บันทึกครั้งที่ ๖ ขอแสดงความคิดเห็นบางประการ


1. ความเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ...

ผมขออนุญาตแสดงความเห็นส่วนตัวในบางมาตรา  ดังนี้

-ในมาตรา ๕ ระวางโทษของผู้ที่เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการเข้าถึงโดยเฉพาะและมิได้มีไว้สำหรับตนนั้น กำหนดไว้เพียง จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับนั้น  ผมว่าน้อยเกินไปมาก จะทำให้คนที่คิดไม่ดี พร้อมจะกลับมาทำอีกเพราะโทษไม่รุนแรงหรือน่ากลัว  คล้ายกับเรื่องหวยใต้ดินที่ระวางโทษไว้ต่ำ ซึ่งทำให้ผู้เป็นเจ้ามือและผู้เล่นไม่เกรงกลัว  แต่เมื่ออ่านต่อไปในมาตรา ๗ พบว่าข้อความซ้ำกัน จึงสงสัยว่าอาจได้รับไฟล์ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะได้ระวางโทษที่มากขึ้นแล้ว-โดยรวมการระวางโทษผู้กระทำความผิดนั้น อยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้วครับ-การปรับปรุงในบางมาตราจากร่างเดิม มีความรอบคอบชัดเจนมากขึ้น เช่น  มาตรา ๗ เดิม ซึ่งเป็นมาตราที่ ๘ ในฉบับที่แก้ไขและนำมาใช้ ได้เพิ่มเติมข้อความในกรณีการดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งของเจ้าของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ว่าไม่นำมาใช้บังคับในการระวางโทษ เป็นต้น

-ในมาตรา ๑๘ ทำให้มั่นใจขึ้นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่อย่างถูกต้องบริสุทธิ์ยุติธรรมไม่เกินขอบเขต โดยข้อความที่สำคัญที่กล่าวถึงคือ ว่าต้องบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการ แล้วรายงานต่อศาล จะมีโทษหรือไม่ เพราะไม่มีระบุ หรือสามารถใช้กฎหมายอื่นประกอบ  และยังมีการควบคุมการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ในมาตราอื่นด้วย เช่น มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ... ซึ่งได้มีการระวางโทษไว้ด้วย, หรือในมาตรา ๒๑ นักงานเจ้าหน้าที่กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ...ต้องระวางโทษด้วยเช่นกัน  เป็นต้น

2. ใช้หลักกฎหมายมาตราอะไรบ้างในการฟ้องต่อศาลปกครอง เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง โดยนายศาสตราโตอ่อน     ผมขอกล่าวเฉพาะในส่วนมาตรา ๔๒ เท่านั้น เนื่องจากเพื่อนคนอื่นจะกล่าวในส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป

มาตรา ๔๒  ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. ๒๕๔๒ อยู่ในหมวด ๔ วิธีพิจารณาคดีปกครอง  ส่วนที่ ๑ การฟ้องคดีปกครอง กล่าวไว้ว่าผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือนร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด

ความเห็นการใช้หลักกฎหมาย

ผู้ฟ้องคดี เป็นผู้ที่อาจจะได้รับความเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการละเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดี อันได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กระทรวงคมนาคม, และสำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรีจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี โดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งหมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

หมายเลขบันทึก: 66415เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่มีวรรคตอนเลยค่ะ เรียนรู้ด่วน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท