นิเทศครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน


การนิเทศครู..ไม่ใช่การตรวจสอบ หรือ การจับผิด แต่เป็นการดูเพื่อการพัฒนา เกิดการช่วยเหลือ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดกัลยาณมิตรทางการเรียนรู้

ภารกิจหนึ่งที่จะลืม หรือข้ามเลยไปนั้น  ไม่ได้เลย  คือหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เพื่อให้ครบถ้วนในเรื่องการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ...วิธีหนึ่งที่ดี  และมีประสิทธิภาพ...คือการนิเทศ

 

มาทำความรู้จักกับการนิเทศเสยก่อน

การนิเทศ...ไม่ใช่การจับผิด..หรือการตรวจสอบ

การนิเทศ..ของครูอ้อย คือการเข้าช่วยเหลือ เพิ่มเติม แนะนำ  และเป็นกัลยาณมิตร ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ในหนึ่งสัปดาห์  ครูอ้อยจะหมุนการปฏิบัติการนิเทศ ไปเยี่ยมเพื่อนครูในการจัดการเรียนการสอนแบบ...ไม่บอกล่วงหน้า

เพื่อนครูปฏิบัติหน้าที่การเรียนการสอนได้อย่างเข้มข้นและดีเยี่ยม

นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติครบทั้ง 4 ทักษะ  การฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน

นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการกับอุปกรณ์และสื่อทันสมัยที่ครูได้จัดเตรียม

มีกระบวนการ  และขั้นตอนของการสอนที่เป็นรูปธรรม  เห็นได้อย่างชัดเจน

นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ในเรื่อง  การมีวินัย  กระบวนการกลุ่ม มีมารยาทในสังคม  มีขั้นตอนในการทำงาน  และมีความรับผิดชอบ

นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการสร้างสื่ออุปกรณ์ในการเรียนรู้

ครูอ้อยเห็นเพื่อนครูตั้งใจสอน  โดยไม่เหน็ดเหนื่อย ครูอ้อยก็มีความภาคภูมิใจ และจะนำเสนอในวาระการประชุมต่อไป

ในภาพ  ครูพรชนก ทรัพยานนท์

ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

เธอกล่าวว่า  " เหนื่อยวันแรก  และไม่เหนื่อยในครั้งต่อไป "

ได้ยินครูพรชนกพูดแบบนี้   ครูอ้อยก็มีความสุข  และภูมิใจ

หมายเลขบันทึก: 67098เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 06:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท