การจัดการความรู้สู่การพัฒนาการส่งเสริมการเกษตร (4) ประสบการณ์ KM นครศรีธรรมราช


การจัดการความรู้ ต้องจัดการกับตัวเองก่อน

            คุณชาญวิทย์ สมศักดิ์  (ชาญวิทย์ นครศรี) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในการนำ KM ไปใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร ในระดับพื้นที่ ชุมชน เกษตรกร   ได้ขึ้นเวทีเล่าประสบการณ์ต่อจากคุณพยอม วุฒิสวัสดิ์ (ลิงค์)    http://gotoknow.org/blog/www-doae/66179

                                    KM49.jpg

                     คุณชาญวิทย์ สมศักดิ์  บนเวทีเสวนา

         คุณชาญวิทย์  เล่าว่า 

  • เป็นผู้ทำงานอยู่ในระดับอำเภอ และล้วงลึกถึงเกษตรกร
  • ย้อนหลังก่อนหน้านี้  มีน้องๆ ถามว่า มีข้อสงสัย เรื่องเล่าเร้าพลัง ทำไม ไม่ให้พูดถึงปัญหา ก็เลยยกตัวอย่างให้ฟังว่า สมมุตินาย ก.  กับนาย ข. อยู่คนละฝั่งคลอง และให้ถือหนังสือคนละเล่ม  ข้ามฝั่งคลองโดยไม่ให้หนังสือเปียก ปรากฎว่า  นาย ก. หนังสือไม่เปียก  แต่นาย ข.หนังสือเปียก  เราก็ถามนาย ก.ว่ามีวิธีการอย่างไร ที่ทำให้หนังสือไม่เปียก จะดีกว่า แทนที่จะถามนาย ข.ว่า ทำไมหนังสือเปียก  บางครั้งถ้าเรายุ่งอยู่กับปัญหา การจัดการความรู้จะยาก ผลที่เราต้องการคือ หนังสือไม่เปียก นั่นคือ เป้าหมาย 
  • การจัดการความรู้ ต้องจัดการกับตัวเองก่อน ครั้งแรก รู้จักเฉยๆ ไม่รู้เรื่องเลย  ครั้งแรก ฟังแล้ว ไม่รู้เรื่องเลย ตารางอิสรภาพ บอกว่าใครเก่งในที่ทำงาน 
  • ผู้ว่าฯ วิชม ทองสงค์ ใช้ KM จัดการแก้จน ที่นครศรีธรรมราช  ผมได้เป็นทีมทำงานด้วย เป็นคุณอำนวยกลาง  คัดเลือกมาจากหน่วยงานต่างๆ 44 คน
  • ผมเลยกลับมาเปิดตำราอ่าน KM ไม่ทำไม่รู้  เห็นอะไร สมมุต เป็นตัวปลาทูหมด
  • เริ่มเขียนบล็อก เมื่อ 10 พค. 49  มีคนเข้าไปตอบ อ่านบล็อกคุณวีรยุทธ์  และหลายๆ คน มีความสุขมาก ทำงานแล้วเขียน เขียนแล้วมีคนอ่าน  ครั้งหนึ่งไปงานกีฬา ฟุตบอล ครู อบต.  นำมาเขียนบล็อก ความสำคัญของคุณอำนวย พอผมเขียน อ.วิจารณ์ เข้ามาตอบ
  • เมื่อก่อนการถ่ายทอดเทคโนโลยี อ่านหนังสือ เตรียมคำตอบ แต่หลังๆ เมื่อผมเป็นคุณอำนวย  อำนวยการให้ชาวบ้านคุยกัน มีการเตรียมคน ในบริบทของแต่ละหมู่บ้าน อยู่ที่การเริ่มต้น ต้องรู้บริบทของสังคม
  • ครั้งแรกที่จัด ต้องถอดใจเขาให้ได้ มีกระบวนการถอดหมวก ก่อนมากังกลเรื่องอะไร
  • กระบวนการ เริ่มที่หัวปลาทูก่อน    เป้าหมายหลัก บางทีเราถามตรงๆ ไม่ได้  เช่น ใครใช้สารเคมีอยู่  เขาจะไม่ยอมบอก  ตอนหลังใช้วิธีแบ่งกลุ่ม เช่น กลุ่มแตงโม  แล้วให้เขาช่วยกันเล่าว่าแต่ละคนมีการปลูกอย่างไร สรุปมา 1 แผ่น  เขาก็จะเล่าตั้งแต่การเตรียมดินเลย  เวลานำเสนอ จะออกมาเอง ว่าเขาใช้สารเคมีหรือไม่ ขั้นตอนไหน
  • เป้าหมายเริ่มเปลี่ยน จากเป้าหมายใหญ่ การผลิตให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน  เริ่มมีเป้าหมายเล็กๆ  เหมือนฝูงปลาตะเพียน เป็นสิ่งที่พบโดยบังเอิญ  พบในส่วยเป้าหมายย่อยๆ เกิดขึ้น   
  • วันหนึ่ง ไปที่ป่าพยอม นักศึกษาเรียน KM คอร์สแรก  สมมุตให้ฟังว่า  ถ้าอยากได้สูตรแกงไตปลา  ให้เชิญแม่บ้านที่ทำแกงไตปลามาเล่า  ลปรร.กัน  แล้วมาสรุป  
  • เกษตรกร เราใช้วิธีการให้เขาเล่า และให้ประธานศูนย์ถ่ายทอดฯ เป็นคุณอำนวย แต่คุณลิขิต นั้นหายากมาก  จะลิขิตเอง ใช้ Mindmap  ชาวบ้านชอบ ดูได้ง่าย
  • องค์ความรู้ที่ได้ เช่น  การกำจัดเพลี้ยอ่อน ชาวบ้านบอกว่า ไม่ต้องฉีดยา ให้ไปหาพืชอะไรที่ขมๆ  มา ถ้าคนไม่กิน มันก็ไม่กิน
  • ผลที่เกิดขึ้น 

           - ช่วง AAR  สังเกตได้ว่า ชาวบ้านชอบพูดคุย ลปรร. เขาไม่อยากฟังเราหรอก ถ้าให้เขาคุยกันเขาชอบ  ช่วง AAR เขาชอบ น่าจะทำ ปกติเขามีปัญหาไม่รู้จะถามใคร  มีเครือข่ายเกิดขึ้น   

          - สิ่งที่เกิดขึ้น เราเจอปราชญ์เยอะมาก เราในฐานะคุณอำนวย บางครั้งเราต้องเบรค ด้วย เพราะว่า บางคนพูดไม่หยุด บางคนชอบไมค์  ก็ต้องมีเทคนิค ผมเปลี่ยนให้เขาเป็นคุณลิขิต นั่งจับประเด็น สุดท้ายแกจะไปนั่งเงียบ กลัวจนไม่ถูก 

           สุดท้าย คุณชาญวิทย์ ได้ให้ข้อคิดว่า ช่วงหนึ่งเคยสร้างพันธมิตร กับคนใส่หมวก  แต่ตอนนี้หยุด  แต่มาสร้างพันธมิตรกับชาวบ้าน โดยอาศัยความจริงใจ.............

 

นันทา ติงสมบัติยุทธ์

9 ธค. 49

หมายเลขบันทึก: 66201เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมา ลปรร.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท