตอบว่า ไม่ เราจะต้องเพิ่มองค์ประกอบบางอย่างเข้าไปเรื่อยๆ เช่น ลมจะต้องพัดแรงเพียงพอ และแรงเป็นเงื่อนไขหรือ ? ต้นไม้จะต้องเปราะบาง (ความเปราะบางอาจจะน้อยกว่าก็ได้ และความเปราะบางมีคำอธิบายอย่างไร ?) และอื่นๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีองค์ประกอบมากมาย เช่น ความที่ทำให้สำเร็จ ความกระทบของลม ความเปราะบางของต้นไม้ ตำแหน่งของต้นไม้กับอาคารอื่นๆ และความสัมพันธ์กับภูมิประเทศรอบๆ จึงเป็นความจริงว่ามีความยุ่งยากมากที่จะวางกลุ่มเงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้เหตุการณ์ คือต้นไม้โค่นล้มสำเร็จลงได้               

กรณีของต้นไม้ยังมีความยุ่งยากเกี่ยวกับเงื่อนไขถึงเพียงนี้ ถ้ากรณีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นก็จะมีความยุ่งยากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย อะไรเป็นเงื่อนไขของการได้ยินเพลง Eroica Symphony ของบีโธเฟ่น ที่ทำให้เกิดสภาวะของความรู้สึกบางอย่าง มีตัวอย่างอย่างไร ? ถ้าเราให้ความหมายสภาวะของความรู้สึกว่าเป็นความกังวลเบื้องต้น เราจะยืนยันว่าสามารถทำให้ความรู้สึกเช่นนั้นเกิดขึ้นได้เสมอหรือ ? เราอาจชอบ Symphony แต่ตอนนี้เราไม่มีอารมณ์กับมัน เพราะในวันเดียวเราได้ฟังหลายครั้ง ดังนั้น บางครั้งเราจะต้องรวมองค์ประกอบอื่นเข้าไปด้วย หรือผู้ที่ไม่เคยฟังเพลง Symphony มาก่อน จะมีการตอบสนองแตกต่างจากผู้ที่เคยได้ฟังมาก่อน สภาวะที่เรารู้สึกเมื่อกำลังฟังอยู่กับกระบวนการขององค์ประกอบที่ทำให้มันเกิดขึ้น ดูเหมือนว่าเราไม่สามารถที่จะให้ชนิดเหตุการณ์กับกลุ่มเงื่อนไขบางอย่างสัมพันธ์กันได้แบบยุติลงได้เลย (เราสามารถอธิบายความสัมพันธ์สภาวะความรู้สึกในวันนี้ เพื่อนำไปอธิบายสภาวะโรคจิตใจสมองได้ แต่ยังคงมีคำถามเรื่องความสัมพันธ์ของสภาวะโรคจิตภายใต้เงื่อนไขที่ทำซึ่งทำให้มันเกิดขึ้นเสมอ)               

 ดังนั้น ดูเหมือนว่าไม่มีหลักสาเหตุที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นเท็จมากกว่าเป็นจริงหรือ ? ถ้าว่าเราหมดหวังที่จะค้นหากลุ่มของเงื่อนไขของเหตุการณ์ทั้งหมดแล้ว เราอาจจะไม่สงสัยว่า เงื่อนไขไม่มีเลยหรือ ?               

อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำของคนจำนวนมากว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเงื่อนไขนั้นเป็นการยากมากที่จะค้นพบว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายหรือเป็นสิ่งที่ไม่มีเลย เนื่องจากบางคนอาจพบมันในเวลาที่เหมาะสม ส่วนบางคนก็ไม่เคยพบมันเลย แต่แม้เราไม่เคยพบเงื่อนไขอย่างนั้นทุกเหตุการณ์ เงื่อนไขเหล่านั้นก็ยังคมมีอยู่ ธรรมชาตินั้นมีรูปแบบอยู่เสมอ แม้ว่ารูปแบบของมันจะเป็นสิ่งที่สับสนลึกลับซับซ้อนก็ตาม เหตุการณ์ทั้งหมดในจักรวาลยังมีความสัมพันธ์อยู่กับกลุ่มเงื่อนไขตามหลักการที่ระบุไว้ การที่เราค้นไม่พบเป็นการบ่งบอกความโง่เขลาของพวกเราเอง               

อะไรจะเป็นการยืนยันสิ่งที่เราพูด เนื่องจากเราอาจโน้มเอียงที่จะยอมรับมันเอง และเป็นการลำบากที่จะวางแบบป้องกันหลักสาเหตุบนพื้นฐานเชิงประจักษ์ ในที่สุดแล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่เราจะรู้ได้ว่าหลักสาเหตุเป็นจริง ? อะไรเป็นสิ่งที่ยืนยันความแน่นอนใจของเราที่ยึดถือมันไว้ ? หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นความแน่นอนใจของคนจำนวนมาก               

ยังมีสภาพแวดล้อมที่ยุ่งเหยิงอีกอย่างอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทั้งหมด โดยหลักการเชิงประจักษ์บางอย่างมีความเป็นไปได้ที่จะปฏิเสธเงื่อนไขโดยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ หลักการทั่วไปหลายพันเรื่องที่สร้างขึ้นมาแล้วถูกยกเลิกไปเพราะสิ่งเหล่านั้นไม่สามารถผ่านการทดสอบนี้ได้ เช่น การค้นพบกาขาวเพียงตัวเดียวก็สามารถยกเลิกหลักการทั่วไปว่ากาทุกตัวมีสีดำได้ แต่การยกเลิกกฎทั่วไปว่าเหตุการณ์ทุกอย่างสัมพันธ์กับกลุ่มเงื่อนไขตามที่กล่าวไว้โดยหลักสาเหตุสามารถเป็นไปได้หรือ ? สาเหตุที่ค้นพบมีมากกว่า คือ มีมากกว่าที่เราจะยืนยันว่ามีหลักสาเหตุ แต่ในกรณีที่ไม่ค้นหาเลยแล้วเราพูดว่าเพราะไม่มีหลักสาเหตุหรือ ? ไม่ใช่

นั่นคือเราพูดว่า เราไม่พบหลักสาเหตุ หรือ มีสาเหตุอย่างหนึ่งที่เราคงจะค้นพบสักวัน แต่ถ้าว่าเราค้นไม่พบ เราก็พูดไม่ได้ว่าสาเหตุไม่มีอยู่ เพียงแต่ว่าพลังการค้นคว้าของเรามีจำกัดเท่านั้น อีกแนวทางหนึ่งกฎสาเหตุยังสามารถที่จะพิสูจน์ได้ การค้นหาสาเหตุที่มากขึ้นจะนำไปสู่การยืนยันมันได้ แต่ความผิดหวังที่จะค้นพบสาเหตุทำมีความเห็นว่ากาสีขาวไม่มีเลย ชนิดของหลักการอะไรหรือ ? ที่เป็นสิ่งที่สามารถยืนยันได้โดยการสังเกตเชิงประจักษ์ แต่มิใช่เป็นการไม่ยืนยันเชิงประจักษ์               

บางคนอาจมุ่งหมายว่ามันไม่สามารถยืนยันได้โดยประสบการณ์ ถ้าว่าการค้นพบสาเหตุมีแนวโน้มที่จะยืนยันหลักการ ดังนั้น ความล้มเหลวในการค้นคว้าจึงมีแนวโน้มไปสู่การไม่ยืนยัน มีการตรวจสอบเป็นพันวันที่เดียวเพื่อบ่งบอกให้เราทราบว่าหักการเป็นไปได้ที่จะผิดพลาด เพราะเราพูดเสมอว่าเงื่อนไขเชิงสาเหตุเป็นสิ่งที่ซับซ้อนเกินไป ความล้มเหลวในการค้นคว้าของเราบ่งบอกความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่าความไม่มีอยู่ของมัน

ยังมีประเด็นอยู่ว่า เมื่อการค้นหาสาเหตุล้มเหลวจะถือว่าเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับหลักการ ตัวอย่างว่า เมื่อหลอดไฟสว่าง เราเชื่อว่ามีเงื่อนไขที่อธิบายได้ คือ เรากดปุ่มด้านหนึ่งหลอดไฟจึงจะสว่าง เมื่อกดปุ่มอีกด้านหนึ่งหลอดไฟจึงจะดับ แน่นอนว่ากรณีนี้เกิดขึ้นอย่างไม่มีข้อยกเว้น บางครั้งเรากดปุ่ม เปิด แล้วหลอดไฟไม่ติด และแล้วเราก็พบว่าหลอดไฟขาด เมื่อเราเปลี่ยนหลอดแล้วมันก็จะติด หรือเมื่อกดปุ่มเปิดแล้วและหลอดไฟก็ยังดี แต่ก็ยังไม่มีแสงสว่าง แต่แล้วก็ยังมีรอยแตกร้าวที่สายไฟ หรืออื่นๆ ยังมีกลุ่มของเงื่อนไขหลังสุดเกี่ยวกับการเปิดไฟ และเราก็ค้นพบว่าเงื่อนไขเหล่านั้นมีอยู่ เราได้รับแสงสว่างเพื่อทำงานอีกครั้งหลังจากมันได้ดับไป

แต่ตอนนี้สมมติว่าหลอดไฟติดๆ ดับๆ เอาแน่นอนไม่ได้ ความสัมพันธ์บางอย่างเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก เงื่อนไขบางอย่างเราสามารถบ่งชี้ได้ บางครั้งหลอดไฟติดบางครั้งก็ดับ และเราไม่สามารถค้นหาเงื่อนไขบางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ มันมิใช่วิธีที่เราจะกดปุ่ม ไม่ใช่การเปิดหรือปิดหลอดไฟ ไม่ใช่ไฟฟ้าเดินครบวงจรหรือไม่ครบวงจร บางครั้งแสงสว่างก็เกิดขึ้น บางครั้งก็ไม่เกิดขึ้น และเมื่อวงจรถูกทำลายไปสิ่งเดียวกันก็เกิดขึ้น บางครั้งแสงสว่างก็มีบางครั้งก็ไม่มี เราจึงพยายามค้นหาสิ่งอื่นๆ เช่นเวลาของวัน จำนวนแสงสว่าง อุณหภูมิของห้อง จำนวนความชื้นในอากาศ แต่ก็ไม่มีสิ่งเหล่านั้นแตกต่างกันเลย หลอดไฟติดและดับโดยอิสระอย่างชัดเจน แน่นอนได้ว่ามันจะต้องติดๆ ดับๆ ด้วยเงื่อนไขบางอย่างหรือหลายๆ อย่างรวมกันซึ่งเรายังคนหาไม่พบ แต่ถ้ากรณีนี้ยังคงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลอดไฟหรือเรื่องอื่นๆ ก็ตาม เราจะเริ่มคัดค้านคำถามหลักสาเหตุ คือ จะถามว่าเป็นจริงหรือที่เหตุการณ์ทั้งหมดในจักรวาลจะต้องเกี่ยวข้องอยู่กับเงื่อนไขบางอย่างที่สามารถอธิบายได้

บางคนที่เห็นด้วยก็จะยอมรับการแปลความหมายเชิงประจักษ์ของหลักสาเหตุ ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์จะสนับสนุนอย่างแน่นอน แต่ไม่เหมือนกับกรณีกาขาวที่ปฏิเสธหลักการทั่วไปว่ากาทุกตัวสีดำ คนบางคนจะคัดค้านมันจะได้ไม่ต้องเชื่อว่าความผิดพลาดของเราเพื่อค้นหาสาเหตุเป็นหลักฐานที่ขัดแย้งกับหลักการรี้ เราสามารถนำเอาการแปลความหมายความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori) มาใช้กับมันได้ 

คำสำคัญ (Tags): #หลักสาเหตุ
หมายเลขบันทึก: 67458เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • หลวงพี่ชอบเรื่องเชิงปรัชญานะครับ
  • แวะมาทักทายครับผม
  • ลองเล่าเรื่องกิจของสงฆ์ในชีวิตประจำวันให้ฟังบ้างนะครับ อยากทราบ

จ้า อาจารย์

จะค่อยๆ แยกบันทึกออกมานะ ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ จะตั้งเรื่องบันทึกใหม่เรื่องคุยธรรมะ นะครับ

เจริญพร

หลวงพี่ครับ กระผมกำลังเรียนปริญญาโทในด้านการบริหารการศึกษา แต่ต้องเรียนวิชาปรัชญาการศึกษา กระผมไม่เข้าใจในหลักการและความหมายของปรัชญาเชิงวิเคราะห์ หลวงพี่ช่วยกรุณาอธิบายให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ

เจริญพร ครูทิ...

ต้องขออภัยด้วยที่เพิ่งเข้ามาตอบ เพราะเพิ่งเห็น..

ปรัชญาเชิงวิเคราะห์ ต่างจากปรัชญาสังเคราะห์ ...จำง่ายๆ ถ้ากำหมัดเป็น กำปั้น ก็เป็น สังเคราะห์ ถ้าแบมือออกดูนิ้ว เป็นนิ้วๆ เป็น วิเคราะห์...

ปรัชญาวิเคราะห์ เน้น การแยกแยะ หาความหมาย ความจริง ...ไม่เน้นการประมวลผลแล้วสรุปเป็นหนึ่งเดียว...

ตอบไม่ยาก แต่เข้าใจค่อนข้างยาก ลองอ่านและเข้าไปถาม อาจารย์ ดร.ไสวที่ http://gotoknow.org/blog/method

อาจารย์ท่านจะเขียนภาษาเชิงวิเคราะห์ ต่างจากข้อเขียนอื่นๆ ใน gotoknow แล้วลองสังเกต ดู

ไม่แน่ใจว่าตอบคำถามช้าไปหรือไม่ ถ้าสนใจก็ค่อยคุยกันอีกได้ ครับ

เจริญพร

นมัสการครับ

อ่านคำว่า กำมือ เป็น สังเคราะห์ และ แบมือ เป็น วิเคราะห์ ขอบคุณครับ ขอนำไปใช้นะครับ

หาก ชกออกไป ไม่โดนใคร ก็ไม่เจอ เคราะห์

กราบ กราบ กราบ

เราไม่พบหลักสาเหตุ” หรือ มีสาเหตุอย่างหนึ่งที่เราคงจะค้นพบสักวัน แต่ถ้าว่าเราค้นไม่พบ เราก็พูดไม่ได้ว่าสาเหตุไม่มีอยู่ เพียงแต่ว่าพลังการค้นคว้าของเรามีจำกัดเท่านั้น

******************

ยังอ่านแค่รอบเดียว ต้องอ่านอีกค่ะ

ปุจฉามีมารบกวนพระอาจารย์หน่อยก่อน..ที่ว่า "ถ้าว่าเราค้นไม่พบ เราก็พูดไม่ได้ว่าสาเหตุไม่มีอยู่ เพียงแต่ว่าพลังการค้นคว้าของเรามีจำกัดเท่านั้น  ลางทีบางคนก็ใช้ว่า เป็นเพราะต้นทุน แต่ละคนไม่เท่ากัน

ใช่เหตุนี้ด้วยหรือเปล่าคะพระอาจารย์(ในมุมความคิดน่ะค่ะ) 

นมัสการค่ะ

Pภูสุภา

 

  • พลังการค้นคว้าของเรามีจำกัด - ต้นทุนแต่ละคนไม่เท่ากัน

คิดว่าพอจะใช้ได้...

ต้นทุนแต่ละคนไม่เท่ากัน น่าจะบ่งชี้ว่า ความรู้และประสบการณ์พื้นฐานในการค้นคว้าของแต่ละคนไม่เท่ากัน

อีกอย่างหนึ่ง ข้อความว่า พลังการค้นคว้าของเรามีจำกันอกจากความหมายตามนัยข้างต้นแล้ว น่าจะบ่งชี้ว่า เรายังมีความพยายามไม่เพียงพอในการค้นคว้า นั่นคือ เราจำกัดการค้นคว้าของตัวเอง... ก็น่าจะได้


เจริญพร

ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยรึเปล่าคะ แล้วมีเหตุผลยังงัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท