ประชุม PMQA ปี 2550


การวางแผนงาน, การดำเนินการ, การประเมินผลงาน และการเก็บหลักฐานประกอบการดำเนินงานต่างๆ ของแต่ละหมวดจะต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนและต่อเนื่อง รวมทั้งต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพด้วย

          เมื่อวันที่ 7 - 8 ธ.ค. 2549 มีการประชุมเรื่อง PMQA ซึ่งเป็นการชี้แจงรายละเอียดใน Template ของตัวชี้วัดนี้ และให้ความรู้แก่ผู้แทนแต่ละหมวดจากทุกหน่วยงานของกรม (จำนวนประมาณ 30 หน่วยงาน) ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ รายละเอียดติดตามอ่านได้ในบันทึกของปิ่ง  อ่านที่นี่

          ในปีงบประมาณ 2549 ที่ผ่านมาระดับความสำเร็จในเรื่อง PMQA   ก.พ.ร. กำหนดระดับความสำเร็จไว้หลวมๆ (เพราะพึ่งเริ่มต้น) ซึ่งมี 5 ระดับ คือ

          1. ให้ความรู้เบื้องต้นเรื่อง PMQA แก่บุคลากร 100%

          2. แต่งตั้งคณะกรรมการแต่ละหมวดและจัดทำแผนการดำเนินงาน

          3. ให้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการประเมินตนเองแก่ระดับหัวหน้าและรองหัวหน้าตึก/งาน

          4. การดำเนินการระดับกรมฯ

          5. จัดทำรายงานการประเมินตนเองของหน่วยงาน

          สถาบันเราผ่านระดับ 5  จากฝีมือการจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สมบูรณ์ของ ดร.สิริพร ค่ะ ต้องขอขอบคุณอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

          ในปีงบประมาณ 2550 นี้ ก.พ.ร. ให้ความสำคัญกับ PMQA ซึ่งเป็นตัวชี้วัดในมิติที่ 4 อย่างมาก โดยให้น้ำหนักถึงร้อยละ 25  คือ 1 ใน 4 ของน้ำหนักตัวชี้วัดทั้งหมดเลยทีเดียว ดังนั้น ในการวางแผนงาน, การดำเนินการ, การประเมินผลงาน และการเก็บหลักฐานประกอบการดำเนินงานต่างๆ ของแต่ละหมวดจะต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนและต่อเนื่อง รวมทั้งต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพด้วย

         

คำสำคัญ (Tags): #kpi#งานคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 66269เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณมอมที่สรุปค่ะ     มอมช่วยประสานในส่วนที่หมอต้องดำเนินการเพื่อไม่ให้งานที่จำเป็นหลุดไปได้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท