TOYOTA WAY วิถีสู่ความเป็นเลิศของโตโยต้า


ความสำเร็จในธุรกิจนั้นมาจากการสร้างสรรค์ของพนักงานแต่ละคน และจะยิ่งมีพลังมากขึ้น เมื่อรวมตัวกันขึ้นมาเป็นทีมที่เข้มแข็ง

TOYOTA WAY วิถีสู่ความเป็นเลิศของโตโยต้ากฤชชัย อนรรฆมณี[] [email protected]                 หากเอ่ยถึงรถยนต์ โตโยต้าแล้ว ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดีในบ้านเรา โตโยต้ากินส่วนแบ่งการตลาดเข้าไปถึงเกือบ 40% และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาหลายปี ทิ้งห่างอันดับ 2 ไปไกลพอสมควร ในบรรดาโรงงานโตโยต้าที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น หากจัดอันดับปริมาณการผลิตโดยไม่นับบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นแล้ว ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น หลังจากที่บริษัทแม่ได้ตกลงย้ายฐานการผลิตรถกระบะ Vigo เข้ามาในประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งผลิตและส่งออกไปทั่วโลกสำหรับภาพรวมระดับโลกของโตโยต้า นิตยสาร Fortune ฉบับ Global 500 ล่าสุด ได้มีการจัดอันดับของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาทุกปี โดยวัดจากข้อมูลของปี ค.ศ.2004 ผมได้หยิบข้อมูลของบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์ 5 อันดับแรก ข้อมูลเป็นไปตามตารางข้างล่างนี้ครับ 

อันดับ CORPORATION รายได้
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
% รายได้เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน กำไร(ล้านเหรียญสหรัฐ) อันดับ กำไร จำนวนพนักงาน (คน)
1 General Motor 193,517 -0.9 2,805 7 324,000
2 Daimlerchrysler 176,687 12.8 3,067 6 384,723
3 Toyota 172,616 12.7 10,898 1 265,753
4 Ford Motor 172,233 4.7 3,487 5 324,864
5 Volkswagen 110,649 12.2 842 15 342,502
ที่มา : The Fortune Global 500  Vol.152, No.2  Jul 25, 2005                จะพบว่าโดยรายได้แล้ว โตโยต้าอยู่ในอันดับ 3 รองจาก GM (General Motor) และ Daimlerchrysler โดยมี Ford เป็นอันดับ 4 ซึ่งหากเทียบกับปีก่อนนั้น “Big 3” หรือค่ายรถยนต์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน 3 ราย จะอยู่ในอันดับ 1-3 โดย Ford นั้นอยู่ในอันดับ 2 แต่มาในปีนี้ถูกแซงจนต้องร่วงไปเป็นอันดับ 4 และเมื่อเทียบความเปลี่ยนแปลงกับปีก่อน GM มีปัญหามากเพราะรายได้ลดลง 0.9% ในขณะที่โตโยต้ามีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 12.8% ในประเทศสหรัฐอเมริกาเองซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ส่วนแบ่งการตลาดของโตโยต้า เพิ่มขึ้นจาก 10.6% ในปี ค.ศ.1999 มาเป็น 14.7% ในปีล่าสุด สวนทางกับส่วนแบ่งที่ลดลงของ GM                ข้อมูลที่น่าสนใจถัดมาคือผลกำไรครับ โตโยต้าอยู่ที่อันดับ 1 คือ กว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ ถ้าคิดเป็นเงินบาทเอา 40 โดยประมาณคูณเข้าไปก็ 4 แสนกว่าล้านบาท โดยที่ผลกำไรนี้ ถ้าเอากำไรของ Big 3 คือ GM, Daimlerchrysler และ Ford รวมเข้าด้วยกันแล้ว ก็ยังสู้โตโยต้าเจ้าเดียวไม่ได้ครับ!                 ข้อมูลถัดมาคือจำนวนพนักงานก็น่าสนใจครับ ในขณะที่รายอื่นๆ มีจำนวนพนักงาน 3 แสนคนขึ้นไปทั้งสิ้น แต่โตโยต้ามีพนักงานที่น้อยกว่า คือประมาณ 2 แสน 6 หมื่นกว่าคน ดังนั้น ถ้าคำนวณความสามารถในการทำกำไรของพนักงาน 1 คน ตัวเลขที่ได้ของโตโยต้าก็จะยิ่งเหนือกว่าเจ้าอื่นๆ ยิ่งขึ้นไปอีกยอดขายทั่วโลกของโตโยต้าในปี ค.ศ.2004 อยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านคัน และด้วยการเจริญเติบโตต่อเนื่อง เป้าหมายของบริษัทคือ ส่วนแบ่งตลาดโลก 15% ภายในปี ค.ศ. 2010 นั่นหมายความว่าน่าจะทำให้โตโยต้ากลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของโลกแทนที่ General Motor!                เบื้องหลังผลประกอบการที่ดีเยี่ยมเช่นนี้ ได้มีการพูดถึงเป็นกรณีศึกษาอยู่มากมาย โดยเฉพาะ ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในเรื่องของ JIT (Just in Time) การผลิตแบบทันเวลาพอดี และกลายเป็นรากฐานแนวคิดที่ฝรั่งจับมาแต่งตัวปะแป้งใหม่กลายเป็น Lean System ซึ่งเดี๋ยวนี้ตำราเรียนทางด้านการจัดการการผลิตในปัจจุบัน ก็จะพูดถึงกันทั้งสิ้น และล่าสุด ท่านที่แวะตามร้านหนังสือก็จะเห็นหนังสือ Toyota Way ที่เพิ่งแปลเป็นภาษาไทยออกวางจำหน่าย ก็จะมีการพูดถึงแนวคิดและการปฏิบัติที่เป็นเลิศเหล่านี้อยู่เช่นกัน สนใจลองไปหาอ่านกันดูครับ (แต่หัวข้อในหนังสือจะต่างกับ Toyota Way ที่เราจะพูดถึงต่อไปครับ)แล้วข้างในบริษัทโตโยต้าเองล่ะครับ ได้มีการพูดถึงปรัชญาหรือแนวคิดในการทำงานของตนเองอย่างไร? ในปี ค.ศ.2001 ก็ประมาณ 4 ปีมาแล้ว ประธานของ Toyota Motor Corp. คนก่อนหน้านี้คือ Mr.Fujio Cho ก็ได้ประกาศ The Toyota Way 2001 เพื่อให้เป็นแนวทางร่วมกันของบริษัทในเครือโตโยต้าทั้งหมด และเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า Toyota Way (ประธานคนปัจจุบันชื่อ Katsuaki Watanabe เพิ่งรับตำแหน่งไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา)ในการประกาศ Toyota Way นั้น Mr.Cho กล่าวว่า ที่ต้องนำ Toyota Way หรือวิถีของโตโยต้ามาพูดกันอย่างเป็นทางการก็เพราะว่า บริษัทเองในตอนนี้ได้เจริญเติบโตเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นองค์การระดับโลก มีโรงงานโตโยต้า หรือบริษัทในเครือเกิดขึ้นมากมายในหลายประเทศ หลากหลายวัฒนธรรม  แต่เดิมปรัชญาพื้นฐานหรือแนวคิดในการทำงานมีจุดเริ่มต้นจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่น ที่เกิดจากการเรียนรู้ในการทำงานจริง และถ่ายทอดสู่พนักงานรุ่นต่อรุ่น ด้วยความใกล้ชิดกันระหว่างพนักงานและผู้บริหาร  สำหรับในปัจจุบัน ด้วยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมเหล่านี้อาจมีการเบี่ยงเบนไป จึงควรกำหนดปรัชญาดังกล่าวให้ชัดเจน และสื่อสารอย่างเป็นทางการไปยังพนักงานทุกคนเพื่อให้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติหรือวัฒนธรรมองค์การของโตโยต้าทั่วโลก ภายใต้ปรัชญาของ “Toyota Way” และใช้เป็นแบบแผนร่วมกันอย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ Mr.Cho เน้นย้ำคือ Toyota Way ไม่ใช่ Japanese Way หรือเป็นแนวทางญี่ปุ่น แต่เป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานใช้ได้กับ Toyota ทั่วโลก นอกจากนั้นต้องไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง และได้รับการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวคิดของ Kaizen ที่เราจะได้พูดถึงกันต่อไปครับความจริงแล้วเนื้อความของ Toyota Way ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นหลักการที่ผมคิดว่าหลายๆ ท่านก็คงจะเคยได้ยินกันอยู่แล้ว แต่ถูกนำมาตอกย้ำกันอีกครั้ง ลองมาดูรายละเอียดที่ทางโตโยต้ากำหนดกันครับToyota Way แบ่งออกเป็น 2 เสาหลัก คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” (Continuous Improvement) และ การเคารพนับถือในคน” (Respect for People) ข้อที่น่าสังเกตคือ ในเสาหลักที่ 1 นั้นจะเป็นการพูดถึงในมุมมองของ งาน การปรับปรุงพัฒนางานด้วยความคิดที่ไม่เคยพอใจกับสภาพในปัจจุบันและแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าอยู่ตลอดเวลา ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ และการทุ่มเทความพยายาม ในขณะที่เสาหลักที่ 2 จะเป็นการพูดถึง คน หรือพนักงานในองค์การนั่นเอง ซึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า ความสำเร็จในธุรกิจนั้นมาจากการสร้างสรรค์ของพนักงานแต่ละคน และจะยิ่งมีพลังมากขึ้น เมื่อรวมตัวกันขึ้นมาเป็นทีมที่เข้มแข็ง
 

TOYOTA

WAY

Continuous

Improvement

Challenge

Kaizen

Genchi / Genbutsu

Respect

Teamwork

Respect

for People

      
                                           จาก 2 เสาหลักนี้ก็ยังแบ่งย่อยออกไปเป็นอีก 5 เรื่องย่อยคือ Challenge, Kaizen, Genchi/Genbutsu, Respect และ Teamwork แนวคิดหลักของแต่ละตัวจะอยู่ในกรอบด้านล่างนี้ครับ
 Challenge เรากำหนดวิสัยทัศน์ข้างหน้าอย่างท้าทาย และมุ่งมั่นในการทำความฝันนั้นให้เป็นจริง§  สร้างสรรค์คุณค่าให้กับลูกค้าผ่านการผลิตและการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ§  จิตวิญญาณแห่งการท้าทาย ความมุ่งมั่นอย่างสร้างสรรค์§  มุมมองระยะยาว ความยั่งยืน§  การพิจารณา การตัดสินใจ อย่างรอบคอบ คำนึงถึงความเสี่ยงKaizen เราปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนา และการเจริญเติบโต§  จิตวิญญาณแห่งการปรับปรุง และความคิดพัฒนาอย่างก้าวกระโดด§  สร้างระบบและการทำงานที่ปราศจากความสูญเสีย (Lean)§  รณรงค์ส่งเสริมองค์การแห่งการเรียนรู้Genchi / Genbutsu  - เราปฏิบัติตามแนวคิด Genchi / Genbutsu  ไปที่ต้นตอหรือแหล่งกำเนิด เพื่อดูสภาพที่แท้จริง ค้นหาข้อเท็จจริง ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง โดยการหาฉันทามติร่วมกันของทีม และสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วที่สุด§  การสร้างฉันทามติอย่างมีประสิทธิผล§  มุ่งมั่นต่อการบรรลุเป้าหมายRespect  - เราเคารพนับถือ ให้เกียรติ พยายามทำความเข้าใจผู้อื่น ร่วมรับผิดชอบ และทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อสร้างความเชื่อถือร่วมกัน (Mutual Trust)§  ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์การ (Stakeholders)§  ความเชื่อถือและความรับผิดชอบร่วมกัน§  การสื่อสารอย่างจริงใจ เปิดเผยTeamwork - เรากระตุ้น สนับสนุนและสร้างโอกาส ต่อการเจริญเติบโต พัฒนา ในส่วนบุคคลและอาชีพการงาน ควบคู่ไปกับผลการทำงานที่ดีที่สุด ทั้งของตัวพนักงานเองและทีม§  ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและการพัฒนาของพนักงาน§  นับถือความเป็นส่วนบุคคล พร้อมกันกับตระหนักถึงพลังของทีม  ในคำประกาศนั้นได้มีการบันทึกคำกล่าวของบุคคลสำคัญของโตโยต้าที่น่าสนใจ ผมลองเลือกมาฝากด้วยครับ
 พวกเราที่โตโยต้า ยินดีต้อนรับการแข่งขันอันเข้มข้นจากกลุ่ม Detroit ประการแรกเพราะว่าผู้ผลิตยานยนต์สามารถเรียนรู้จากกันและกันได้ ประการที่ 2 การแข่งขันผลักดันให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะรับประกันได้ว่าองค์การจะอยู่รอดต่อไปในอนาคต ประการที่ 3 การแข่งขันทำให้เรามั่นใจต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง และประการสุดท้าย การแข่งขันทำให้ลูกค้าของเราได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นไปอยู่แล้ว(Yale Gieszl, Former Executive Vice President, Toyota Motor Sales) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของวิถีทางแห่งการทำงานในทุกๆ วันของเรา นั่นเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการผลิตของโตโยต้า ซึ่งขึ้นอยู่กับพนักงานทุกๆ คน (Alex Waren, Former Senior Vice President, TMMK) เข้าไปสังเกตที่บริเวณกระบวนการผลิต ด้วยจิตใจที่เปิดรับสิ่งที่พบ ไม่คิดทึกทักหรือคาดการณ์ไปก่อน จากนั้นให้ถามทำไม” 5 ครั้ง (5 Why) ในทุกเรื่อง(Taiichi Ohno) ผมเชื่อว่าลูกค้าของเราซื้อโตโยต้า เพราะว่าคุณภาพในทุกส่วนของบริษัท แน่นอนว่าประการแรกคือผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ แต่มากไปกว่านั้นคือกระบวนการทำงานในด้านอื่นๆ ทั้งหมด การออกแบบ วิศวกรรม การบริหารจัดการ และการจัดจำหน่าย (Robert B.McCurry Former Executive Vice President, Toyota Motor Sales) พนักงานคือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของโตโยต้า และเป็นสิ่งที่ชี้ถึงความรุ่งโรจน์หรือตกต่ำของบริษัท และในเมื่อพนักงานคือผู้สร้างรถยนต์ ดังนั้น พนักงานจะเริ่มลงมือได้ก็ต่อเมื่อเขาได้รับการอบรมและพัฒนาที่เพียงพอแล้ว (Eiji Toyoda)  จากความสำเร็จที่ผ่านมาของโตโยต้า หากมองต่อไปในอนาคต นับเป็นสิ่งที่ท้าทายบริษัทอย่างยิ่งว่าจะรักษาความสามารถนี้ไว้ได้ต่อไปหรือไม่ ในนิตยสาร Time ฉบับเดือนสิงหาคม มีบทสัมภาษณ์ประธานคนใหม่ Mr.Katsuaki Watanabe ที่สะท้อนถึง Toyota Way ผมเรียบเรียงมาฝากส่งท้ายตรงนี้ครับ 
คำถาม: โตโยต้าจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ท่านเองเรียกว่าโรคของธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ (Big Business Disease)” หรือการลำพองใจกับความความสำเร็จที่ผ่านมาได้อย่างไรMr.Watanabe: ทุกคนไม่ควรพอใจกับสิ่งที่เป็นไปในปัจจุบัน และควรพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่า ยังมีสิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอที่เราจะตั้งเป้าหมายไปให้ถึง นี่คือสิ่งที่ต้องอยู่ในพื้นความคิดของพนักงานทุกคน ถ้าเมื่อใดที่คุณเติบโตแล้วพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องคำถาม: กำไรของโตโยต้าเหนือกว่ากำไรของ “Big 3” รวมกัน ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรMr.Watanabe: ที่โตโยต้า เราทุกคนทำงานกันเป็นทีม แม้แต่กับผู้ส่งมอบ (Supplier) เราจะมองว่านี่คือพันธมิตรในธุรกิจของเรา


[] วิทยากรอิสระ
คำสำคัญ (Tags): #toyota
หมายเลขบันทึก: 67051เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2006 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท