ความรู้สึกของเด็กมัธยม ต่อการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยของไทย


ควรรับฟังให้รอบด้าน..
เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา หลายคนมีความคิด มุมมองที่น่าสนใจมากมาย กับข่าวคราวเรื่อง มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบ นายบอนได้รับฟังความเห็นของเขาแล้ว มีหลายอย่างที่น่าคิดเช่นกัน

แสดงว่า มีการศึกษาข้อมูลมาพอสมควร

“เรื่อง การออกนอกระบบนั้น เหมือนเป็นลัทธิเอาอย่าง คงจะเห็น ม.เอกชนมีการบริหาร การเงินที่ดี ก็เลยอยากจะเป็นแบบนั้นบ้าง ยังไงก็มีแต่ได้กับได้ แต่ไม่เคยคิดว่า ผู้ที่ต้องการไขว่คว้าหาความรู้ จะต้องเดือดร้อนมากแค่ไหน”

”ไม่รู้ว่า การออกนอกระบบ จะทำให้เด็กฉลาดขึ้นหรือเปล่า?”

อือม.... เป็นคำถามที่โดนใจเหมือนกัน เมื่อจ่ายค่าเทอมแพงขึ้น เครื่องมืออุปกรณ์ในการศึกษาหาความรู้มีมากขึ้น คงจะทำให้มีโอกาสเรียนรู้มากขึ้น

”นั่นเป็นการปิดกั้นโอกาสทางการ ศึกษามากเกินไป ถ้าใครพร้อมที่จะจ่ายมากๆ ก็สมควรที่จะได้รับความรู้เช่นนั้นหรือ ถ้าเอาเงินเป็นตัวตั้ง เป็นธุรกิจไปหมด แค่สอบให้ได้ ก็ถือว่า เรียนจบแล้ว”


มหาวิทยาลัยของรัฐ ค่าเทอมเฉลี่ย 8000 บาท / เทอม หรือ ปีละ 16000 บาท , ม.รามคำแหงเฉลี่ยเทอมละ 600 บาท
จุฬา-ธรรมศาสตร์ เฉลี่ยเทอมละ 8000-10000 บาท ถ้าออกนอกระบบค่าเทอมคงจะขยับถึง 30,000 บาท

นั่นคือ ค่าเทอมเฉลี่ยเท่านั้น บางคณะอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่รายละเอียด

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้ว เช่น ม.สุรนารี, ม.แม่ฟ้าหลวง, ม.วลัยลักษณ์, ม.พระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) บางสถาบันมีการบริหารจัดการที่ดี แต่คงจะไม่เหมาะกับทุกแห่ง บางแห่งอาจจะเป็นการสร้างภาพลวงตาเท่านั้น

”ภาพลวงตาของ มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบ ที่สามารถบริหารงานบุคคลได้อย่างเต็มที่ แต่ผู้บริหารอาจจะผูกขาดวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆไว้ทั้งหมด แล้วเรื่องธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยล่ะ เรื่องเหล่านี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาดูกันบ้างหรือไม่”

อือม... นายบอนต้องยกนิ้วให้น้องเค้าเลยครับ ขนาดนายบอนยังไม่ได้คิดถึงในประเด็นเหล่านี้เลย

อาจจะเป็นเพราะนายบอนไม่ค่อยรู้รายละเอียดมากนักเกี่ยวกับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยก็ย่อมได้

”ได้ ยินอาจารย์ท่านหนึ่ง พูดในรายการทีวีช่องหนึ่ง ถ้า มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จะทำให้แต่ละสถาบันเป็นคู่แข่งกันทันที อาจารย์จาก มข. ที่เดินทางไปสอน มมส. ม.อุบล ก็คงไม่ไปสอนอีก ความเป็นพี่น้องจะหายไป เพราะมองหเนเป็นคู่แข่งกันไปหมด เมื่อเอาเงินเป็นตัวตั้ง……”

”มี ประเด็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง เช่น ม.เทคโนสุรนารี ที่ออกนอกระบบมาตั้งนานแล้ว แต่ตั้งคณะแพทย์ยังไม่ได้เลย ทั้งๆที่มีเงินทุนมากมาย แต่ มข. กลับสามารถตั้งคณะแพทย์, คณะเภสัช, คณะเทคนิคการแพทย์ ฯลฯ เพราะอาจารย์ทำไปด้วยความรักสถาบัน...”

เป็นข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับฟังจากน้องนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 นะครับเนี่ย...



หมายเลขบันทึก: 66274เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพิ่งก่อตั้งได้ 15 ปี นำไปเทียบกับ มข. ไม่ถูกนะ มข. ก่อตั้งมานานแล้ว  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเป็นมหาวิทยาลัยเกิดใหม่ แต่ก็สามารถพัฒนาและมีชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว ก็ขอให้พิจารณาที่ผ่าน จะเห็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอยู่อันดับต้นๆของประเทศ

ไม่ใช่ความรู้สึกของเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จริงๆแล้วอยากรู้ ออกนอกระบบ มีผลกระทบอย่างไร น่าจะถาความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพิ่งก่อตั้งได้ 15 ปี นำไปเทียบกับ มข. ไม่ถูกนะ มข. ก่อตั้งมานานแล้ว  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเป็นมหาวิทยาลัยเกิดใหม่ แต่ก็สามารถพัฒนาและมีชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว ก็ขอให้พิจารณาที่ผ่านมา จะเห็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีอยู่อันดับต้นๆของประเทศ

ไม่ใช่ความรู้สึกของเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จริงๆแล้วอยากรู้ ออกนอกระบบ มีผลกระทบอย่างไร น่าจะถาความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อย่าออกนอกระบบกันเลยจะดีกว่า สงสารคนที่เขามีเงินน้อยกันมั่ง

ใช่ว่าคนรวยเท่านั้นที่อยากเรียน คนจนก็เหมือนกันนั่นแหละ

จะไม่เห็นใจกันมั่งเลยหรอ จะเห็นแก่เงินอย่างเดียวหรอ

แล้วแบบนี้ อนาคตข้างหน้า พวกที่จบจากมหาลัยก็มีน้อยลงอะดิ

เห็นใจกันมั่ง

งง..

ม. ผมก็นอกระบบ แต่ค่าเทอมไม่เห็นแพงอย่างที่กล่าวมาเลย

แต่ในทางตรงกันข้าม ผมว่ามีคุณภาพดีกว่า ม. ในระบบหลายๆ ม.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท