ธรรมะเพื่อพัฒนาชีวิต: ต้องออกไปนอกโลกจึงจะมองเห็นโลก


ผมมาเริ่มรู้จักบ้านผมเองตอนไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เพราะได้มีข้อเปรียบเทียบที่ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงความต่างที่มากกว่าความเหมือน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษา วิธีคิด การดำรงชีวิต การติดต่อสื่อสาร จนกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน เรือนเคียง ทำให้ผมรู้ว่าคนกรุงเทพเขามีระบบสังคมที่กว้างกว่าบ้านนอก และไม่จำเป็นต้องรู้จักเพื่อนบ้านติดกันก็อยู่ได้ ที่ถ้าเป็นบ้านอกจะอยู่ไม่ได้

ทุกท่านที่เป็นพุทธศาสนิกชนคงทราบดีว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น ท่านได้ทรงสละราชสมบัติ เพื่อเสด็จออกนอก โลก ท่านจึงได้เรียนรู้ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับ โลก  

ตอนสมัยผมเรียนตอนเด็กๆ ก็ได้แต่ จำ และ ท่อง จนจำได้ แต่ไม่ค่อยคิดอะไรมาก และมีครูที่สอนบางคนก็พยายามควบคุมไม่ให้ผมคิดอีกต่างหาก ซึ่งทำให้ผมปฏิเสธการเรียนในบางวิชาที่ต้องเรียน 

สมัยผมเรียนอยู่โรงเรียนวัดกุดปลาเข็ง ที่โคราช ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจบ้านผมสักเท่าไหร่ ผมมาเริ่มรู้จักบ้านผมเองตอนไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ (อยู่วัดอีกนั่นแหละ) เพราะได้มีข้อเปรียบเทียบที่ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงความต่างที่มากกว่าความเหมือน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษา วิธีคิด การดำรงชีวิต การติดต่อสื่อสาร จนกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน เรือนเคียง ทำให้ผมรู้ว่าคนกรุงเทพเขามีระบบสังคมที่กว้างกว่าบ้านนอก และไม่จำเป็นต้องรู้จักเพื่อนบ้านติดกันก็อยู่ได้ ที่ถ้าเป็นบ้านนอกจะอยู่ไม่ได้ 

พอผมมีโอกาสไปต่างประเทศ ผมก็เริ่มเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น ถึงข้อเด่นและด้อยของเมืองไทย เช่นเพื่อนฝรั่งถามด้วยความสงสัยว่าทำไมทหารไทยจึงชอบปฏิวัติ ถ้าอยากเป็นรัฐบาลทำไมไม่ลงเลือกตั้ง ทำให้ผมต้องคbดเปรียบเทียบสถานการณ์ของไทยกับของเขา แล้วทำไมทหารเขาไม่ปฏิวัติบ้าง ก็เห็นบ่นว่านักการเมืองไม่ดีเหมือนกันเลย 

เมื่อนักอวกาศเดินทางออกนอกโลกแล้วถ่ายรูปโลกมาแจกให้ดูกัน จึงทำให้เรารู้จักโลกของเราเองมากขึ้น ทั้งหมดนี่แสดงว่า ถ้าเราอยากจะเข้าใจสิ่งใด เราต้องออกไปไกลจากสิ่งนั้น แล้วค่อยมองย้อนกลับมาดู จึงจะเข้าใจได้ดีกว่าเดิม 

การที่จะเข้าใจได้ดีกว่าเดิมนั้นยังจำเป็นต้องพินิจพิเคราะห์ย้อนกลับมาดูรายละเอียดที่เรามีอยู่แล้ว ด้วยการมองระยะไกลนั่นแหละ สร้างข้อเปรียบเทียบให้เห็นสาระสำคัญ แบบใจเป็นกลาง จึงจะทำให้เราสามารถฝ่าด่านความไม่รู้ที่เป็นเมฆหมอกหุ้มห่อความรู้อยู่ จนทำให้เรารู้ในเรื่องนั้นๆได้ละเอียดลออ มากพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆได้จริง 

เมื่อผมรู้ความจริงข้อนี้แล้ว ผมก็กลับมาพิจารณาถึงปัญหาการพัฒนางานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ที่ไม่ค่อยก้าวหน้า ประเด็นน่าจะอยู่ที่การที่นักศึกษาติดกับอยู่กับโลกของตัวเองมากเกินไป จนไม่สามารถคิดเรื่องอื่นต่อไปได้ ดังนั้น การที่ไปหวังให้ผู้ที่ยังไม่ออกนอกบ้านทางความคิด ให้คิดเรื่องงานที่ตนต้องหาทางออกจึงค่อนข้างยาก 

ข้อเสนอแนะที่สำคัญก็คือควรออกนอกโลกของตัวเองและสิ่งที่กำลังทำอยู่เสียบ้าง อาจทำโดยการไปพักผ่อนหย่อนใจ หรือการทำสมาธิ อนาปนสติ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจตัวเอง และงานที่ตนทำอยู่ ได้ดีกว่าเดิม จะเรียกว่าถอยมาตั้งหลัก ก็ว่าได้ 

จึงหวังว่าแนวทางนี้จะทำให้ทุกท่านมีโอกาสในการพัฒนางานของตนเองได้มากขึ้นโดยการออกไปนอก โลกเสียบ้าง จะได้เห็นโลกของตนเองอย่างชัดเจนมากขึ้น และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ขอให้โชคดีนะครับ  

หมายเลขบันทึก: 66297เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 03:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

มีนักปราชญ์ของไทยท่านหนึ่ง ท่านบอกว่านักบินอวกาศเดินทางออกไปยังนอกโลก และมองลงยังโลก เกิดความสงบ เยือกเย็นในใจ

และเป็นกรณีเดียวกับ พระพุทธเจ้า ที่ตรัสรู้จากการเดินออกไปจากโลกหนึ่ง ก้าวสู่อีกโลกและพิจารณา ชีวิต ที่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  พลันเบื่อหน่าย และนึกถึงพระนิพพานเป็นที่สุด

น่าจะเป็นการมองสิ่งหนึ่งในทุกมิติ ออกมาจากโลกเดิมของตนเอง กล้าที่คิดใหม่ ใจใหญ่ มองเห็นภาพรวมของสิ่งหนึ่งได้รอบด้านทุกมิติ

สำหรับตัวผมเองคงเป็นการกระโดดเตะกะลาที่ครอบอยู่บนหัวตัวเอง เมื่อก่อนกบน้อยที่ชอบพองตัวคับกะลา มองเห็นรูน้อยๆของกะลาก็คิดว่าเป็นดวงอาทิตย์ที่ยิ่งใหญ่...และที่สำคัญ ข้าก็ใหญ่

วันหนึ่งโชคดี กะลาที่ครอบหัวกระเด็นออก....เห็นดวงอาทิตย์ดวงใหม่ที่ใหญ่กว่า เอ...ที่คิดว่ามีดวงเดียวที่เห็นอยู่ในกะลาคงไม่ใช่แล้ว

วันนี้เห็นดวงอาทิตย์จริงๆแล้ว...ยังคิดอยู่ว่า จะมีอีกมั้ย...ดวงอาทิตย์ที่ไม่ใช่ดวงนี้

เริ่มเรียนรู้ พัฒนาตนเอง ให้สู่สมดุลย์ของชีวิต มองทุกอย่างที่เข้ามาเป็นการเรียนรู้ ตามวิถีของแต่ละสรรพสิ่ง ที่เป็นแบบนั้นเอง

มีความสุขของโลกของการเรียนรู้ ท่ามกลางผู้คนที่หลากหลาย........

จากวันนี้...ยังคงอีกยาวไกลนัก

    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับ ..
 การออกไปนอก โลกเสียบ้าง จะได้เห็นโลกของตนเองอย่างชัดเจนมากขึ้น
   โดยเพาะอย่างยิ่ง การออกไปจากโลกแห่งความเห็นแก่ตัว การศึกษา การทำวิจัย หรือการปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ที่ทำด้วยความ "ลืมตัว" จะมีคุณค่า และมีพลังมากเสมอ ใครไม่เชื่อก็ให้ค่อยๆลองทำดู แล้วจะรู้ว่า จริง

คุณพินิจ คุณจตุพร

ขอบคุณครับที่มาแลกเปลี่ยน

นี่คือสุดยอดของblogger

การมองตัวเองอย่างไรก็ไม่มีทางเห็น

อย่างน้อยต้องมีกระจกเงาครับ

แกระจกเงาก็ยังกลับทาง บางทีก็บิด และมองได้เฉพาะด้านหน้า จะมองด้านหลังก็ต้องซ้อนกระจกทำใด้ยากขึ้น

จึงต้องถอดใจตัวเอง หันกลับมามองตนเองอย่างอยากรู้จักตนเอง ไมใช่มองแบบหลงตัวเอง จึงจะมีประโยชน์ครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

บางครั้งมันตกอยู่ช่วงวังวน เดินไปไม่ถูกจริงๆ ครับไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนครั้นจะเดินหน้าก็กลัวสดุดตอ ครั้นจะถอยหลังก็กลัวเหยียบหนาม หรือแม้จะเลี้ยวซ้าย หรือ เลี้ยวขวาก็กลัวหลงทาง สุดท้ายก็เลยอยู่ในอ่างเช่นเดิมครับ

และต้องขอขอบคุณอาจารย์อีกครั้งครับ ที่กรุณาชี้ทางสว่าง หากเป็นเช่นนั้นผมจะลองกระโดดข้ามไปเลยนะครับ และถ้าหากขาแพลงอาจารย์ช่วยดูด้วยนะครับ

ด้วยความเคารพ

ออกนอกโลกของตนเอง กับโดดข้ามคนละอย่าง

แต่ก็ลองดู ผมอาจไม่เข้าใจความหมายของคุณก็ได้

      ขอบคุณค่ะที่ชี้ทางสว่าง ก็กำลังพยายามอยู่นะคะ ไม่ได้กลัวหนาม หรือตอ แต่กลัวหาว่าเป็นชลอ...... มากกว่าค่ะ อาจารย์อย่าพึ่งเหนื่อยใจกับวังวนความมืดมนของพวกเรากันนะคะ

คารวะท่านอาจารย์

ไร้นามได้อ่านบันทึกประเทืองปัญญาแต่เช้า ทำให้สารความสุขเพิ่ม และจะกลับไปปรับวิถีคิด วิถีทำ

สาธุ สาธุ สาธุ

จากบันทึกของอาจารย์ทำให้เกิดความคิดตอนนี้ว่า.....โลกของคนๆหนึ่งกว้างและลึกไม่เท่ากัน การออกนอกโลกของแต่ละคนเลยอาจมีจุดเริ่มที่ต่างกันแต่ตรงกันที่หลักการ ดังนั้นตำแหน่งที่นอกโลกของคนสองคนก็มีโอกาสเป็นตำแหน่งเดียวกันได้...... อย่างนั้นใช่ไหมขอรับ ...หากเป็นเช่นนั้นแล้ว....ในแง่ของการเรียนรู้ บุคคลจึงอาจเรียนรู้และมองเห็นสิ่งเดียวกันได้ ในสภาวะนอกโลกหรือในโลกก็ตามหากจุดตัดมาบรรจบ...เป็นไปได้ไหมขอรับ...หรือจำเป็นว่า ทุกคนออกไปนอกโลกก่อนจึงจะเจอกันเข้าใจเรื่องเดียวกันได้...ไร้นามขอความกรุณาอาจารย์สละเวลาอธิบายไร้นามด้วย จะขอบพระคุณยิ่ง

 

ออกนอกโลกตัวเองทำยากมากเลยครับ เหมือนกับว่ามันยึดติดอยู่กับสิ่งที่ตัวเองคิด ตัวเองเชื่อ จะพยายามลองทำสมาธิดู (แต่ทำก็ไม่ค่อยได้ครับ คิดนู้นคิดนี่อยู่เรื่อย)

คุณไร้นาม

โลกทุกคนไม่เท่ากันแน่นอน และทางออกจากโลกที่สะดวกของแต่ละคนก็ยากง่ายต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดโลก และกำลังของแต่ละคนที่จะถีบตัวเองออกจากโลก

เช่น สมัยที่ผมติดสารเพติด เช่น น้ำชา กาแฟ บุหรี่ น้ำตาล ผงชูรส สารปรุงแต่งรสชาติอาหาร น้ำอัดลมเจือสึเจือกลิ่น ฯลฯ ผมมองสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดา

แต่พอผมออกมานอกโลกของสารเสพติด แล้วมองกลับไปดู จึงเห็นความไม่ธรรมดา ไม่ถูกต้องของสารเสพติดเหล่านั้น

ทีนี้ ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมาก ไม่คิดแม้แต่จะออกจากโลกที่เป็นพิษภัยเหล่านั้น มาดูว่าคุ้ม ไม่คุ้ม ที่กำลังทำอยู่

เมื่อไม่ออก ก็เลยไม่มีโอกาสได้รู้ ว่านอกโลกมันเป็นอย่างไร ไม่มีไม่รู้ทางเลือก ทางออกของชีวิตตนเองครับ

นี่แหละครับ ที่ผมบอกว่าถ้าเราไม่ออกนอกโลกจะไม่รู้จักตัวเอง และพัฒนาชีวิตไม่ได้

สงสัยถามมาใหม่นะครับ

ตอบคุณโสภณ

การออกนอกโลกจะยากมากถ้าเรายังมีน้ำหนักมากอยู่ และกำลังหาน้อน ยิ่งหนักมากยิ่งออกยาก

เรียกว่า

แบกไม่ไหว วางไม่เป็น ลำเค็ญไปทั้งชาติครับ

แบกไหว วางไม่เป็น ยังไงก็ต้องเมื่อยบ้างละครับ

แบกไหว วางเป็น ดีที่สุดครับ

แบกไม่ไหว วางเป็น ก็รอดตัวอยู่ครับ

ทั้งๆที่น้ำหนักเป็นเรื่องสมมติ เราก็ติดใจไม่ยอมวาง ยิ่งแบกมากก็หนักมาก แล้วก็บ่นว่าเดินไม่ไหว

 ถ้าวาง (ไม่ใช่ทิ้งนะครับ- จะเสียหายกับตัวเองและผู้อื่นได้ ถ้าไม่ระวัง) ก็จะเบามากขึ้นเรื่อยๆครับ จะเหลือเฉพาะน้ำหนักตัวเรา ที่ไปไหนมาไหนได้สบาย ดีใช่ไหมครับ

 แต่ถ้าเราสามารถวางตัวเราไว้ได้ด้วย เราก็จะมีชีวิตไร้น้ำหนัก นึกซีครับว่าเราจะสบายแค่ไหน ไปไหนไม่ต้องออกแรงเลยแม้แต่นิดเดียว

เห็นภาพหรือยังครับ

ไม่เข้าใจถามมาใหม่นะครับ

  แหม .. อดไม่ได้ครับ  เห็นอาจารย์ พูดถูกใจ เรื่อง .. แบกไม่ไหว วางไม่เป็น ลำเค็ญไปทั้งชาติ  ขอแจมต่ออีกนิดด้วย บทกลอนนี้ ครับ.

ขอบคุณครับ อาจารย์พินิจ

ผมก็จำขี้ปากเขามาพูดหรอกครับ รู้สึกจะเป็นของท่าน รองเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ ที่ท่านออกรายการตอนเที่ยงคืนน่ะครับ

ขอบคุณมากครับที่มาแลกเปลี่ยน ผมจะไปตามอ่านของท่านย้อนหลังจนไปถึงเริ่มต้นโน่นแหล่ะครับ จะได้ตามท่านได้ทัน รู้สึกว่า ผมล้าหลังเหลือเกิน

ขอบพระคุณขอรับ

ไร้นามขอถามต่อ

ถ้าหากเมื่อออกไปนอกโลกแล้ว จำเป็นไหมว่า จะต้องเกิดปัญญากันทุกคน

ขอบพระคุณขอรับ

การมองโลกจากภายนอกไม่เกิดปัญญา เป็นเพียงมีความรู้เพิ่มขึ้น"นิดนึง" ว่า โลกมีรูปร่างเป็นอย่างไร แต่ไม่รู้ส่วนประกอบ ไม่รู้ข้างใน

การจะเข้าใจสิ่งใดต้องเข้าถึงสิ่งนั้น และพิจารณา วิเคราะห์อย่างถ่องแท้ด้วยสติปัญญา ไร้อคติ ไร้ความลำเอียง

เพียงแต่ว่า "สิ่งนั้น" จำเป็นที่เราจะต้องรู้หรือเปล่า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า การมุ่งมั่นในสิ่งที่ไม่ควรรู้เป็นอวิชชา เป็นการหมกมุ่นไม่ใช่มุ่งมั่น

เช่น อยากรู้ว่าจักรวาลกว้างเท่าไหร่ ทำอย่างไรจึงจะไปถึงกาแล็กซี่อื่น เป็นต้น

สิ่งที่ควรรู้คือ ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ทำอย่างไรจึงจะถึงนิพพาน

เมื่อนิพพานแล้วก็จะไม่เกิด ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความสุข ไม่มีอะไรเลย จักรวาลก็ไม่มี เม็ดทรายเม็ดเดียวก็ไม่มี แม้แต่ขี้ผงอะตอมเดียวก็ไม่มี "ช่างดีอะไรอย่างนี้"

อ้อ ของผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ พิจารณาให้ดีว่า ใช่หรือไม่ แล้วนำไปเป็นแนวคิดได้

การออกนอกโลกมีหลายแบบครับ ไม่ใช่แค่ทางกาย

และมีทั้งทางสังคม ทางจิต และทางวิญญาณ

มากมายเหลือคณานับ

ออกแบบไหน ก็มองได้แบบนั้นครับ

เช่น ออกนอกความทุกข์ ก็จะเห็นทุกข์ จะทำให้ไม่มีคามทุกข์

นี่คือความเข้าใจ และประสบการณ์ตรงของผมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท