การจัดการความรู้ในคณะเพลงพื้นบ้านโรงเรียนบางลี่วิทยา


เราดึงประสบการณ์และความสามารถของแต่ละคนออกมา เป็นความรู้ที่จะถ่ายทอดสู่รุ่นต่อๆไป

 

การจัดการความรู้ในคณะเพลงพื้นบ้านโรงเรียนบางลี่วิทยา

(ผลงานชนะเลิศ ๓ รางวัล ในรอบปี ๒๕๔๙)

            ก่อนอื่นต้องขอเล่าถึงบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในคณะเพลงพื้นบ้าน หรือที่รู้จักกันในนาม คณะเพลงอีแซวบางลี่ ว่าเราแบ่งหน้าที่กันอย่างไร หน้าที่แต่งเนื้อร้องเป็นหน้าที่ ครูพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล กับนักเรียนบางคน ที่พอแต่งได้เช่น ด.ญ.พัชราพร  สุขเผือก แต่งเรื่องไข้หวัดนก ครูพิสูจน์ช่วยเขียนแผนการแสดง นักเรียนช่วยตรวจแก้ไข การออกแบบท่ารำเป็นเรื่องของรุ่นพี่ ที่ต้องสอนรุ่นน้อง ครูพิสูจน์รำไม่เป็นดูเป็นอย่างเดียว จังหวะทำนองช่วยกันติช่วยกันติง ใครร้องคร่อม ใครร้องเพี้ยน มุกตลกช่วยกันคิด บางทีครูพิสูจน์คิดมุกไว้ นักเรียนบอกครูคะมุกของครูฝืด เอามุกของพวกหนูดีกว่า รุ่นพี่ร้องดีร้องเก่งก็สอนน้องๆ วิธีทำลูกคอทำอย่างไรนักเรียนสอนกันเอง เดี๋ยวนี้ครูพิสูจน์ซื้อกล้องถ่ายวีดิทัศน์ เก็บไว้แล้วนำมาฉายให้ดูกันเป็นตัวอย่าง เป็นแนวทางฝึกฝน เดี๋ยวนี้เราเก็บลีลาที่สวยงาม เสียงร้องที่เพราะๆของรุ่นพี่ๆไว้ให้รุ่นน้องศึกษา เป็นขุมความรู้ เราดึงประสบการณ์และความสามารถของแต่ละคนออกมา เป็นความรู้ที่จะถ่ายทอดสู่รุ่นต่อๆไป(กำลังหารูปมาให้ดู)

หมายเลขบันทึก: 66614เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2006 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สนใจอยากได้เนื้อร้อง จะกรุณาได้ไหมครับ

ได้ครับ ผมแต่ง ขึ้นบลอกไว้หลายเรื่องแล้วติดตามอ่านได้เลย ขอบคุณมากนะครับที่สนใจ

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.พิสูจน์

  • เยี่ยมมากค่ะ...แบบนี้ส่งผลงานเพื่อเป็นครูแห่งชาติได้เลยค่ะ
  • ซื้อกล้องวีดีโอด้วย..การศึกษาคือการลงทุน
  • ท่านเป็น...ครูในดวงใจของครูอ้อยแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท