กฏหมายน่ารู้


กฏหมาย

ลิขสิทธิ์
          กฎหมายให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์งานด้วยตนเอง กล่าวคือผู้ที่มิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การที่เราถ่ายภาพวัดพระแก้ว ภาพถ่ายที่ได้มาดังกล่าวถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของเราเอง การที่มีบุคคลอื่นไปถ่ายรูปวัดพระแก้วบ้างรูปถ่ายดังกล่าวก็เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลนั้นด้วยเช่นกัน เพราะเป็นงานอันเกิดจากการสร้างสรรค์งานของตนเอง
          งานสร้างสรรค์ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ นั้น ได้แก่ งานประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในประเภทงานวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
          ผู้สร้างสรรค์งานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ทันทีที่มีการสร้างสรรค์งานขึ้น โดยมิต้องไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิในลิขสิทธิ์ นอกจากการได้ลิขสิทธิ์มาด้วยการสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ยังอาจได้มาด้วยการรับโอนลิขสิทธิ์จากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยทางนิติกรรมหรือทางมรดกได้อีกด้วย
          ผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ของตนย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ของตน หากมีผู้ใดกระทำการดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือว่าบุคคลดังกล่าวกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ยังได้กำหนดให้นักแสดงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตน เช่น การแพร่เสียงแพร่ภาพ บันทึกการแสดงของตนที่ยังมิได้มีการบันทึกไว้แล้ว หรือทำซ้ำสิ่งบันทึกการแสดงที่มีผู้บันทึกไว้ ซึ่งหากมีบุคคลใดกระทำการดังกล่าว โดยมิได้รับอนุญาตจากนักแสดงก่อนย่อมถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของนักแสดงอันมีความรับผิดตามกฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

คำสำคัญ (Tags): #ครูกฏหมาย
หมายเลขบันทึก: 66541เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท