การรวมกิจการ.


นายกิตติพงศ์ กล่าวว่า โครงสร้างกฎหมายและภาษีการควบรวมกิจการ เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สำคัญในการควบรวม ซึ่งหลายครั้ง ทำให้การเจรจาในขั้นตอน สุดท้ายตกลงกันไม่ได้ ซึ่งผู้ซื้อและขายเกี่ยงกันเรื่องภาษี นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติ ยังชะลอการลงทุน เพื่อรอดูความชัดเจนของกฎหมายนอมินี และการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (เทนเดอร์ออเฟอร์) “กฎหมายไทยมันขัดกันเอง อย่างการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ของต่างชาติ จนทำให้สัดส่วนถือหุ้น 100% เข้าข่ายเป็นบริษัทต่างด้าว แต่ถ้าไม่ทำเทนเดอร์ฯ ก็ผิดกฎเกณฑ์ ก.ล.ต. จึงต้องแก้ไขให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น จะเกิดความไม่มั่นคงและมั่นใจ”

 เป็นการรวมธุรกิจ และรวมบริษัท 

 

 

การรวมกิจการ หมายถึง การนำกิจการที่แยกต่างหากจากกันมารวมเป็นหน่วยงานทางเศรษฐกิจเดียวกัน โดยการที่กิจการหนึ่งรวมกับอีกกิจการ หรือการที่กิจการหนึ่งเข้าควบคุมสินทรัพย์สุทธิและการดำเนินงานของอีกกิจการหนึ่ง 

 ประเภทของการรวมกิจการ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 

 1. การรวมกิจการแบบแนวนอน จะเป็นการรวมกิจการที่มีลักษณะเหมือนกันเข้าด้วยกัน

 2. การรวมกิจการแบบแนวตั้ง จะเป็นการรวมกิจการหนึ่งกับกิจการหนึ่งที่สินค้าหรือบริหารมีความเกี่ยวข้องกัน     

   3. การรวมกิจการแบบผสม การรวมกิจการแบบนี้จะไม่สนใจว่าเป็นธุรกิจเดียวกัน

 วิธีการรวมกิจการ สามารถทำได้ 4 แบบ คือ การควบกิจการ หมายถึง การรวมธุรกิจโดยกิจการหนึ่ง ซื้อหรือรับโอน สินทรัพย์สุทธิทั้งหมดของอีกกิจการหนึ่งหรือหลายกิจการ การรวมกิจการ หมายถึง การรวมธุรกิจโดยการจัดตั้งกิจการขึ้นใหม่ เพื่อรับโอนสินทรัพย์สุทธิทั้งหมดของกิจการที่ดำเนินงานอยู่แล้วตั้งแต่ 2 กิจการขึ้นไป การซื้อหุ้น หมายถึง การรวมธุรกิจโดยกิจการหนึ่งซื้อหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดหรือบางส่วนของอีกกิจการหนึ่ง การซื้อสินทรัพย์สุทธิ หมายถึง การรวมธุรกิจโดยกิจการหนึ่งซื้อสินทรัพย์สุทธิของอีกกิจการหนึ่ง

 

  ข้อดี

เพื่อให้เกิดประโยชน์ ในการสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ  เสริมสร้างรายได้ แบบก้าวกระโดด  ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ  สกัดกั้นคู่แข่งขันให้มีน้อยลง   เพิ่อส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น สร้างจุดแข็งในการดำเนินการทางธุรกิจ  เพิ่มโอกาสให้กับบริษัท  ได้ประโยชน์ทางด้านสิทธิทางปัญญา สิทธิบัตร   การวิจัยงานต่าง ๆ  ที่เราไปรวมกิจการมา   ลดต้นทุนการผลิต  การบริการ ต่อหน่วย   เสริมสร้างประสิทธิภาพทางการเงิน  

ข้อเสีย

กิจการที่ไปรวมโดยเฉพาะการรวมแบบ ผสม ที่ธุรกิจไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน อาจจะก่อให้เกิดความไม่ถนัด  ไม่มีประสบการณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิต  การขาย  การบริการ  สูงกว่าคู่แข่งขันได้  ไม่สามารถดำเนินกิจการในอนาคตได้   และจะทำให้บริษัทของเราที่จะไปรวมแต่เดิม ที่มีความแข็งแกร่งทางการเงิน อาจจะมีปัญหาได้ 

  จะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ ๆ ในเมืองไทยที่มีการรวมกิจการ มีทั้งประสบความสำเร็จ และไม่สำเร็จ มากมาย 

ตัวอย่าง  การรวมกิจการที่ประสบความสำเร็จ  ได้แก่  บมจ. ปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย  ที่มีการซื้อหู้นจากบริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย  ที่เกี่ยวกับ โรงกลั่นน้ำมัน RRC  ทำให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ก่อให้เกิดผลดี  เพราะ  ปตท.  เป็นบริษัทที่ซื้อน้ำมันดิบจากต่างประเทศ  และมีปั๊มน้ำมัน  แต่ยังต้องให้ผู้อื่นกลั่นน้ำมันที่ได้จากน้ำมันดิบ  แล้วถึงจะนำไปจำหน่ายได้ ดังนั้น การมีโรงกลั่นเพิ่มจะทำให้ธุรกิจครบวงจร  ไม่สะดุดในการดำเนินการทางธุรกิจ

ตัวอย่าง การรวมกิจการที่ไม่ประสบความสำเร็จ  ได้แก่ บ.ยูนิคอด  ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงงานปลากระป๋อง   มีการรวมกิจการกับ บริษัท. ต่างประเทศ ทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดในระดับโลก TOP 5     แต่แล้วธุรกิจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้  ทำให้มีหนี้สินท่วมตัว  ธุรกิจไปไม่รอด  เจ้าของธุรกิจเครียดจนไม่มีทางออก ต้องผูกคอได้ 

สำหรับสิ่งที่ได้รับมอบหมายครั้งนี้   จะให้รวมกิจการของตนเองกับเพื่อน ๆ  นั้นในธุรกิจการเงิน  ผมจะรวมกิจการกับธุรกิจนำเข้า - ส่งออก  เพราะธุรกิจนำเข้าและส่งออก  ในแต่ละครั้งมีการทำธุรกรรมทางการเงิน เข้ามาเกี่ยวข้องตลอด  ทั้งการกู้ยืมเงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา  ความเสี่ยงที่เกิดกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา  ฯลฯ   ซึ่งจะทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน  มีช่องทางทางการเงินที่เพิ่มขึ้น  เสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจและต่อยอดทางธุรกิจได้เพิ่มขึ้น    อีกทั้งได้รับสิทธิบัตร  / ยี่ห้อของสินค้าที่เราไปควบกิจการมา / มีลูกค้าที่นำเข้า และส่งออก ที่เป็นของเดิมอยู่แล้ว  ไม่ต้องไปหาลูกค้าใหม่    

 

เจ้าพ่อควบรวมกิจการเมืองไทย 

ก้องเกียรติเจ้าพ่อ ควบรวมกิจการ ชี้แนวโน้มควบรวมต่อเนื่องทุกอุตสาหกรรม จี้รัฐเร่งแก้โครงสร้างกฎหมาย-ภาษีควบรวม อุปสรรคสำคัญ 

วันที่ 27 ธันวาคม ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ จัดสัมมนา การควบรวมกิจการ โอกาสการขยายตัวทางธุรกิจโดยผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วย นายก้องเกียรติ โอภาส วงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (ASP) นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) และนายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ 

นายก้องเกียรติ กล่าวว่า แนวโน้ม การควบรวมในปี 2550 จะมีความสำคัญมากขึ้นและยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในทุกอุตสาหกรรม เพื่อทำให้เกิดการแข่งขัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศในระยะยาว และลดภาระต้นทุน ขนาดของธุรกิจไทยมีขนาดไม่ใหญ่ เมื่อเทียบกับเอเชียหรือโลก ฉะนั้นธุรกิจไทยต้องถีบตัวเองใน 2 วิธีคือ การ ควบรวมกิจการ หรือหาหุ้นส่วนมาเติม สิ่งที่ขาดให้เต็ม แต่ทางลัดที่เร็วที่สุดคือ การซื้อกิจการหรือควบรวม

 นายก้องเกียรติ กล่าว ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ปี 2549 ทั่วโลกมีการ ควบรวมกิจการจำนวน 2.5 หมื่นธุรกรรม เป็นการควบรวมของเอเชีย 8,000 ธุรกรรม มูลค่า 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นธุรกรรมของไทย 16 ธุรกรรม 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9.2 หมื่นล้านบาท สำหรับรูปแบบการควบรวมและ ครอบงำกิจการ (เทกโอเวอร์) จำนวน 90% เป็นแบบพันธมิตร ซึ่งเกิดประโยชน์สูงสุด ผนึกกำลังและเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ

นายกิตติพงศ์ กล่าวว่า โครงสร้างกฎหมายและภาษีการควบรวมกิจการ เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สำคัญในการควบรวม ซึ่งหลายครั้ง ทำให้การเจรจาในขั้นตอน สุดท้ายตกลงกันไม่ได้ ซึ่งผู้ซื้อและขายเกี่ยงกันเรื่องภาษี นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติ ยังชะลอการลงทุน เพื่อรอดูความชัดเจนของกฎหมายนอมินี และการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (เทนเดอร์ออเฟอร์) กฎหมายไทยมันขัดกันเอง อย่างการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ของต่างชาติ จนทำให้สัดส่วนถือหุ้น 100% เข้าข่ายเป็นบริษัทต่างด้าว แต่ถ้าไม่ทำเทนเดอร์ฯ ก็ผิดกฎเกณฑ์ ก.ล.ต. จึงต้องแก้ไขให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น จะเกิดความไม่มั่นคงและมั่นใจ

นายกิตติพงศ์ กล่าวนายกิตติพงศ์ กล่าวถึงความคืบหน้าภาษีควบรวมกิจการว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ของสำนักงานเศรษฐกิจการ คลัง กระทรวงการคลัง และเชื่อว่ารัฐบาลนี้จะผลักดันกฎหมายควบรวมกิจการให้แล้วเสร็จภายในปีหน้า นายวิชา ให้ความเห็นว่า อย่ารอให้กิจการย่ำแย่จึงเกิดการควบรวม และความเจ็บปวดที่สุดในการควบรวมคือ ผู้บริหาร-พนักงานที่ปรับตัวไม่ได้ แต่สำหรับเมเจอร์ ซึ่งควบรวมกับอีจีวี ได้ มองไปที่เป้าหมายมากกว่า และในช่วง 2 ปีหลังการควบรวม ได้จัดโครงสร้างใหม่ มีการขยายตลาดไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ที่เห็นชัดเจนของการควบรวมคือ ลดการแข่งขันและลดต้นทุน

ที่มา :  เจ้าพ่อควบรวมกิจการ จาก โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 27 ธันวาคม 2549

คำสำคัญ (Tags): #การรวมกิจการ
หมายเลขบันทึก: 67447เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตอนนี้เศรษฐกิจค่อนข้างชลอตัวก็มีผลกับอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนกันนะก็มีความเสี่ยงเข้ามาไง

มาร่วมทุนกับธุรกิจขายมอเตอร์ไซด์ไหมจะได้ขอสนับสนุนทางการเงินขยายธุรกิจให้ครบวงจร

อิๆๆๆๆ

ลืมบอกไปว่า

จะได้มารับจัด finan ให้ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท