Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะทางกฎหมายและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย : งานที่ต้องรับทำอย่างเต็มใจ แม้ขัดอุดมการณ์


และแล้ว อ.แหวว ก็ต้องเดินทางเข้าสภาไปทำหน้าที่เดิมๆ อีกครั้ง อีกงานที่เข้ามาในชีวิตในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่อยากจะเคลียร์งานที่ค้างๆ จนไม่อยากจะเปิดรับงานใดๆ ใหม่อีกเลย แต่สำหรับงานนี้ ใจบอกว่า "ปฏิเสธ" ไม่ได้ ทั้งนี้ โดยหลักการ ไม่น่าจะไปยุ่ง เราที่ มธ. หลายคนปฏิเสธที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผลิตผลของการปฏิวัติโดยไม่จำเป็น แต่เมื่อนึกถึงสีหน้าของใครหลายคนที่ยังไร้รัฐไร้สัญชาติ อ.แหววก็ตัดความรู้สึกที่เป็นของตัวเองทิ้งไป สิ่งที่น่าจะสำคัญที่สุดนั้น ก็น่าจะเป็น “สุขภาวะ” ของมนุษย์ มากกว่า “อุดมการณ์” ที่กินไม่ได้ และเป็นสุขของเราคนเดียว

            เรื่องของเรื่อง ก็เริ่มจากคุณเตือนใจ ดีเทศน์ ซึ่งใช้ชีวิตทั้งชีวิตเดินทางตามฝันที่จะสร้างสุขให้แก่ ชาวเขา คุณเตือนใจหรือพี่แดงของอาจารย์แหวว โทรศัพท์มาบอกว่า ต้องช่วยกันอีกครั้ง พี่แดงเล่าว่า เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ พี่แดงได้ทำญัตติเรื่อง "ขอเสนอญัตติเรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะทางกฎหมายและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย" ถึง ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ            

             โดยญัตติได้แสดงเหตุผลว่า ด้วยประชาชนที่อาศัยอยู่เขตชายแดนของประเทศในภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน ประสบปัยหาการไม่ได้รับการรับรองให้มีสถานะทางกฎหมายที่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิและทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองได้ เช่น สิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งสิทธิการทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองไทย เช่น หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้ง หน้าที่ในการรับราชการทหาร เป็นต้น จากเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะทางกฎหมายและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย เพื่อนำไปสู่ความเป็นธรรมและความผาสุกของทุกคนในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ         

            ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๖/๒๕๔๙ วันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ได้พิจารณาญัตติเรื่องขอให้ตั้ง "คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะทางกฎหมายและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย" แล้วมีมติตั้ง"คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะทางกฎหมายและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย" ตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๙  ข้อ ๓๕ และข้อ ๘๐ วรรคสาม ประกอบด้วย (๑) นายไกรราศ แก้วดี (๒) นางเตือนใจ ดีเทศน์ (๓) นางนฤมล อรุโณทัย (๔) พลเอกปฐมพงษ์ เกสรศุกร์ (๕) นายประหยัดศักดิ์ บัวงาม (๖) นางพันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร (๗) นางมุกดา อินต๊ะสาร (๘) นางยินดี ห้วยหงส์ทอง (๙) นายวันชัย ศิริชนะ (๑๐) นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (๑๑.) นายวีระวัฒน์ ตันปิชาติ (๑๒) นายแวดือราแม มะมิงจิ (๑๓.) นายสมชาย แสวงการ (๑๔.) นายสุรพงษ์ กองจันทึก และ (๑๕) นายสุริชัย หวันแก้ว โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติงาน ๙๐ วัน นับแต่วันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติ  

          และแล้ว อ.แหวว ก็ต้องเดินทางเข้าสภาไปทำหน้าที่เดิมๆ อีกครั้ง อีกงานที่เข้ามาในชีวิตในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่อยากจะเคลียร์งานที่ค้างๆ จนไม่อยากจะเปิดรับงานใดๆ ใหม่อีกเลย  แต่สำหรับงานนี้ ใจบอกว่า "ปฏิเสธ" ไม่ได้ ทั้งนี้ โดยหลักการ ไม่น่าจะไปยุ่ง เราที่ มธ. หลายคนปฏิเสธที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผลิตผลของการปฏิวัติโดยไม่จำเป็น แต่เมื่อนึกถึงสีหน้าของใครหลายคนที่ยังไร้รัฐไร้สัญชาติ อ.แหววก็ตัดความรู้สึกที่เป็นของตัวเองทิ้งไป

         สิ่งที่น่าจะสำคัญที่สุดนั้น ก็น่าจะเป็น สุขภาวะ ของมนุษย์ มากกว่า อุดมการณ์ ที่กินไม่ได้ และเป็นสุขของเราคนเดียว

           พร้อมแล้วค่ะพี่แดง เจอกันที่ สนช.

----------------------------------------------------

คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะทางกฎหมายและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย : งานที่ต้องรับทำอย่างเต็มใจ แม้ขัดอุดมการณ์

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

หมายเลขบันทึก: 66423เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เราเริ่มเดินทางกันต่ออีกแล้วใช่ไหมครับ  อ.แห๋วว

สู้ๆๆนะครับ แรงกายแรงใจยังเต็มร้อยอยู่นะครับ

อยากบอกอาจารย์ตั้งแต่ที่เจอหน้ากันแล้วหล่ะคะ อาจารย์หน้าใสมาก ๆ เป็นกำลังใจให้อาจารย์เขียนงานต่อไปนะคะ

การปฎิวัติน่ารังเกียจหรือ?

การปฎิบัติน่ารังเกียจหรือ? แล้วกรุงรัตนโกสินทร์มากจากกิจกรรมใด?ถ้าไม่ใช่ปฎิวัติพระเจ้าตากสิน

ระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระหมากษัตริย์เป็นประมุข มาจากไหน?ถ้าไม่ใช่การปฎิวัติ พส.๒๔๗๕

 

ประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดมาจากไหน? ถ้าไม่ใช่การปฎิวัติรัฐบาลสหราชอาณาจักร?

ท่านปรีดีของชาวธรรมศาตร์ รัฐบุรุษของไทย เป็นผลผลิตของอะไร?

การปฎิวัติ การเลือกตั้ง การปฎิรูป  การเปลี่ยนแปลงแบบคานธี หรือวิธีการใดใดก็แล้วแต่ ล้วนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ไม่ใช่เรื่องที่ฉัน/ท่านชอบหรอืไม่ชอบ ทั้งหมดล้วนเป้นไปตามเหตุปัจจัย ใช่หรือไม่? 

 

 

อย่างไรเสีย ข้าพเจ้าก็ไม่ชอบการปฏิวัติ และไม่อยากข้องเกี่ยวค่ะ ถ้าไม่จำเป็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท