เรื่องเล่า...กว่าจะได้เปลี่ยน....


เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ดูฤกษ์ดูยามก็ดี เสียงคุณกิจเล็กๆ แต่หลาย ๆ เสียงก็ดี ฉกฉวยโอกาสหรือรอจังหวะที่เหมาะสมก็ดี...
วันศุกร์ที่ผ่านมาผู้เขียนทำงานคู่กับพี่โอ๋ คุยไปคุยมาก็เลยย้อนไปถึงอดีตช่วงที่พี่โอ๋ไม่อยู่ไปเรียนออสเตรเลีย (ก็ต้องขอบคุณพี่โอ๋ ทำให้ได้แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องเล่านี้) โดยเฉพาะเรื่องเล่าความสำเร็จกว่าจะได้เปลี่ยนมาใช้ primary  tube หรือหลอดเลือดวิเคราะห์โดยตรง  
คงจำไม่ผิดวันที่ใช้วันแรกเป็นวันศุกร์ที่1 ส.ค. 2546 พอดิบพอดี หลังจากนั่ง "จับยามสามตา" เห็นว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมเริ่มต้นเดือน เป็นวันศุกร์คงจะราบรื่นด้วยอันนี้คิดเอาเอง
 จริง ๆ แล้วการใช้หลอดเลือดนำไปวิเคราะห์โดยตรงไม่ใช่เรื่องแปลกและใหม่เลย ผู้เขียนเห็นมาตั้งแต่สมัยตัวเองฝึกงานด้วยซ้ำ (ปี 2537) แต่ทำงานที่นี่ก็เห็นเขาดูด serum มาใส่ cup ตรวจแทนที่จะใช้หลอดเลือด ซึ่งพบว่าบางครั้งก็ดูดผิด เพราะต้องเขียน No. Lab ใส่ cup หรือรายเดียวกันมีทั้งเลือด มีทั้งปัสสาวะ บางครั้งก็เจอดูด ปัสสาวะไปใส่ใน cup ของเลือด ลายมือแต่ละคนก็อ่านยากด้วย (โดยเฉพาะตัวเอง)  และปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นทุกปี  
ก็เคยบอกเล่า (หลายคนต่อหลายครั้ง) ทำไมเราต้องมาดูด serum จากหลอดเลือดแต่ละหลอดมาใส่ cup ทำไมไม่ใช้หลอดเลือด เพราะน่าจะมีประโยชน์มากกว่า...
  • ช่วยลดขั้นตอนและภาระงาน รวดเร็วขึ้นไม่ต้องเขียน Cup และดูด serum ใส่ cup ทุกราย (ช่วงนั้นประมาณ 400 - 500 ราย ประมาณว่าเขียน cup 400 -500 cup ดูด serum 400 -500 ราย พอช่วงเย็นก็เมื่อยแขน )
  • ถูกต้อง ลดความผิดพลาดของผลตรวจวิเคราะห์กับผู้รับบริการมากกว่าเพราะนำหลอดเลือดไปวิเคราะห์โดยตรง
  • ลดภาระงานของการล้างอุปกรณ์ Cup Tip เพราะใช้น้อยลง
 จะว่าไปตัวเองก็ไม่ได้เดือดร้อนสักเท่าไร จำได้ว่าสมัยก่อนตำแหน่งนักเทคนิคฯ ไม่ต้องทำหน้าที่นี้ด้วยซ้ำ ใครอยากทำก็ช่วยได้ แต่เป็นหน้าที่โดยตรงของพนักงานวิทย์ฯ  
คนที่เห็นด้วยจึงมีแต่พนักงานวิทย์ และคนอื่นๆ แต่ในตำแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ก็ไม่ค่อยมีใครจะเห็นด้วยสักเท่าไร บางคนก็เฉย ๆ วางตัวเป็นกลาง บางคนก็ค้านซะด้วยซ้ำ (เขาก็กลัวปัญหาเรื่องการ Clotted ของเลือด ทำให้เครื่องมีปัญหา แต่เราสามารถแก้ได้ด้วยการเพิ่มจำนวนรอบความเร็วเครื่องปั่น + กับเวลาที่ใช้ในการปั่นแยกได้) วันที่ตัดสินใจทำก็รู้สึกทั้งกดทั้งดัน
 สิ่งที่สำคัญสุด ๆ ที่ทำให้มีโอกาสได้ทดลองในวันนั้นคงจะต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ประสิทธิ์ ที่เพิ่งกลับมาจากออสเตรเลีย ที่บอกว่า ทำไปเลยครับ (รอมานานคำนี้) ตัวเองจึงได้ฉกฉวยโอกาสนั้นเอ๊ย ! ใช้ช่วงจังหวะในการเปลี่ยนแปลง...(นึก ๆ อยู่เหมือนกันว่าตัวเองเป็นนักฉก นักฉวย...โอกาสหรือไม่ ) 

และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เสียงหรือพลังของ "คุณกิจ" แม้จะเล็กแต่หลายคนรวมกัน ที่จุดประกายให้เกิดพลังมากพอในการเปลี่ยนแปลง และทำให้คิดได้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำมันไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตัวเรา แต่เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ

 (จำได้ว่าเมื่อเปลี่ยนมาใช้หลอดเลือดโดยตรงแทนการเขียน cup แล้ว วันหลังเมื่อเกิดกรณีเครื่องมีปัญหาต้องกลับไปใช้เครื่องเก่าซึ่งใช้หลอดเลือดไม่ได้ แล้วต้องเขียน cup คนที่ค้านและบอกว่าอยากเขียน cup มากก็ไม่ยอมมาทำ..)  
จะเป็นเพราะอะไรก็แล้วแต่ เมื่อนึกย้อนมองกลับไปก็อดดีใจไม่ได้ ถ้าไม่ผ่านพ้นวันนั้น วันนี้ก็ไม่รู้จะเป็นเช่นไร หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ในวันหรือเดือนอื่นๆ หลังจากนั้นก็ได้ ...
  เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ดูฤกษ์ดูยามก็ดี เสียงคุณกิจเล็กๆ  แต่หลาย ๆ เสียงก็ดี ฉกฉวยโอกาสหรือรอจังหวะที่เหมาะสมก็ดี...
ก็เป็นอันว่าความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายามอยู่ที่นั่น ไม่ช้าไม่นานความสำเร็จก็จะตาม....มา อีกแล้วคร๊าบ...ท่าน 
 
หมายเลขบันทึก: 66495เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แล้ว.....เครื่องที่ ER-Lab   จะเปลี่ยนไปใช้ primary   ได้มั๊ยคะ

ก็น่าจะได้ คุณปรือเขาก็(แอบ) ทำอยู่ (ลองหลายๆ เสียงดูสิ) อย่าบอกว่าผู้เขียนแนะนำล่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท