ข้อคิดในการป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน


ประชาชนยังมี misconception เกี่ยวกับโรคเรื้อรังอยู่เยอะ ดังนั้นการจะไปทำ intervention อะไร ก็ควรค้นหาว่ามี misconception อะไรอยู่บ้าง

เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ ดิฉันมีโอกาสได้ร่วมพูดคุยในวงที่มี ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ ศ.นพ.จิตร สิทธิอมร รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก ผศ.ดร.รัตนา สำโรงทอง และ ผศ.ดร.จุลนี เทียนไทย ถึงการทำงานป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย

ศ.นพ.จิตร สิทธิอมร กล่าวว่าประชาชนยังมี misconception เกี่ยวกับโรคเรื้อรังอยู่เยอะ ดังนั้นการจะไปทำ intervention อะไร ก็ควรค้นหาว่ามี misconception อะไรอยู่บ้างแล้วแก้ไขเสียก่อน ในเรื่องของพฤติกรรมนั้น ไม่มีองค์การไหนที่ทำได้คนเดียว ต้องอาศัย partnership หลายส่วน อาจารย์จิตรยังแนะนำให้เอา cost-effective intervention ที่มีการวิเคราะห์ไว้แล้วไปปรับใช้โดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ เช่น จากรายงานของ WHO ที่สามารถ download ได้ที่นี่ 

 
 

 WHO Report

รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิตเห็นด้วยว่าควรเริ่มจากการหา misconception ว่าชุมชนเห็นอย่างไร คิดอย่างไร เป็นการสร้าง ownership ไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องดูความพร้อมของชุมชนด้วยว่าเขาเข้าใจสิ่งที่จะทำหรือไม่ และต้องมีกลไกให้เขาสามารถจัดการกับตนเองได้

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๙

หมายเลขบันทึก: 66493เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเคยเอาอาหารเสริมอันหนึ่งให้ญาติที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึง 400 กิน  ตอนแรกผมก็ไม่รู้หรอกว่าจะช่วยอะไรหรือเปล่า  เพียงแต่อยากให้เขาแข็งแรง  กินอยู่สามเดือน  พอไปพบคุณหมอ  คุณหมอก็ไม่จ่ายยาควบคุมระดับน้ำตาลอีกแล้ว  อันนี้ผมก็กังวลว่า  ถ้าไม่กินยาแล้ว  ระดับน้ำตาลจะไม่กลับขึ้นมาอีกหรือครับ
ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท