ใครปวดหลังจากการใช้คอมฯ บ้าง.. มาคิดค่าคะแนนความปวดได้ที่นี่ (1)


อาการปวดหลัง..อาจมีผลต่อชีวิตประจำวันได้ ขึ้นกับความรุนแรง หากพบว่าค่าคะแนนความปวดสูง แนะนำให้ไปพบแพทย์

ผมลอง search ใน G2K เรื่องปวดหลัง พบมีหลายบันทึกเหมือนกัน เช่น บันทึกของ "คนเขียนข่าว"" และของ Tingly   เป็นต้น

ตอนแรกผมว่าจะไม่เขียนเรื่องนี้อีก แต่พอลองอ่านบันทึกที่มีอยู่แล้วนั้น ก็คิดว่าสิ่งที่ผมบันทึกนี้น่าจะมีประโยชน์เพิ่มขึ้น อีก 3 ประเด็น


ประเด็นแรกคือ อาการปวดหลังเป็นกันมากน้อยแค่ไหน
จากการสำรวจพนักงานธนาคาร 180 คน (หญิง 66%, อายุเฉลี่ย 35 ปี) ซึ่งทำคอมเฉลี่ยวันละ 5 ชม. พบมีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อถึง 91% โดยพบอาการปวดหลังถึง 83% 
[SMJ 2005; ปีที่ 20 ฉบับที่ 1]


ประเด็นที่สองคือ อาการปวดหลังรุนแรงแค่ไหน
โดยการคิดค่าคะแนนประกอบ

และประเด็นที่สามคือ การรักษาด้วยการประคบความร้อนทำได้อย่างไรบ้าง (โปรดติดตามตอนต่อไป) 


สำหรับการคิดคะแนนความรุนแรงของอาการปวดหลัง ทำได้โดยใช้แบบสอบถามออสเวสทรี ซึ่งมีทั้งหมด 10 คำถาม โดยในแต่คำถามจะมีตัวเลือกให้ 6 ตัว


 
คำแนะนำ กรุณาตอบคำถามในตัวเลือกที่ตรงกับตัวท่านมากที่สุด

ส่วนที่ 1 - ระดับความรุนแรงของอาการปวด
ก     ไม่ปวดเลย  
ข.        มีอาการปวดบ้างเล็กน้อย  
ค.       มีอาการปวดปานกลาง
ง.        มีอาการปวดค่อนข้างมาก
จ.        มีอาการปวดมาก
ฉ.        มีอาการปวดมากที่สุด
ส่วนที่ 2 - การดูแลตนเอง (เช่น การแต่งตัว, ซักรีด)
ก.        ทำได้เป็นปกติโดยที่ไม่ปวดเลย
ข.        ทำได้เป็นปกติ แต่มีอาการปวด
ค.       ทำได้อย่างช้าๆ และ ต้องระมัดระวัง เนื่องจากอาการปวด
ง.        ทำได้เป็นส่วนใหญ่ บางส่วนต้องมีผู้ช่วยทำงาน
จ.        ทำได้บ้างเพียงเล็กน้อย ที่เหลือต้องมีผู้ช่วยทำงาน
ฉ.        ทำไม่ได้เลย ต้องนอนอยู่กับเตียงตลอด
ส่วนที่ 3 - การยกของ
ก.        สามารถยกของหนักๆขึ้นจากพื้นได้ โดยที่ไม่ปวดเลย
ข.        ยกของหนักๆขึ้นจากพื้นได้ แต่มีอาการปวด
ค.       ปวดจนไม่สามารถยกของหนักๆขึ้นจากพื้นได้ แต่สามารถยกของชิ้นเดียวกันขึ้นจากโต๊ะได้
ง.        ปวดหลังมาก ยกได้เฉพาะของที่มีน้ำหนักไม่มากนัก
จ.        ยกได้เฉพาะของเบาๆ
ฉ.        ไม่สามารถยกได้เลย
ส่วนที่ 4 - การเดิน
ก.        เดินไกลๆได้
ข.        ปวดหลัง เดินได้ไม่เกิน 1 กิโลเมตร
ค.       ปวดหลัง เดินได้ไม่เกิน 1/2  กิโลเมตร
ง.        ปวดหลัง เดินได้ไม่เกิน 100  เมตร
จ.        ปวดหลัง เดินได้ต้องใช้ไม้ค้ำยัน หรือไม้เท้าช่วย
ฉ.        นอนอยู่กับเตียงตลอด ต้องคลานเข้าห้องน้ำ
ส่วนที่ 5 - การนั่ง
ก.        นั่งเก้าอี้นานๆได้
ข.        ต้องนั่งเก้าอี้เฉพาะแบบที่ชอบจึงจะนั่งนานๆได้
ค.       นั่งได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
ง.        นั่งได้ไม่เกิน 1/2 ชั่วโมง
จ.        นั่งได้ไม่เกิน 10 นาที
ฉ.        นั่งไม่ได้เลย
ส่วนที่ 6 - การยืน
ก.        ยืนนานๆได้ โดยไม่ปวด
ข.        มีอาการปวดหลังเวลายืนนานๆ
ค.       ปวดหลัง ยืนได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
ง.        ปวดหลัง ยืนได้ไม่เกิน 1/2 ชั่วโมง
จ.        ปวดหลัง ยืนได้ไม่เกิน 10 นาที
ฉ.        ปวดหลังจนยืนไม่ได้เลย
ส่วนที่ 7 - การนอน
ก.        นอนได้โดยไม่ปวด
ข.        นอนได้มีบางครั้งต้องตื่นเพราะอาการปวดหลัง
ค.       ปวดหลัง นอนได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
ง.        ปวดหลัง นอนได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
จ.        ปวดหลัง นอนได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง
ฉ.        ปวดหลัง นอนไม่ได้เลย
ส่วนที่ 8 - เพศสัมพันธ์
ก.        มีเพศสัมพันธ์ได้เป็นปกติ ไม่มีอาการปวดเลย
ข.        มีเพศสัมพันธ์ได้เป็นปกติ มีอาการปวดหลังบ้าง
ค.       มีเพศสัมพันธ์ได้เกือบปกติ แต่มีอาการปวดหลังตลอด
ง.        มีเพศสัมพันธ์ได้น้อย เนื่องจากอาการปวดหลัง
จ.        มีเพศสัมพันธ์แทบไม่ได้เลย เพราะมีอาการปวดหลังมาก
ฉ.        ปวดหลังจนไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลย
ส่วนที่ 9 การเข้าสังคม (พบปะ สังสรรค์)
ก.        เข้าสังคมได้เป็นปกติ ไม่มีอาการปวดเลย
ข.        เข้าสังคมได้เป็นปกติ มีอาการปวดหลังบ้าง
ค.       มีอาการปวดหลัง เข้าร่วมกิจกรรมเบาๆได้ ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ ได้ เช่น ไม่สามารถเล่นกีฬาได้
ง.        มีอาการปวดหลัง จนบางครั้งไม่สามารถไปร่วมกิจกรรมภายนอกบ้านได้
จ.        มีอาการปวดหลัง จนแทบจะไม่สามารถไปร่วมกิจกรรมภายนอกบ้านได้
ฉ.        มีอาการปวดหลังมาก จนทำกิจกรรมไม่ได้
ส่วนที่ 10 - การเดินทาง การท่องเที่ยว
ก.        เดินทางได้ โดยไม่ปวด
ข.        เดินทางได้ มีอาการปวดหลังบ้าง
ค.       ปวดหลัง แต่พอเดินทางได้ในราว 2 ชั่วโมง
ง.        ปวดหลัง จนเดินทางได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
จ.        ปวดหลัง จนเดินทางได้ไม่เกิน 1/2 ชั่วโมง
ฉ.        ปวดหลัง จนเดินทางไม่ได้เลย(จะยอมเดินทางก็เฉพาะเมื่อมารับการรักษา)

วิธีการคิดค่าคะแนน

ในแต่ละด้านจะมีค่าคะแนน จาก 0 ถึง 5 คะแนน (เรียงลำดับจาก ก=0 คะแนน, =1 คะแนน, =2 คะแนน, = 3 คะแนน, =4 คะแนน, =5 คะแนน)
คะแนนเต็มทุกหมวดรวมทั้งหมด 50 คะแนน
         
ให้นำคะแนนที่ได้ มาคำนวณเป็นร้อยละ
ตัวอย่าง เช่น คะแนนที่ได้ = 40 คะแนน คิดเป็นค่าดัชนี ได้ = 40 x 100 / 50 = 80%            
กรณีที่ตอบไม่ครบทุกข้อ เช่น เด็กไม่ได้ตอบข้อเพศสัมพันธ์ ก็ให้นำคะแนนที่ได้ มาคิดเป็นร้อยละจากคะแนนเต็มทั้งหมด 45 คะแนน ก็สามารถคิดค่าดัชนีได้เป็น 88.9% เป็นต้น
 
การแปลผล            
จากค่าดัชนีที่คำนวณได้สามารถจำแนกเป็นระดับความรุนแรง ได้ดังนี้
         
0-20 % ถือเป็นความรุนแรงของการปวดหลังในระดับเล็กน้อย
 
20-40 % ถือเป็นความรุนแรงของการปวดหลังในระดับปานกลาง
         
40-60 % ถือเป็นความรุนแรงของการปวดหลังในระดับมาก
60-80 % ถือเป็นความรุนแรงของการปวดหลังในระดับที่เรียกว่าทุพลภาพ         
80- 100 % ถือเป็นความรุนแรงของการปวดหลังในระดับพิการต้องนอน หรืออยู่กับเตียงตลอด
 

ผมลองคิดแล้ว ได้    22 % เริ่มเข้าข่ายระดับปานกลางแล้ว
ใครคิดได้เท่าไหร่ช่วยรายงานผลด้วยนะครับ แล้วจะนำเสนอเรื่องการประคบความร้อนในตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 66471เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

 คุณหมอคะ

  • ว้า..ยาวจัง  ขี้เกียจอ่าน 
  • ครูอ้อยไม่ปวดหลังค่ะ 
  • เรื่องปวดหลังเป็นเรื่องของคนแก่ค่ะ

ครูอ้อยครับ

  • ที่ยาวเป็นแบบสอบถาม ใครไม่ทำแบบสอบถามก็ผ่านไปได้เลย
  • เนื้อหามีเฉพาะส่วนบนเท่านั้น
  • ไม่แก่บ้างก็แล้วไป นะครับ
ทดลองดูแล้วค่ะได้4.45%ปวดเล็กน้อย..มีตัดข้อ8ไปข้อหนึ่งก็เลยทำให้มีคะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย..จะรอประคบร้อนอาจารย์อยู่นะคะ..อิอิ..
  • ต้องรอวันอังคารครับ เพราะยังถ่ายรูปไม่เสร็จ
  • ผมควรจะเอาแบบสอบถามไปเป็น pdf file ดีไม๊
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง 
  • ขออนุญาตแวะเข้ามาทำแบบสอบถามค่ะ
  • ค่าดัชนีที่คำนวณได้ของนู๋ทิม = 10% ค่ะ ยังไม่มีอาการปวดหลัง แต่จะเมื่อยๆบ้างถ้านั่งอยู่หน้าคอมฯนานๆค่ะ
  • จะรออ่านเรื่องเรื่องการประคบความร้อนของอาจารย์ ตอนต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณทั้งนู๋ทิม และ seangja
  • มีให้อ่านแน่นอน รับปากแล้ว  
  • ตกลงแบบสอบถามควรไว้แบบนี้เลยใช่ไม๊ครับ
  • อาจารย์หมอครับ ผมได้ 2% ครับ ไม่มีอาการปวดหลังครับ แต่ปวดบั้นเอวบางนิดหน่อย เป็นบางครั้งครับ

         มีประโยชน์มากเลยคะ แต่ตอนแรกยังไม่ทำแบบสอบถามนึกว่าตนเองปวดมาก  แต่ทำแบบสอบถามแล้วได้ 16% อยู่ในข่ายเล็กน้อย

ที่ตนเองทำอยู่คือหากอยู่ในบ้าน เมื่อปวดหลังจะนอนเหยียดอย่างน้อย ประมาณ 10 นาที และพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งให้ตัวตรง รู้สึกว่าจะลดอาการปวดได้มาก ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่คะ

  • ทำได้หลายวิธีครับ เลือกให้เหมาะกับสถานที่และเวลา
  • การเปลี่ยนท่าทางไม่ให้อยู่ท่าเดิมนานๆ หรือการยืดกล้ามเนื้อ และพักกล้ามเนื้อ จะช่วยได้ครับ
  • บันทึก"คนเขียนข่าว"" และของ Tingly ได้แนะนำการยืดเส้นไว้แล้วครับ

ขอบคุณครับ มีประโยชน์มาก ผมใช้แบบสอบถามนี้ให้เพื่อนพนักงานลองทำเพื่อคิดค่าคะแนนเพื่อนำไปแปลผลหาระดับความรุนแรง เพื่อทำโครงการประเมินความเสี่ยง มอก.80001 ของบุคลกรในหน่วยงาน

ผมได้ 18 คะแนนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท