สร้างสุขในสถานประกอบการ...Happy WorkPlace


ร่วมกันสร้างเสริมสุขภาวะในที่ทำงาน เพราะ "คน" คือปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์กร เพราะคนเป็นสุดยอดของทรัพย์สินที่ทรงคุณค่า
 
            มีข่าวดีมาเล่าสู่กันฟังว่า ... สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ร่วมมือกันจัดงาน เวทีนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะ  ในสถานประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2549  นี้ ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. ณ ห้องโมเน่ โรงแรมโนโวเทล (สยามสแควร์) กทม.   สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อ
·         เพื่อสร้างเวทีตัวอย่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของการสร้างเสริมสุขภาวะในสถานประกอบการ สำหรับให้สถานประกอบการในโครงการฯ  แกนนำนำไปจัดเวทีแลกเปลี่ยนได้เองต่อไป
·         เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะในสถานประกอบการอุตสาหกรรม แล้วสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้กับในสถานประกอบการของตนได้
·         เพื่อผลักดันให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP- Community of Practice) และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะแบบหลวมๆ แต่ขับเคลื่อนไปได้สำหรับพัฒนาการกระจายการสร้างเสริมสุขภาวะให้ทั่วถึงทั้งภายในและภายนอกพื้นที่
·         เพื่อผลักดันให้เกิดงานมหกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะในสถานประกอบการ ที่นำ Best practice มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ในทุกปี
และกลุ่มเป้าหมายในเวทีครั้งนี้คือ สถานประกอบการอุตสาหกรรม 11 แห่ง ที่ สสส. และ สคส. คัดเลือก  ....เราให้ผู้จัดการแผนงานแต่ละโปรแกรมนำตัวชี้วัด (Core Competence) ไปพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการอุตสาหกรรมที่มีตัวอย่างที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาวะ (Best practice) ในแผนงานของตน  โปรแกรมละ 3 แห่ง  โดย  
  •  สสส. ทำการคัดเลือก สถานประกอบการอุตสาหกรรม  9 แห่ง (3 แห่ง/โปรแกรม) จาก 3 โปรแกรมเด่น คือ

        1.  แผนงานพัฒนาจังหวัดนำร่องการสร้างเสริมสุขภาวะในสถานประกอบการอุตสาหกรรม                     ผู้จัดการแผนงาน คือ ศ. นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล

        2. โครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงาน จังหวัด ชลบุรี                                                           ผู้จัดการแผนงาน คือ นพ. ชาญวิทย์  วสันต์ธนารัตน์

        3.    โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการ (Quality of Work Life-QWL)             ผู้จัดการแผนงาน คือ คุณวิสุทธิ์ จิราธิยุทธ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  •    สคส. ทำการคัดเลือกจากสถานประกอบการอุตสาหกรรมนอกโปรแกรมของ สสส. 2 แห่ง  
            ดังนั้นจะมีผู้เข้าร่วม workshop จำนวน  22 คน  (สถานประกอบการ 11 แห่ง X 2 คน) ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจของแต่ละสถานประกอบการ 1 ท่านและ ผู้ปฏิบัติ 1 ท่าน  
           และเพื่อให้ผู้เข้าร่วม workshop ครั้งนี้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของมากขึ้น เราได้ออกแบบงานครั้งนี้ด้วยการให้แต่ละบริษัทที่ถูกคัดเลือกได้เขียนเล่าเรื่องว่าบริษัทของตนมีการสร้างเสริมสุขภาวะดีเด่นด้านไหน อย่างไร  ตามตัวชี้วัดที่ทีมงานทั้ง สสส. และ สคส. ร่วมกันกำหนด    โดย  ตัวชี้วัด (Core Competence)  5 ตัว  คือ
1. ความเป็นผู้นำ (Leadership) : ความสามารถในกำหนดทิศทาง วางแผนและกระตุ้นให้ผู้คนทำงานอย่างมีความสุขได้สำเร็จ 
 2. นโยบาย (Policy) : แนวทางตลอดจนวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้มีการดูแลคนงานให้มีการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพอย่างบรรลุผลสำเร็จ 
 3. แกนนำ (Core Group) : กลุ่มที่ทำงานและเป็นผู้ชักนำให้คนส่วนใหญ่ในองค์กรมีพฤติกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสม
4. สภาวะแวดล้อม (Environment) : สิ่งที่อยู่รอบคนทำงานอันได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อันได้แก่  อาคารสถานที่ ห้องน้ำ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน อากาศ แสง สี เสียงที่อยู่รอบคนทำงานในขณะปฏิบัติงาน ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางสังคมอันได้แก่ บุคคลใกล้ชิด และผู้ร่วมงานที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ อุบัติเหตุและโรคในอนาคต
5. เห็นการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคน (Change Relationship) 
      สรุปรายชื่อสถานประกอบการที่เข้าร่วมเวทีครั้งนี้มีดังต่อไปนี้
1.     บริษัท แอล พี เอ็น เพลทมิล จำกัด (มหาชน)
2.     บริษัท ซันฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
3.     บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด
4.      กลุ่มบริษัทสมบูรณ์
5.      บริษัท ราชาเซรามิค จำกัด
6.      บริษัท เอเชียพรีซิชั่น จำกัด
7.      บริษัท ไลอ้อน ประเทศไทย (กลุ่มสหพัฒน์)
8.      บริษัท สยามเดนโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย
9.      บริษัท ยูเนียน เทคโนโลยี จำกัด (กลุ่มสหยูเนียน)
10.   บริษัท NOK PRECISION COMPONENT (THAILAND)
11.    บริษัท SPANSION (THAILAND)

          จากการที่แต่ละบริษัทได้เขียนเล่าเรื่องส่งมาให้ทางทีมงานเพื่อประมวลข้อมูลดำเนินการจัดเวทีครั้งนี้ และเราเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมีประโยชน์อย่างมาก ไม่เพียงแต่ในสถานประกอบการเท่านั้น ยังมีประโยชน์ต่อสังคมที่จะได้รับรู้และสามารถนำไปปรับใช้ในบริบทของตน...จึงขอนำบทความทั้ง 11 บริษัทที่ส่งมาให้นำมาเผยแพร่ลงในบล็อกเป็นตอนๆ นะคะ โดยจะให้ชื่อหัวข้อว่า Happy WorkPlace (เรียงลำดับของแต่ละบริษัท) ....

โปรดติดตามตอนต่อไป 

หมายเลขบันทึก: 66384เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท