การใช้การแพทย์ทางเลือกของผู้ป่วยอายุรกรรมในจังหวัดสุรินทร์ปี 2548


อุลรัตน์ ดีพร้อม
โรงพยาบาลสุรินทร์

ผลการศึกษา
– ลักษณะทั่วไปพบเพศหญิงมากที่สุด ร้อยละ 56.2 ช่วงอายุ 31-40 ปี มากที่สุด ร้อยละ 26 สถานภาพสมรสคู่พบมากที่สุดร้อยละ 72 การศึกษาประถมศึกษาพบมากที่สุดคือ ร้อยละ 81.25 ศาสนาพุทธพบร้อยละ 100 บัตรทองพบมากที่สุดร้อยละ 55 รายได้ที่พบมากที่สุด ช่วง 0-5,000 บาท / เดือนพบร้อยละ 69 โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด คือ ปวดกระดูดและข้อ ชนิดการแพทย์ทางเลือกที่ผู้ป่วยอายุรกรรมเลือกใช้ พบว่าผู้ป่วยเลือกใช้สมุนไพรเป็นอันดับแรก พบร้อยละ 24.2 รองลงมาคือ จับเส้น บีบนวด พบร้อยละ 16.9 รองลงมาคือ บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พบร้อยละ 12 ลำดับต่อมา คือ สวดมนต์ พบร้อยละ 11 พระภิกษุพบร้อยละ 9.6 สมาธิ พบร้อยละ 6 รับประทานวิตามิน พบร้อยละ 5.6 พิธีกรรม เช่น บังมด รำผีฟ้า พบร้อยละ 5.2 รับประทานอาหารเสริมพบร้อยละ 4.7

- ผู้ป่วยนิยมใช้สมุนไพรอันดับแรกสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนสุรินทร์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยชนบทที่สนใจสมุนไพรเป็นทุนเดิม แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผู้ป่วยนิยมซื้อยาสมุนไพรจากผู้ขายที่เร่ขายตามหมู่บ้าน ยาสมุนไพบางตัวไม่มีประโยชน์ แต่กลับราคาแพง ทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาโรงพยาบาลล่าช้า และสูญเสียค่าใช้จ่าย บางตัวผสมยา Steroid และรับประทานยาชุดร่วมด้วย จึงควรมีกรรณรงค์ให้ความรู้เรื่องยาสมุนไพรที่ถูกต้องต่อไป

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 67150เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท