ประเมินตนเองด้วย PMQA


7-8 ธันวาคม49 เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาคุณภาพระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)ในเรื่อง ชี้แจงรายละเอียดตัวชี้วัดและโอกาสในการปรับปรุง (OFI )ของหน่วยงาน ในสังกัดกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 จัดที่โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี โดยมีตัวแทนจาก 30 หน่วยงานในสังกัดกรมครบคุมโรคเข้าร่วมประมาณ เกือบ 200 คน

บำราศฯไปกัน 7 คน ซึ่งเป็นตัวแทนคณะทำงาน 6 หมวด ประกอบด้วย หมอปรีชา หมอกฤตพงศ์ พี่สุนันทา พี่มอม พี่อรทัย และดิฉัน(ไปแทนหมอหน่อย) โดยมี ดร.สิริพรเป็นตัวแทนของบำราศฯ เป็นคณะทำงานระดับกรมฯ

ภาพรวมการประชุมใน 2 วัน ก็เป็นการทบทวนภาพรวมแนวทางการดำเนินงาน PMQA (ซึ่ง จนท.บำราศได้รับการอบรม 100 %ไปแล้วในช่วงเดือนกันยายนที่เพิ่งผ่านมา ) โดย อาจารย์พรพรรณ  ปริญญาธนกุล

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

1)ลักษณะสำคัญขององค์กร (วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัฒนธรรม ลักษณะคนในองค์กร ฯลฯ)

2)เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มี 7 หมวดได้แก่ หมวด1  การนำองค์กร หมวด2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด3  การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด4  การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด5  การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล หมวด6  การจัดการกระบวนการ หมวด7ผลลัพธ์การดำเนินการ

ระบบการให้คะแนน  ใช้ 4 ปัจจัย ได้แก่ แนวทาง(Approach) การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ ( Deployment)การเรียนรู้ ( Learning)และการบูรณาการ(Integration) หรือที่เรียกกันว่า ADLI ในการประเมินกระบวนการทั้ง 6 หมวด

 จากความพยายามเก็บเกี่ยวประเด็น ปิ๊ง เพื่อให้คุ้มกับอาหารกลางวัน(ที่แสนอร่อย) และอาหารว่าง 2 มื้อ ได้มาดังนี้           

      คณะทำงาน 6 หมวด เสมือน คนที่มีหน้าที่ปลูกต้นมะม่วง แต่ผลเป็นหน้าที่ของมะม่วง ถ้าสร้างเหตุไม่สอดคล้องให้เกิดผล ก็จะไม่สำเร็จ ผลพลอยได้ คือกระบวนการเรียนรู้ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ และไม่สำเร็จ (อธิบายเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐทั้ง 7 หมวด เป็น 2 ส่วนที่ต้องมีความเชื่อมโยงในเชิงระบบ ได้แก่ส่วนที่เป็นกระบวนการในหมวด1-6 และส่วนที่เป็นผลลัพธ์ในหมวด 7)

เรื่องเล่าเร้าพลัง  กรณี ตา กับตีนที่เถียงกันว่าตัวเองเท่านั้นที่เป็นผู้ทำให้เกิดความสำเร็จ แต่เมื่อตีนวิ่งไปโดยปิดตา ก็วิ่งตกเหวได้ ทั้งตา และตีนก็ตายตกไปตามๆกัน เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เกณฑ์ทั้ง 6 หมวด จึงต้องร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อความสำเร็จของหมวด7

เกี่ยวกับบริบทขององค์กร กระบวนการ แม้จะดีขนาดไหน แต่ถ้าไม่สอดคล้องกับบริบท ก็จะเสียเวลาอย่างไม่คุ้มค่า เหมือนการปีนบันได เพียงเพื่อให้ได้ปีน โดยไม่จำเป็น              

  คำหลักของ การเรียนรู้ คือ ทบทวน และปรับปรุง

ทีมเราได้การบ้านกลับไปทำต่อคือไปหาโอกาสในการปรับปรุง (OFI )ของหน่วยงานใน 6 หมวด และตรวจหา(OFI )ของสถาบันราชประชาสมาสัยเพื่อลปรร.(สถาบันราชประชาฯก็ตรวจให้เราเหมือนกันค่ะ)

สิ่งที่ดิฉันคิดว่าจะมาทำต่อคือใช้เทคนิค ADLI ในการประเมินกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ค่ะ

จบจากการประชุมดิฉันก็กลับมานึกว่า  ถ้าข้าราชการโดยรวมปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องเหมาะสมกับหน้าที่ และมีคุณธรรม คงไม่ต้องมีกพร. พรพ.มาตามประเมินผลให้เสียเวลาทำงานราชการ

หมายเลขบันทึก: 66185เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีครับคุณพัชรา
  • คณะทำงาน 6 หมวดที่เปรียบเสมือนคนปลูกมะม่วง ตั้งแต่ปลูกดูแลจนออกผล
  • แต่อย่างไรถ้าทำได้ขอให้ปลูกมะม่วงจากเมล็ดดีกว่าซื้อกิ่งแบบติดตาหรือตอนกิ่งมาปลูกนะครับ ต้นมะม่วงจะได้มีรากแก้วยืนหยัดได้อย่างคงทนตลอดไปครับ

ป.ล. ขออนุญาตถามเรื่องตัวแปรภาษาอังกฤษของ PMQA ด้วยนะครับ จะได้เข้ามาแต่ละตัวมากขึ้นครับ ฝาก OFI อีกตัวนึงนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ขอบคุณ คุณปภังกร มากค่ะที่ช่วยต่อยอด

เมล็ดพันธุ์ที่ว่าคงต้องเอาแบบทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อได้ดีจริงๆ เท่านั้น

PMQA  ย่อมาจาก Public Sector Management Quality Award

ส่วนโอกาสในการปรับปรุง OFI ย่อมาจาก Opportunity for Improvement ค่ะ

  • ปิ่งสรุปได้ดีมากๆ ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
  • ใช้ในการวางแผนและติดตามงานในส่วนที่ทีมงานรับผิดชอบได้เป็นอย่างดีค่ะ
  • การบ้านอีกอย่างหนึ่ง คือ ทบทวน OFI ระดับกรมด้วยค่ะ
ขอบคุณปิ่งที่สรุปโดยที่ไม่ต้องอ่านทบทวนเลยค่ะ     คงต้องนำระบบทุกระบบมารวมเป็นเรื่องเดียวกันต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท