ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

KM Thesis กับคุณลิขิตมือใหม่ ตอนที่ 2


การเสวนา KM Thesis ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 เป็นการนำเสนอข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่ใช้กระบวนการ KM ในการศึกษาถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการศึกษาไทย
 สวัสดีครับ พี่น้องชาว GotoKnow 

          จากผลการดำเนินงานการจัดมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่3 ที่ผ่านมานั้น KM Thesis Forum ก็ประสบผลสำเร็จด้วยดีเช่นกันจึงใคร่นำเสนอท่านเป็นตอนที่ 2 ต่อจากเมื่อวานนี้ครับ 

เมื่อวาน..ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจของอาจารย์ ดร.ยุวนุช สำหรับวันนี้มาเริ่มต้นที่อ. พรพิมล เชิญติดตามได้เลยครับ...

4.4. อาจารย์พรพิมล   หรรษาภิรมย์โชค           นักศึกษาระดับปริญญาเอก กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง การวางแผนการทำ KM ของหน่วยงานภาครัฐตอนนี้สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ผ่านแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ อาจารย์พรพิมล ได้นำเสนอประเด็นต่างๆที่น่าสนใจประกอบด้วย

4.4.1 แรงบันดาลใจ เริ่มแรกของการเรียนนักศึกษาระดับปริญญาเอกทุกคนต้องเรียน วิชา  HRD และอาจารย์ได้มอบหมายให้ไปทำ Project ในการพัฒนาองค์กร ซึ่งจะเป็นองค์กรอะไรก็ได้ โดยให้ไปศึกษาดูว่าเขาจะพัฒนาไปสู่ Learning Organization (LO) ได้อย่างไร หลังจากนั้นจึงไปสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่คนอื่นเขาเคยทำเอาไว้สุดท้ายจึงคิดว่าจะทำการศึกษาของหน่วยงานราชการ เนื่องจากยังไม่มีใครทำ และได้เลือกเอาสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม เนื่องจากพอที่จะรู้จักคนที่ทำงานอยู่ที่นั่นบ้าง จึงได้เข้าไปขอข้อมูลโดยใช้เหตุผลว่าจะเข้ามาศึกษาและช่วยในการวางแผนและพัฒนาองค์กรให้ พร้อมได้ขอข้อมูลเพื่อไปทำรายงานส่งอาจารย์ก่อน หลังจากนั้นจึงได้ข้อมูลมาค่อนข้างสมบูรณ์ และมากด้วย โดยเฉพาะโครงสร้างขององค์กร ตลอดทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ ขององค์กร เนื่องจากทางกระทรวงได้จ้าง NIDA มาช่วยในการทำแผนให้ก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นจึงได้สรุปข้อมูลดังกล่าวส่งอาจารย์ หลังจากที่ศึกษาข้อมูลแล้ว จึงได้ดำเนินการและวางแผนต่อว่าจะช่วยให้องค์พัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร ( LO

 4.4.2 การเตรียมตัวในการทำวิทยานิพนธ์ หลังจากที่ได้ข้อมูลมาแล้วเราต้องคิดและวางแผนว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้กระทรวงยุติธรรมเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ ต้องวางแผนว่าในเทอมต่อไปเราจะต้องเรียนวิชาอะไรเพิ่มเติม จึงจะได้ข้อมูลเพื่อมาทำแผนดังกล่าวได้ อีกทั้งต้องสืบค้น และศึกษา Model อะไรบ้าง และพอเทอมที่ 3 จะต้องสอบ Qualify และการสอบจะต้องมี Paper ประกอบด้วย  ดังนั้นจึงต้องดึงเอาข้อมูลต่างๆ ที่เราเตรียมมาทั้งหมดเพื่อสอบให้ผ่าน เพื่อจะได้ลงมือทำการศึกษาต่อไป

4.4.3 การเริ่มทำวิทยานิพนธ์  หลังจากที่สอบ Qualify ผ่าน ประกอบกับ กพร.ได้กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐได้ทำแผนการจัดการความรู้ส่ง จึงเกิดข้อสงสัยว่าจะทำแผนอย่างไร สังเคราะห์แผนอย่างไร จึงได้ไปลงเรียน วิชา Meta Analysis เพิ่มเติม โดยใช้หลักการที่ว่าเราไม่รู้อะไรต้องลงเรียนเพิ่มเติม หรือต้องสืบค้นเพิ่มเติม แต่เมื่อมาดูแผนแล้วค่อนข้างมากเพราะหน่วยงานราชการมีทั้งหมด 215 หน่วยงาน ซึ่งนับว่ามากพอสมควรและก็มีความกังวลเช่นกันว่าจะทำอย่างไร  

4.4.4 การหาเครือข่ายหรือผู้มีประสบการณ์ เมื่อปีที่แล้วได้เข้าร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายซึ่งได้รู้จักเครือข่ายหลายคน โดยเฉพาะคุณหมอที่เป็นหัวหน้าเครือข่ายภาคอิสาน หลังจากนั้นจึงได้ติดต่อประสานงานเรื่อง KM ตลอดมา และช่วงเวลาต่อมาคุณหมอได้ให้เข้าไปเรียนรู้งาน และช่วยงานในเวลาต่อมา ซึ่งไปช่วยงานทั้งในส่วนกลาง และต่างจังหวัด ไปช่วยถอดชุดความรู้และให้ข้อ Comment  หลังจากนั้นก็ยังคิดว่ามีความรู้ไม่พอเพียงที่จะดำเนินการ อีกทั้งยังต้องหาช่องทางในการที่จะเข้าไปขอแผนที่ กพร. ทั้ง 215 แผนให้ได้ หลังจากนั้นจึงได้ติดต่อเพื่อขอความรู้จาก คุณหมอวิจารณ์ พาณิช ที่ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โดยผ่านทาง email หลังจากนั้นจึงได้เข้าไปพบและขอคำปรึกษากับท่าอาจารย์หมอวิจารณ์  อาจารย์จึงให้โอกาสในการไปช่วยงาน มหกรรม KM ภาคราชการไทยก้าวไกลสู่ LO” จึงได้ไปช่วยงานอาจารย์จนกระทั่งได้รู้จักท่าน ดร.ทศพร   สิริสัมพันธ์ เลขา กพร. ในช่วงเวลาต่อมาจึงข้อมูลมาของ กพร. มาเพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป  จากนั้นจึงได้เข้าไปติดต่อประสานงานกับกระทรวงวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะใช้เป็นกลุ่มในการศึกษา แต่ยิ่งกว่านั้นนอกจากจะได้รู้จักผู้อำนวยการ (ผอ.สุทธิพงษ์) แล้วยังได้ช่วยงานในการวางแผนของกระทรวงด้วย จึงทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับฐานคิดของคนว่าในการวางแผนนั้นฐานคิดเขาคิดกันอย่างไร และทำให้เราได้เรียนรู้อะไรอื่นๆ อีกมากมาย

4.4.5 การดำเนินงานวิทยานิพนธ์ จริงๆ แล้วการดำเนินงานของอาจารย์พรพิมล ก็ได้วางแผนและดำเนินการอย่างเกาะติดมาโดยตลอด หลังจากได้ข้อมูลแล้วจึงนำข้อมูลมาสังเคราะห์แผน และต้องเข้าสู่กระบวนการสร้าง Model ซึ่งในกระบวนการนี้จะต้องใช้วิธีการสัมภาษณ์ CKO จำนวน 20 คน จาก 20 กระทรวงๆ ละ 1 กรม หลังจากได้ข้อมูลมาแล้วฐานคิดก็คือว่าเราจะนำแผนทั้งหมดมาสังเคราะห์และเมื่อสังเคราะห์เสร็จแล้วก็ดูต่อว่าแผนไหนที่มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราจะนำไปบวกกับแนวคิดของ Marquart  ซึ่งเป็นแนวคิดของการพัฒนาองค์กรสู่ LO แล้วเอาแนวคิดนี้มา Cross กัน แล้วนำไปสร้างแบบสอบถามเพื่อที่จะทำ Delphi กับผู้ที่ทำ KM ของกรมต่างๆ  กรมละ 2 ท่าน และ ผู้เชี่ยวชาญด้าน KM อีก 10 ท่าน รวมทั้งหมด 50 ท่าน  แล้วจะทำ Focus Group โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน KM ที่มีชื่อเสียงในเมืองไทยเพื่อเป็นการรับรอง Model ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 66701เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2006 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แวะมาให้กำลังใจ
  • เสียดายหาคุณอุทัยไม่พบ
  • ดีใจที่มีคนทำปริญญาเอกทาง KM ครับ
 Singer 1  Singer 2
นักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์ก็กำลังอยู่ในช่วงเก็บข้อมูลและสร้าง  Model  ส่งอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ค่ะอาจารย์อุทัย  ดิฉันคิดว่าข้อมูลเบื้องต้นที่จะนำมาวิเคราะห์คือภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่างที่เราเลือก เพราะน่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้พบปัญหาหรือความสำเร็จของ KM  ที่เราศึกษากันอยู่
นักศึกษาต้องแปลงทฤษฎีสู่การปฎิบัติ และสอดประสานกัน อย่างเป็นชิ้นเดียวกันครับ

ตามมาให้กำลังใจค่ะ อาจารย์  อาจารย์เขียนได้ละเอียดลออดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท