วิธีสร้างกราฟความสุขของครูอ้อยจากบันทึกใน blog


อาจจะเป็นเพียงตัวชี้วัดหนึ่ง ที่พอจะใช้บอกแนวโน้มได้

1) ทำได้เหรอ?
2) รู้จักครูอ้อยดีแค่ไหน?
3) ไปทำเค้าทุกข์ ยังจะมาสร้างกราฟความสุขให้เค้าอีก?
4) เข้าไปถึงหัวใจครูอ้อยแล้วหรือ?

หลากหลายคำถาม งั้นตอบเลย
1) ทำได้ครับ
2) รู้จักเท่าที่รู้จากบันทึก
3) แง้มใจ......ครูอ้อย
4) ไม่ต้องเข้าถึงหัวใจก็ทำได้

กราฟ เป็นสิ่งที่แสดงแนวโน้ม  ใช้ตัวเลข เป็นข้อมูลสร้างกราฟ
นายบอนจะเอาตัวเลขจากบันทึกของครูอ้อย
บันทึกครูอ้อย  คือ  ผลงานที่ถ่ายทอดความสุข เรื่องราวต่างๆในชีวิต ที่ครูอ้อย อยากเล่า อยากแบ่งปัน
ยิ่งสุขมาก ก็บันทึก บ๊อย บ่อย

ถึง 12 blog

ดังนั้น วิธีสร้างกราฟความสุข
ก็เอา ข้อมูล จำนวนบันทึกใน 12 blog มาสร้าง

แยกรายเดือน รวบรวมจำนวนบันทึกและจำนวนวันที่เขียนบันทึกในแต่ละเดือน...
แล้ว plot graph
ก็เรียบร้อย

รูปนี้ มาจาก gotoknow trend ; กราฟแสดงแนวโน้มการเขียนบันทึกในแต่ละเดือนของ 7 ผู้ได้รับรางวัลสุดคะนึง เดือน เม.ย – ต.ค.2549



เส้นกราฟขึ้นๆลงๆ ในแต่ละช่วงเวลา แสดงถึงแนวโน้มความสุขของครูอ้อย

นี่อาจจะเป็นเพียงตัวชี้วัดหนึ่ง ที่พอจะใช้บอกแนวโน้มได้.....
.....อย่างน้อย บันทึกของครูอ้อย ก็เกี่ยวก้อยความสุขอันเนื่องมาจาก มิตรภาพ + ความรัก จากกัลยาณมิตร,ลูกสาว,ครอบครัว, ญาติโยม ฯลฯ

นอกจากข้อมูลตัวเลขแล้ว  จำนวนผู้เข้าชมในแต่ละบล็อกที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ก็เป็นสิ่งที่บอกแนวโน้มของความสุขจากผู้ที่เข้ามาอ่านบันทึกของครูอ้อยว่า ต้องการความสุขอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพียงใด

อ๊ะ มาดูสถิติจาก 12 บล็อกของครูอ้อย จาก 23 พ.ย.2549 จนถึงวันนี้ 10  ธ.ค.2549

1) เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา = 712
http://gotoknow.org/blog/skuikratoke
2) ครูสิริพรกับบันทึก  = 513
http://gotoknow.org/blog/ooydiary
3)ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาเรียนปริญญาเอก = 211
http://gotoknow.org/blog/siripornphd
4) ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาจัดการความรู้ = 187
http://gotoknow.org/blog/englishteacherKM
5)ครูเรียนรู้ภาษาอังกฤษกับสุขภาพ = 111
http://gotoknow.org/blog/teacherhealthy
6)ครูเรียนรู้ภาษาอังกฤษกับการทัศนศึกษา = 60
http://gotoknow.org/blog/goaround1
7)ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาอ่านมากรู้มาก = 57
http://gotoknow.org/blog/engreader
8)งานของครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษานอกเหนือจากการสอน = 53
http://gotoknow.org/blog/engteacher
9)โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) = 42
http://gotoknow.org/blog/prayapraserts
10)ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษากับงานวิจัย = 41
http://gotoknow.org/blog/researchteacher
11)ครูอ้อยกับคอมพิวเตอร์ = 34
http://gotoknow.org/blog/compteacher
12)ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาประชุม อบรม สัมมนา = 25
http://gotoknow.org/blog/seminar



•    * เอ๊ะ.. วันนี้ สังเกตเห็นบล็อกของครูอ้อย เข้าดูได้ 11 บล็อก อีก 1 บล็อก คือ ครูสิริพรกับบันทึก อาจจะปิดชั่วคราว หรือลบทิ้ง

•    อ้าว......!!!!!!!!!! อีก 1 บล็อกนั้น คือ เรื่องราวของชีวิตความทรงจำอันงดงามของครูอ้อยที่บรรจงเรียงร้อย ถ่ายทอด แบ่งปันให้ผู้อื่นด้วยความรู้สึกที่ดีนี่นา

เมื่อเวลาผ่านไป เรื่องใหม่ก็จะมาแทนที่เรื่องเก่าๆ
ไอ้ที่คิดว่า เรื่องใหญ่ บางทีก็คิดอยู่คนเดียว..

ท่าทางจะหวงความสุขเสียแล้ว

ถ้าปิดชั่วคราว หรือลบบล็อก 1 บล็อกทิ้งไป เลยไม่ได้สร้างกราฟความสุขของครูอ้อยให้คนอื่นเห็นกันเลย..

วิธีการสร้างกราฟความสุขจาก blog ไม่ยากเลย  แล้ว bloggger ท่านอื่น จะไม่ลองสร้าง graph ความสุขของท่านเองบ้างหรือ






หมายเลขบันทึก: 66363เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ชอบจังค่ะ

คุณบอนคะ

เขียนไม่ออกค่ะ  ขอเวลาสักพักค่ะ

ขอบคุณจริงๆ

ให้เวลาครูอ้อยหน่อยนะคะ

ช่วงนี้ครูอ้อยเรียนหนัก

กำลังจัดสรรทั้งงานประจำและการเรียนด้วย

อ้าว.......อยู่บ้านเดียวกะครูอ้อยเหรอ รู้ได้ไง

สงสัยครูอ้อยคงจะมึน เพราะโผล่มาทีเดียว เจอพาดพิงไปหลายบันทึก 5555
ว้าว3...ทำครูอ้อย งง เง็ง ไปนาน
สนุกกับการอ่านย้อนรำลึกในเช้าวันปีใหม่แบบยกชุดเลยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท