ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

KM Thesis กับคุณลิขิตมือใหม่ ตอนที่ 3


การเสวนา KM Thesis ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 เป็นการนำเสนอข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่ใช้กระบวนการ KM ในการศึกษาถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการศึกษาไทย
 สวัสดีครับ พี่น้องชาว GotoKnow 

          จากผลการดำเนินงานการจัดมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่3 ที่ผ่านมานั้น KM Thesis Forum ประสบผลสำเร็จด้วยดี จึงใคร่นำเสนอเพื่ร่วมเรียนรู้ด้วยกันครับ วันนี้เป็นตอนที่ 3  ต่อจากเมื่อวานครับ...

เมื่อวาน..ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจของอาจารย์ พรพิมล      และวันนี้มาติดตามแรงบันดานใจของอาจารย์ ดร. วรวรรณ ขอเชิญติดตามได้เลยครับ...

4.5. อาจารย์ดร.วรวรรณ   วาณิชย์เจริญชัย    อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  อาจารย์ศึกษาเรื่อง การสร้างความรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้เป็นทีมของอาจารย์คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
4.5.1 แรงบันดาลใจ โดยเริ่มจากที่คณะส่งไปเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์มีฐานคิดที่ว่าเรียนแล้วจะเอากลับไปใช้กับองค์กรได้อย่างไร แล้วThesis เรื่องนั้นต้องอยู่ในสภาพที่ตนเองสามารถทำได้ด้วย ซึ่งตนเองไม่ใช่คนที่กว้างขวาง และรู้จักคนค่อนข้างน้อย มีความสนใจในเรื่องของ KM ก่อนที่จะเข้ามาเรียน และหลังจากได้มาเรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ กับท่านอาจารย์อรจรีย์ และอาจารย์ ประศักดิ์ แล้วจึงมีความมั่นใจว่าคงมีความเป็นไปได้หากจะทำ Thesis ได้ แต่ในช่วงแรกก็ยังไม่ค่อยรู้รายละเอียดอะไรมาก จึงเริ่มต้นจากการทำ Project ก่อน พยายามที่จะศึกษาข้อมูลมาโดยตลอด หลังจากนั้นปีที่ 2 จึงได้เข้าพบท่านอาจารย์อรจรีย์ ครั้งแรกคิดว่าจะทำการพัฒนาทั้งระบบเลย คือการพัฒนาระบบจัดการความรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์ แต่พอมาพิจารณาดูแล้วมันเกินศักยภาพของตนเอง เพราะว่าการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ค่อนข้างใช้เวลานาน  ดังนั้นจึงลด Scope งานลงพร้อมกับปรับเป็นเรื่องการจัดการความรู้ในคณะพยาบาล 
4.5.2 อาจารย์ไม่มีเวลา จากการวิจัยพบว่าอาจารย์ที่คณะมีภาระงานค่อนข้างมากอีกทั้งภาระงานสอนของอาจารย์ก็มากด้วยเช่นกัน อีกทั้งต้องขึ้น Ward ด้วย ซึ่งไม่เหมือนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ  เมื่ออาจารย์มีภาระงานเยอะก็ไม่มีเวลาได้มาเจอกันมากนักและไม่มีโอกาสที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา  ซึ่งที่ผ่านมาจะเกิดขึ้นน้อยมากสำหรับความรู้ด้านการพยาบาลจึงมีความคิดว่าจะทำอย่างไรให้อาจารย์ได้มาพบกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางการพยาบาลให้เกิดขึ้น ในการทำงานคนเดียวนั้นก็ไม่สามารถที่จะทำได้ จึงจำเป็นต้องต้องหลายๆ คนมาร่วมกันคิด จึงใช้หลักของการทำงานเป็นทีมมาจับ และจากแนวคิดดังกล่าวคิดว่ายังไม่พอเพียงเนื่องจากเราศึกษาในระดับปริญญาเอกดังนั้นต้องศึกษาเพิ่มเติม สุดท้ายจึงได้  Action Learning เข้ามาใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม จึงกำหนดกรอบแนวคิดเป็นการเรียนรู้เป็นทีม และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ จากนั้นนำมาสร้างเครื่องมือแล้วเอาไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็น เสร็จแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปสังเคราะห์และได้เป็น Model ออกมา จึงเอาข้อมูลไปทดลองใช้ในคณะของตนเอง ซึ่งจะจะสะดวกในการทำงาน ช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้หลักการไปพูดคุยกับอาจารย์โดยตรง จากการดำเนินงานพบว่ามีปัญหาค่อนข้างมาก  ขั้นตอนการทดลองมีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ด้วยกัน ประกอบด้วย
1. การอบรมให้ความรู้กับอาจารย์ สำหรับการทำ KM ในคณะพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลนั้น อาจารย์ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้เรื่อง KM เท่าที่ควร หลังจากนั้นจึงได้จัดให้มีการฝึกอบรม KM ขึ้นในคณะ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากท่านอาจารย์อรจรีย์ กับอาจารย์ประศักดิ์ ไปเป็นวิทยากร ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ก็มีปัญหามากเพราะอาจารย์ไม่ค่อยมีเวลาว่างตรงกัน
2. การกำหนดประเด็นปัญหา  โดยได้แบ่งกลุ่มเป็นภาควิชาเพื่อให้
อาจารย์กลุ่มศึกษาไปพูดคุยกันว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ให้ช่วยกันกำหนดหัวปลาว่าต้องการที่จะทำอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วในประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ้ามาจากหลากหลายสาขา หลายหน่วยงาน ก็จะดีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอาจารย์อยู่คนละภาควิชาจึงมีเวลาว่างไม่ตรงกัน
3. การตั้งทีมสร้างความรู้  หลังจากที่ได้หัวปลาแล้วก็จะ ให้แบ่งกลุ่มย่อยกันว่าแต่ละกลุ่มจะทำอะไรโดยแบ่งหน้าที่กันทำ และในแต่ละกลุ่มจะมี Facilitator 1 คน
4. การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และความคิดเห็น โดยแต่ละกลุ่มก็จะได้หาแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างไร และไปศึกษาหาข้อมูล และรูปแบบมาเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป
5 การสร้างความรู้และการตรวจสอบความถูกต้องของความรู้  ในขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน  เพื่อมาร่วมกันคิด การ Share ความรู้บางกลุ่มก็ได้ข้อมูลออกมาดี บางกลุ่มทำเป็น   Mymapping   และ Flowchart หลังจากได้ต้นแบบมาแล้ว จึงให้อาจารย์ช่วยกันอ่าน และเสนอแนะ ช่วยกันตรวจสอบ แต่เนื่องจากอาจารย์ที่คณะล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลจึงค่อนข้าง่ายในการรับรอง
6 การสร้างต้นแบบ  หลังจากได้ชุดความรู้แล้วแต่ละกลุ่มก็จะนำมา            Design เพื่อนำไปทดลองใช้ในการสอนนักศึกษาว่าจะทำอย่างไรก่อน หลัง
 7 การนำต้นแบบไปทดลองปฏิบัติ  หลังจากที่สร้างต้นแบบเสร็จเรียบร้อย จริงๆ แล้วจะต้องนำไปปฏิบัติจริง แต่เนื่องจากที่คณะมีข้อจำกัดคือจะต้องนำเข้ากรรมการจริยธรรมเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างก่อนเพื่อรับรองก่อนจึงจะนำไปใช้ได้  ซึ่งในขั้นตอนนี้ค่อนข้างที่จะใช้เวลาหลายเดือน จึงไม่สามารถรอได้ จึงข้ามขั้นตอนนี้ไป จึงได้เปลี่ยนรูปแบบโดยได้นำขึ้นบน Intranet  ของคณะเพื่อให้อาจารย์ที่อยู่ต่างสาขาได้เข้ามา Comment
8 การสรุปและประเมินผล ได้ทำการสรุปโดยการนำข้อสรุป และข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้ข้อ Comment กลับมา พร้อมกับได้วิเคราะห์ผลเกี่ยวกับการทำ Pretest – Pros test มาสรุปผล พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอีกทั้งมีการแจกแจงข้อมูลเป็นปกติ 
โปรดติดตามตอนที่ 4 ครับ....
ขอบคุณครับ
อุทัย   อันพิมพ์

 

หมายเลขบันทึก: 66972เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2006 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท