ทำไมคนทั่วไปไม่อยากเข้า Blog


เพราะ ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น จะหาคนที่นั่งอยู่ว่างๆ ยากเหลือเกิน ยกเว้นคนไม่คิดจะทำอะไร

ตั้งแต่ผมถูกท่าหนุ่มชุมพรเอาไม้จิ้มตา ผมก็รู้สึกว่าจะต้องหาที่ที่ผมจะไปจิ้มตาคนอื่นๆ

ปรากฏว่าผมทำไม่ค่อยสำเร็จเท่าไหร่

จะว่าเป็นจริตก็ได้

หรือเป็นขีดจำกัดก็ได้

เพราะ ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น จะหาคนที่นั่งอยู่ว่างๆ ยากเหลือเกิน ยกเว้นคนไม่คิดจะทำอะไร ที่ผมไม่คิดจะคุยต้วยอยู่แล้ว

เพราะ คนที่ไม่คิดจะทำอะไร ผมก็ไม่รู้จะชวนให้เสียเวลาทำไม

ฉะนั้น ผมก็บังเอิญ ไปชวนคนที่ไม่ค่อยว่างซะด้วย

ผลก็คือง่ายๆว่า ไม่ว่างพอที่จะมาอ่าน และเขียน บล็อก

แล้วเราจะทำอย่างไรกับคนที่มีขีดจำกัดเหล่านี้ และเขารู้ไหมว่า blog มีข้อดีอย่างไร

ดีอย่างไร อาจจะไม่สำคัญเท่า เขาจะมาใชได้อย่างไร

เรื่องนี้เป็คำถามงูกินหาง ที่ว่า เมื่อเขาไม่รู้ ก็ไม่ได้เข้ามา และกลับกัน

ดังนั้นเราอาจต้องกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานในBlog ที่จะทำให้เกิดความง่ายต่อการเข้า และเข้าใช้งาน

ประเด็นที่จำกัดมากที่สุดนั้นก็คือเวลาในการทำงาน ทั้งอ่าน และตอบ

ประเด็นต่อมาก็คือ ความชอบ หรือ จริตก็ว่าๆด้

ประเด็นที่สาม คือความสามารถในการทำงาน

ประเด็นที่สี่ คือปัจจัยสนับสนุน หรือบีบบังคับที่ทำให้ทำได้

ปรเด็นที่ห้า   คือ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนและผู้ร่วมงาน

ประเด็นที่หก ทางเลือกในการตัดสินใจดรงตามตวามชอบของตนเองมากหรือน้อย

ประเด็นที่เจ็ด ระบบครอบครัวสนับสนุน

และ ฯลฯ

 ขอความกรุณาให้ท่านลองช่วยเสนอ จากประสบการณ์ของท่านกับคนที่รู้จัก เพื่อความเข้าใจในเป็นการวางแผนในการทำงานในระดับ

ผมคิดว่า ข้อมูลนี้น่าจะนำมาประมวล เพื่อประเมินสถานการณ์เพื่อการทำนายฝัน KM ในมุมด่างๆได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 67353เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 01:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
อยากเข้ามาศึกษาเรื่อง  Blogมากค่ะ แต่ยังไม่ค่อยกล้า เพราะไม่มีความรู้ค่ะ  เรียนกับอาจารย์เมื่อวาน(ที่มหาชีวาลัยอีสาน)ก็เลยลองทำดู  ไม่ทราบว่าถูกต้องแค่ไหนเลยค่ะ  และขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะที่ให้ความรู้ และขอขอบคุณคุณพ่อครูบาที่ให้โอกาสครูบ้านนอก

เคยพยายามช่วยพี่ที่รู้จักมาเขียน เพราะเห็นว่าพี่เค้าเป็นคนมีมุมมองที่เรียกว่าแหวกแนว คิดไว กล้าคิด แต่ผลของการชวนก็คือ...พี่ไม่มีเวลาหรอก

"แค่ทำงาน ประชุม เตรียมสอน เป็นที่ปรึกษาโครงงาน รับงานนอก โอ้ย...แค่โทรหายังไม่มีเวลาเลย" ว่าไปนั่น

สรุปว่า...คนที่ว่าง...ไม่มีอะไรจะทำ...คือคนที่เขียน Blog !?!?!?!???

ไปดีกว่า หนูไม่ว่าง...Jump

^_____^

สำหรับผมวางแนวทางการทำงานร่วมกับ gotoknow ดังนี้ครับ 

  1. 8.00-9.00 ช่วงเช้ามาถึงที่ทำงาน ใช้เวลาประมาณ อ่านบล็อกและแสดงข้อคิดเห็น ในหัวข้อที่เป็นประโยชน์กับงานเป็นลำดับต้นๆ
  2. 9.00-12.00 ทำงานตามปกติ ใช้สิ่งที่อ่านมาปรับใช้ในงานบ้าง
  3. 12.00-13.00 เขียนอ่านและเขียนบล็อก ที่เป็น AAR ในงานช่วงเช้าถ้าคิดว่ามีประโยชน์
  4. 13.00-ประมาณ 17.30 ทำงานตามปกติ
  5.  17.30-18.00 เขียนอ่านและเขียนบล็อก ที่เป็น AAR ในงานช่วงบ่ายถ้าคิดว่ามีประโยชน์
  6. 18.00 กลับบ้านครับ

ก็ไม่เป็นตามนี้ทุกวันแต่ก็ใกล้เคียง สำหรับวันทำการนะครับ ถ้าเป็นวันหยุดก็จะพักผ่อนตามปะสาครับ อย่างมากก็แค่อ่านแต่จะไม่เขียน เพราะวันนั้นไม่ได้ทำงาน ไม่มีอะไรจะเขียน

ด้วยความเคารพครับท่านอาจารย์แสวง

คุณ กันยาพร นันทิกา กัมปนาท

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล

ผมพยายามรวบรวมเพื่อไว้คุยกับ เจ้าของงานว่ากลุ่ม blogger มีความเห็น ปัญหา ขีดจำกัด อย่างไร

เผื่อเขาจะนึกอะไรออกมากขึ้นนะครับ

ขอเสริมประเด็นครับอาจารย์ คือ

1.ไม่รู้

2. ไม่มีเทคโนโลยีครับอาจารย์

ด้วยความเคารพ

อุทัย

 

ผมเคยคุยเรื่องนี้ไว้ใน blog ของผมที่ bloggang และที่ multiply ครับ (คล้ายๆ กับที่ bloggang)
ถ้าผมเขียนที่นี่อีกก็จะเป็นรอบที่สามแล้ว แต่ผมก็จะเขียนครับ (อาจจะไม่ใช่เร็วๆ นี้)
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา รู้สึกได้ว่ามุมมองผมเปลี่ยนไปพอสมควร จากที่เคย blog เล่นๆ กับการ blog การบ้าน
สรุปสั้นๆ ตรงนี้นะครับ ผมชอบความคิดของคุณ Christopher Sessums เพื่อนร่วมชั้นเทอมก่อน
เขาบอกว่า blog เป็นการเขียนความคิดแบบกึ่งสุขกึ่งดิบครับ (half-baked thoughts) ซึ่งตรงกับที่ท่านอาจารย์ ดร.แสวงกำลังทำอยู่ คือการสอบถามทั้งตัวเอง และคนในวงสังคมเดียวกัน

โยงมาถึงประเด็นที่อาจารย์เสนอไว้นะครับ ผมเห็นด้วยกับประเด็นเรื่องเวลา ถ้าแม้ผมจะไม่ชอบเวลาคนแก้ตัวว่าไม่มีเวลาก็ตาม (สำหรับผมไม่มีเวลา คือไม่เห็นความสำคัญ)
ประการถัดมานี่โดนใจมากครับ อาจารย์เลือกคำว่า "จริต" ซึ่งเหมาะมากครับ คนเราชอบต่างกัน เสพสื่อต่างกัน แต่ผมขอต่ออีกนิดหนึ่งครับ
เพราะผมเชื่อว่าการเขียนเป็นทักษะที่ไม่ง่าย ดังนั้นคนจะ blog แล้วมีคนติดตาม ก็ต้องเขียนเก่ง มีลีลาเฉพาะตัว เสนอประเด็นชัดเจน
ประเด็นอื่นที่อาจารย์ให้ไว้ ก็ถือว่ามีความสำคัญครับ แต่ผมเชื่อว่าประเด็นเหล่านี้ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพของ blog ได้

ขออธิบายคำว่าคุณภาพนิดหนึ่งนะครับ
ผมมองการเขียน blog เป็นการสอบถามความคิดตนเองและผู้อื่นอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
ถ้าจะอ้างทฤษฎีก็ต้องโยงไปที่ Bloom's taxonomy ที่กล่าวถึงระดับความคิดของผู้เรียน
ผมมองว่าการ blog ต้องก้าวเลยระดับความเข้าใจ ขึ้นไปถึงการวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ครับ
ซึ่งตรงนี้ตรงกับจุดประสงค์ของ gotoknow ที่สนับสนุนให้ใช้ tacit knowledge ซึ่งเป็นการนำความคิดภายในมาแปรเป็นอักษร จะทำได้ก็ต้องผ่านกระบวนการคิดของคนเขียน ทบทวนกลับไปกลับมา มีการโยนคำถามเพื่อหาข้อคิดเห็นไปด้วย
พูดแล้วก็เป็นเรื่องเดียวกันกับ Bloom's taxonomy มองคนละมุมเท่านั้นเองครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์แสวง

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะคะ

  • ประเด็นที่คนไม่เข้ามาใช้ Blog คิดว่า ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการเข้าถึง ถ้าในที่ทำงาน ที่บ้าน หรือที่ใดๆ ก็ตามที่เขาเหล่านั้นสามารถเข้าถึง Blog ได้สะดวก รวดเร็ว ก็จะเป็ปการเพิ่มจำนวนผู้ใช้มากขี้น
  • ส่วนอีกประเด็นหนึ่งก็ คือ เมื่อเขาสามารถเข้าถึงได้สะดวกแล้ว ความกล้าที่จะเขียน ความสามารถในการเรียบเรียง และมุมมองและความคิดของคนต่างกัน เมื่อเขียนไปแล้ว ก็เกิดความกังวล หรือคิดเอาเองว่า คงไม่มีใครอยากอ่าน
  • ประเด็นที่สาม คือ บางคนเคยเขียนบันทึกแล้วบ้างประปราย แต่รู้สึกว่ามีคนเข้าชมบันทึกของตนน้อย หรือมีการแลกเปลี่ยนบ้าง หรือบางบันทึกไม่มีข้อคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่อยากเข้ามาใช้อีก ก็เป็นได้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

อาจารย์วสะครับ ที่เราเขียนกันก็ไม่ลึกซึ้งมากเท่าไหร่นะครับ แต่ถ้าคนเขียนที่ตั้งใจและทำได้ดี ก็คงจะเป็นอย่างที่อาจารย์ว่านั่นแหละครับ ขอบคุณครับ ที่นำเสนอ ที่ชดเจนมากเลยครับ ผมว่า สคส น่าจะเก็บไปคิดนะครับ ถ้าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จริงๆ อันนี้เป็นคำท้าของผมนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท