ปรับเกณฑ์อย่างไรดีกับดัชนีที่ 10.2 งานการเงินและพัสดุ


รวมพลัง และความคิด

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2549 งานการเงินและพัสดุ ได้มารวมตัวกัน ณ หน่วยพัสดุ  เวลา  15.00 น. โดยมีผู้บริหารที่น่ารักให้คำปรึกษา และเป็นกันเองกับพวกเรา อาจารย์ศุภวิทู  สุขเพ็ง  ต้องขอขอบคุณ อาจารย์มากค่ะที่ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี ขอบคุณค่ะ ขอบคุณจากใจ ของพวกเรา

Office KM : 18. ปรับปรุงอย่างไรดีกับดัชนีที่ 10.2 งานการเงินและพัสดุ

จากเดิมเกณฑ์การตัดสิน

มีคู่มือการปฎิบัติงานและเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

มี (1) + มีการปฎิบัติงานตามคู่มือการปฎิบัติงาน

มี (2) + มีการวางระบบการควบคุมภายในและปรับปรุงการควบคุมภายใน

มี (3) + มีการประเมินผลการดำเนินงานด้านการเงินและพัสดุ

มี (4) + มีการพัฒนางานโดยการนำระบบอิเล็คทรอนิกส์มาใช้ใน      การปฎิบัติงานการเงินและพัสดุ

 สิ่งที่พวกเราต้องคิดและวิเคราะห์ในการปรับเกณฑ์ครั้งนี้ คือ สำนักงานเลขานุการคณะสหเวชฯ ได้รับข้อเสนอแนะจากเกณฑ์นี้ว่า

- ควรพิจารณากำหนดเกณฑ์การตัดสินให้เหมาะสม เนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้อยู่มีความเป็นอิสระต่อกันไม่ได้อยู่ในรูปแบบวงจร PDCA ควรเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก

- ควรมีเกณฑ์ ที่เป็นเกณฑ์ที่แสดงถึงคุณภาพของแต่ละภารกิจหลัก คือ ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ และกำหนดเป้าหมายของระดับความพึงพอใจให้ชัดเจน

- ควรพิจารณาเพิ่ม/ปรับ/จัดทำข้อมูลประกอบ ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของ สมศ./กพร. ในมาตรฐานที่ 5 ตัวบ่งชี้ ร้อละของเงินเหลือจ่ายสุทธิ/งบดำเนินการทั้งหมด (สมศ.) หรือมิติที่ 3 การประหยัดงบประมาณ และการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย (กพร.)

การเงินและพัสดุได้รวบรวมพลัง และความคิด ช่วยกันปรับเกณฑ์ ดัชนีที่ 10.2  ดังนี้

เกณฑ์การตัดสิน

มีระบบการทำงานด้านการเงินและพัสดุ

เอกสารประกอบ คือ  คู่มือการปฎิบัติงาน

มี (1) + มีการกำหนดผู้รับผิดชอบงานแต่ละด้านอย่างชัดเจน

เอกสารประกอบ คือ  Job

มี (2) + มีการปฎิบัติตามขั้นตอนดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้

เอกสารประกอบ คือ  เอาผลการดำเนินงานมาวัด เช่น การสรุปรายงานต่าง ๆ

มี (3) + มีการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการ     ปฎิบัติงาน

เอกสารประกอบ คือ  มีแบบสอบถาม มีผลการประเมิน และสรุปผลการประเมิน

 มี (4) + มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา

งานการเงินและพัสดุ ขอฝากให้ชาว Office KM ได้ร่วม ลปรร. และถ้ามีข้อคิดเห็นอย่างไรช่วยกันเสนอแนะ ขอบคุณมากค่ะ

หมายเลขบันทึก: 66175เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอแลกเปลี่ยนนะครับ นอกจากจะวัดในเชิงกระบวนการแล้ว น่าจะวัดถึงว่ากระบวนการนั้นส่งผลในเชิงปริมาณขนาดไหนด้วยนะครับ
  • ถ้าสมมุมมีกระบวนการครบทั้ง 5 ข้อแล้ว ปริมาณที่ออกมาเป็น 0 แล้วหมายถึงอะไร

  คุณดาวรุ่งคะ  ดิฉันเห็นด้วยกับเกณฑ์ใหม่ทั้งหมด  4 ข้อ เพราะเป็นขั้นเป็นตอนดีค่ะ  และขอเสนอว่าถ้าเอาส่วนที่ดีอยู่แล้วในข้อ 1 เดิม มาต่อข้อ 1 ใหม่ด้วยดังนี้ จะดีไหมค่ะ 

  1. มีระบบการทำงานด้านการเงินและพัสดุ  และเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

  และขออนุญาตคุณดาวรุ่งขยายความให้คุณ Mr. Kamphanat Archa (Jack) ทราบสักเล็กน้อยนะคะ

  • ในระบบการประเมินคุณภาพของ มน. นั้น คณะวิชาจะมีการประเมิน 2 แบบ คือ การประเมินที่เน้นกระบวนการ ( 9 องค์ประกอบของ สกอ.)  และการประเมินที่เน้นผลลัพธ์ (7 มาตรฐาน ของ สมศ.) ควบคู่กันไป
  • ระดับหน่วยงานย่อย (เช่น สำนักงานเลขานุการ ของคณะสหเวชศาสตร์ ) นั้นมหาวิทยาลัย  กำหนดองค์ประกอบที่ 10 เพิ่มขึ้นอีกข้อ ให้หน่วยงานสายสนับสนุนที่มีลักษณะงานจำเพาะกำหนดดัชนีชี้วัดและเกณฑ์ตัดสินคุณภาพ ด้วยตนเอง
  • ดังนั้น คณะฯ จึงให้อิสระแก่งานต่างๆ ในการกำหนดเกณฑ์การประเมินของงานของเขาเองได้ ในองค์ประกอบที่ 10
  • ดิฉันเข้าใจว่า เพื่อให้สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ 1 - 9 ซึ่งเป็นการประเมินเชิงกระบวนการ  องค์ประกอบที่ 10 จึงถูกออกแบบให้มีลักษณะของ PCDA เช่นกัน
  • ส่วนผลลัพธ์ (output / outcome) ของงานด้านการเงินและพัสดุ  นอกจากจะต้องตอบโจทย์ตามตัวบ่งชี้ด้านต่างๆ ในมาตรฐานที่ 5 ของ สมศ. แล้ว งานการเงินและพัสดุ ยังมีสรุปรายงานด้านการเงินและพัสดุต่างๆ  ตามเอกสารหลักฐานในเกณฑ์ ที่เขากำหนดไว้เอง ให้อีกด้วย ดังที่กำหนดไว้ว่า 

มี (2) + มีการปฎิบัติตามขั้นตอนดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้

เอกสารประกอบ คือ  เอาผลการดำเนินงานมาวัด เช่น การสรุปรายงานต่าง ๆ   

ดังนั้น  ถ้าสมมุติว่ามีกระบวนการครบทั้ง 5 ข้อแล้ว ปริมาณที่ออกมาเป็น 0 ย่อมหมายถึงว่างานนั้นต้องไม่ใช่งานการเงินและพัสดุอย่างแน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท