การจัดงาน


จัดงาน สถานที่ ให้คนมาเที่ยว ต้องเป็นระบบ

ได้พักผ่อน 4 วัน ก็พักแบบเที่ยวๆหลังจาก ทำงานแบบประชุมมาหลายวัน
วันหยุดที่ผ่านมาไปเที่ยวอิสาน
ตามแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ และจากฝืมือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นวัด สถานโบราณ และงาน(เฉพาะกิจ)ประจำปีของขอนแก่น หรือเรียกว่างานไหม งานกาชาด
ก็ไปหลายที่แบบว่าร้อนมาก
เวลาไปวัดวาอาราม มีป้ายบอกที่ถนนใหญ่ พอเข้าไปแล้วเจอทางแยก ต้องถามชาวบ้านเอาเอง บ้างที่ตอนเข้ามีป้ายชี้ทางเข้า แต่ตอนออกไม่มีป้ายบอกทางออก
ต้องจดจำเส้นทางกันเอาเอง แถมหลายแห่งจัดเส้นทางเข้า-ออกแบบทางเดียว(1-way) ต้องจอดถามทางกันประจำ

ขอเปรียบเทียบงาน(เฉพาะกิจ)กาชาดหรืองานประจำจังหวัด ของจังหวัดใหญ่ๆ ที่ได้เที่ยวชมมา เช่น กทม. ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น เป็นต้น(จังหวัดอื่นๆ ขอไม่กล่าวถึงนะครับ)

*สถานที่ กทม. ชลบุรี ขอนแก่น  การปิดเมืองปิดถนนจัดงาน บริเวณงานก็จะอยู่บนถนน กับที่โล่งของส่วนราชการ
เชียงใหม่ ไปจัดในทุ่งโล่ง นอกเมือง สามารถจัดผังงานได้ดีมาก
*เส้นทางเข้าออกงาน คนในท้องที่จะรู้ทางลัดเพื่อเลี่ยงทางที่ปิด(เอาไปจัดงาน) คนนอกท้องที่จะไม่รู้ ไปแล้วก็หลง
*ผังของงานไม่ค่อยมี (เหมือนผังเส้นทางร้านค้าในห้างสรรพสินค้า)
*การจัดผังงาน บริเวณขายของคนจะเดินกันเยอะมาก บริเวณนิทรรศการส่วนราชการหรือสินค้าชุมชนชาวบ้าน จะไม่มีคนเข้าเพราะจัดพื้นที่ไว้ในๆหรือไม่ใช่เส้นทางหลัก แต่ถ้าเป็นที่สวนอัมพร คนจะเข้ามาก
*ถ้าเป็นที่เชียงใหม่ จัดผังดี แบ่งเป็นโซนๆดี ทางเดินกว้าง แต่ฝุ่นเพียบ (จัดงานกลางทุ่ง)

*ถังขยะน้อยเมื่อใครทิ้งขยะกองไว้ที่นึงก็จะมีคนทิ้งต่อเลยจนเป็นกองใหญ่
*ห้องน้ำมีน้อย และสกปรก ถ้าไม่เป็นรถสุขาแบบของกทม. ก็เป็นห้องน้ำสร้างกันลวกๆ เว้นแต่เป็นห้องน้ำสาธารณะเช่นในสวนอัมพร
น่าจะมีใครทำเป็นตู้คอนเทนเนอร์ ถ้าจะใช้งานที่ไหนนำไปตั้ง

ก็เข้าใจว่า คนจัดก็คงหวังดีกับสิ่งที่ได้ทำ แม้เงินลงทุนจัดงานจำกัด แต่จัดแบบนี้ก็จะเป็นงานตลาดนัดขายของให้คนในท้องที่อย่างเดียว
แต่ถ้าจะจัดงานอวด คนนอกท้องที่และให้เค้าเอาเงินมาซื้อของในท้องที่(จังหวัดที่จัดงาน) คงต้องคิดเป็นระบบกันหน่อยแล้ว

การจัดงานประเภทเฉพาะกิจ ควรคิดถึงว่า
1.คนรู้(จัก)งาน การประชาสัมพันธ์ ทางสื่อต่างๆ ข้อมูลของงาน
2.คนมา(กลับ)งาน ด้วยวิธี เดิน ขี่จักรยาน จักรยานยนต์ รถโดยสาร รถยนต์
ควรมีป้ายบอกเส้นทางเข้า-ออกไปงาน คำนวนปริมาณการจราจร ถ้ามากควรมี จนท.จราจร
3.คนเข้า(ออก)งาน
ควรมีที่จอดรถ จุดรับ-ส่งผู้โดยสาร ซึ่งก็ไม่ค่อยคิดถึงกันเลย
จากจุดจอดรถ จุดรับ-ส่งผู้โดยสาร ถึงประตูเข้า ซึ่งส่วนใหญ่จะมีที่เก็บเงิน ช่องทางเข้า และทางออก
ควรมีป้ายผังงานด้วย ประชาสัมพันธ์งาน(เป็นคนตอบคำถามต่างๆ)
ควรมีจุดนัดพบ เป็นจุดสังเกตุ หรือสะดุดตา ที่ชัดเจน (กรณีมางานไม่พร้อมกัน หรือจะแยกกันเดิน)
4.คนเดิน(ดู)งาน เมื่อเข้างานแล้ว ผู้คนจะเดินไปตามเส้นทาง
ถ้าผังงานดีๆ คนจะเดินเข้าได้ทุกจุด
ถ้าพื้นใหญ่ ควรมีระบบขนส่งมวลชน เช่น รถไฟ เป็นต้น
พื้นที่ขายของ ไม่ควรติดทางเข้า-ออก
พื้นที่แสดงดนตรี การแสดงต่างๆ ไม่ขว้างทางเดิน
มีกิจกรรม อื่นๆเสริมบ้างเช่น โซนการแสดงของศิลปินอิสระ(ข้างถนน) ดนตรีประจำท้องถิ่น กีฬาท้องถิ่น การแสดงสุนัขแสนรู้ นวดเท้า เป็นต้น
มีจุดพักตา เช่นสวนน้ำตก น้ำพุ ซุ้มดอกไม้ ประติมากรรม เพื่อถ่ายรูป เป็นต้น
มีจุดพักกาย เช่น เก้าอี้นั่ง ศาลานั่งพัก(ที่ไม่ได้เน้นขายของกิน) เป็นต้น

มีถังขยะ รองรับขยะ หลายๆที่
มีห้องน้ำสะอาด ที่พอเพียง

การจัดระบบการท่องเที่ยวแบบทั้งปี ควรคิดถึงว่า (คล้ายการจัดงานประเภทเฉพาะกิจ)
1.คนรู้(จัก)ที่ท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ ทางสื่อต่างๆ ข้อมูลของงาน
ระบุในแผนที่ท่องเที่ยว แผนที่ทางหลวง
ประกาศวันเวลาที่เปิด-ปิดการทำการให้ชัดเจน
2.คนมา(กลับ)ที่ท่องเที่ยว ไม่ว่าวิธี ขี่จักรยาน จักรยานยนต์ รถโดยสาร รถยนต์
ควรมีป้ายบอกเส้นทางเข้า-ออกแหล่งท่องเที่ยวที่ชัดเจน บอกระยะทางที่จะถึง ตัวอักษรขนาดใหญ่(มาตราฐานทางหลวง 10 ซม.)มองเห็นแต่ไกล
คำนวนปริมาณการจราจร ถ้ามากควรมี จนท.จราจร
3.คนเข้า(ออก)ที่ท่องเที่ยว
ควรมีที่จอดรถขนาดเล็ก-ใหญ่ จุดรับ-ส่งผู้โดยสาร
ควรกำหนดที่จอดรถก่อนเข้าพื้นที่ท่องเที่ยว ไม่ควรให้จอดกลาง แล้วเดินชมแบบข้ามที่จอดรถไปมา
ควรมีป้ายผังสถานที่ด้วย ประชาสัมพันธ์สถานที่(เป็นคนตอบคำถามต่างๆ)
ควรมีจุดนัดพบ เป็นจุดสังเกตุ หรือสะดุดตา ที่ชัดเจน (กรณีมางานไม่พร้อมกัน หรือจะแยกกันเดิน)
4.คนเดิน(ดู)ที่ท่องเที่ยว เมื่อเข้าที่ท่องเที่ยวแล้ว ผู้คนจะเดินไปตามเส้นทาง
ควรวางเส้นทางแบบทางเดียว เดินชมได้ทุกจุด แล้วหมดเส้นทางชม ที่จุดใกล้ทางออก
มีพื้นที่ขายของที่ระลึก ควรอยู่ใกล้ทางออก
สร้างจุดน่าสนใจเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความประทับของแหล่งท่องเที่ยวนั้น เช่นสวนดอกไม้ สวนน้ำตก น้ำพุ ซุ้มดอกไม้ ประติมากรรม ป้ายสถานที่ เพื่อถ่ายรูป เป็นต้น
มีจุดพักกาย เช่น เก้าอี้นั่ง ศาลานั่งพัก(ที่ไม่ได้เน้นขายของกิน) เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถานที่ ควรจัดให้มีมัคคุเทศน์น้อย(นักเรียนจากโรงเรียนในชุมชน)เป็นวิทยากรแนะนำแหล่งท่องเที่ยว จะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยี่ยมชม และเป็นการปลูกฝังการรักท้องถิ่นบ้านเกิดด้วย

ควรมีจุดพัก น้ำดื่มรับประทานอาหารเป็นบริเวณเดียวกัน ไม่ควรมีหลายที่มากเกินไป แต่ควรมีหลายๆร้านค้า
ไม่ควรมีร้านค้าอาหาร ในบริเวณจุดน่าสนใจ(ถ้าไม่จำเป็น)
บางที่ บางบริเวณ ต้องกำหนดห้ามเป็นที่รับประทานอาหารเครื่องดื่มต่างๆ
มีถังขยะ รองรับขยะ หลายๆที่
มีห้องน้ำสะอาด ใกล้ร้านค้าอาหารที่พอเพียง
5.คนพัก(นอน)ที่ท่องเที่ยว บางแห่งมีที่พักภายในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ก็เป็นกลวิธีการจัดการในด้านที่พักแบบโรงแรม-รีสอร์ท(ไม่ขอกล่าวถึง)

แหล่งท่องเที่ยวของไทยไม่ว่าจะใหญ่จะเล็ก มีอยู่มากมาย  ถ้าจัดการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจะมีคนมาตลอดทั้งปี รายได้ก็จะตกกลับชุมชนนั้น
บ่อยครั้งคนที่ชอบเที่ยวจะบอกว่าไปต่างประเทศที่นั่นที่นี่สวย แล้วของไทยละไม่สวยหรือ ประเทศไทยเรามีสิ่งหนึ่งที่ประกอบกับคนไทยคือรอยยิ้ม เป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนก็อยากได้รับ
แต่มาสนใจในรายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยวบ้าง บ้างครั้งคงต้องมาถึงชุมชนด้วย เพราะเวลาเข้าในแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องผ่านแหล่งชุมชนที่มีขยะกองเกลื่อน นักท่องเที่ยวจะคิดอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 67135เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • คิดได้เก่งจังเลย
  • หายไปนานมากคิดถึงครับ
  • ขอบคุณมากครับ

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ เมื่อไม่กี่วันผมเดินทางไป จังหวัดเหนือๆพอๆกับบ้านผม การวางผังในจุดท่องเที่ยวสำคัญ หากต่างคนต่างจะขายของ ทำให้ภาพที่สวยงามของสถานที่ด้อยลงถนัดตา

อยากให้เป็นสัดเป็นส่วน ไม่เกะกะ ดูแล้วสบายตา ซื้อหาก็สบายใจ

อ่านบันทึก นึกถึงบรรยากาศ งานฤดูหนาวและงานกาชาดเชียงใหม่ขึ้นมาทันที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท