8 ปัญหาของเด็กฉลาดสุดสุด


เด็กที่มีความสามารถพิเศษหรือที่เรียกว่า “เด็กอัจฉริยะ” นั้น คนทั่วไปอาจคิดว่าเด็กกลุ่มนี้ มีความสุขที่เกิดมามีความสามารถเหนือกว่าเด็กปกติทั่วไป รู้และเก่งกว่าเพื่อนๆ ในชั้นเรียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษกลับมีปัญหาโดยเฉพาะทางด้านอารมณ์และจิตใจ

ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ รองประธานโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและเด็กที่มีความต้องการพิเศษแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ฐานะใน “กูรู” ด้านเด็กอัจฉริยะ เผยว่าเพราะคลุกคลีงานพัฒนาเด็กอัจฉริยะมานาน อย่างเด็กๆ ที่เข้ามารับการบริการในโครงการสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษ มศว จึงพบว่าเด็กจะมีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ซึ่งสามารถแยกแยะได้ 8 ประการดังนี้
1.เด็กที่มีความสามารถพิเศษจำนวนไม่น้อย มีความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง เพราะคนไม่ค่อยเข้าใจความคิดและความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กกลุ่มที่มีความสามารถสูงๆ จะรู้สึกว่าทำไมคนอื่นคิดและรู้สึกไม่เหมือนเขา จนรู้สึกว่าตัวเองเป็นมนุษย์ต่างดาว ไม่เหมือนเพื่อนคนอื่นๆ เด็กจึงมีพฤติกรรมตอบสนองไปในรูปแบบต่างๆ แล้วแต่พื้นฐานจิตใจ รอบรมเลี้ยงดู และวิธีคิดของเด็กๆ
2.รู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยด้อยค่า ไม่มีคุณค่าในตัวเอง ทำให้ขาดความมั่นใจ ขาดการตัดสินใจที่ดีในอนาคต
3.รู้สึกว่ามีปัญหาในการปรับตัว ไม่สามารถมีความรู้สึกนึกคิดคล้อยไปกับสังคมหรือผสมผสานกับกลุ่มที่ตัวเองต้องไปเกี่ยวข้องได้ เพราะระบบคิดต่างกัน
4.มีความเครียดสูง จากสาเหตุต่างๆ ทั้งในเรื่องความคาดหวังและการที่ตัวเองอยู่ในสภาพที่โดนกดดันโดยระบบการศึกษาที่น่าเบื่อ และต้องปฏิบัติในสิ่งที่ตัวเองไม่สนใจ
5.กลัวความล้มเหลว ในกรณีที่เด็กแสดงออกถึงความโดดเด่น ผู้คนใกล้ชิดก็มักจะคาดหวัง หรือโดยนิสัยพื้นฐานเด็กกลุ่มนี้มีรสนิยมทางปัญญา สูงกว่าปกติอยู่แล้ว มีแนวโน้มที่จะทำอะไรสมบูรณ์ไม่มีที่ติอยู่แล้ว เลยทำให้หลีกเลี่ยงสถานการณ์ล้มเหลวหลายๆ อย่าง
6.ขาดความมั่นใจในตัวเอง เป็นโรคที่พบมากในขณะนี้ที่เด็กไม่กล้าแสดงออก เป็นผลให้เกิดความล้มเหลวในการเรียนการงาน
7.ขาดสมาธิ หรือที่เรียกกันทางวิชาการว่า โรคสมาธิบกพร่องที่เป็นโรคฮิตอันดับแรกกับเด็กทั่วไปทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
8.ทำงานไม่ค่อนเสร็จ มีความคิดดีๆ พูดอะไรเข้าใจรวดเร็ว คิดเก่ง คิดไว แต่พอลงมือทำไม่ค่อยอดทนทำให้สำเร็จ
“จะเห็นว่าเด็กที่มีพรสวรรค์เป็นเลิศ เป็นคนเก่งอย่างที่ใครต่อใครชื่นชม แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องทางอารมณ์และจิตใจที่ต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกวิธี ดังนั้นพ่อแม่ ครู เพื่อน ตลอดถึงสังคมต้องเข้าใจเด็กกลุ่มนี้ หากขาดความเข้าใจและไม่รีบช่วยกันแก้ไข จากเด็กที่มีพรสวรรค์อาจจะกลัวกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาให้กับครัวครัวและสังคมได้” ผศ.ดร.อุษณีย์กล่าวทิ้งท้าย
(นำมาจากลิงค์นี้ค่ะ http://www.siamrath.co.th/Education.asp?ReviewID=159179 )

หมายเลขบันทึก: 66121เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

you are peace warrior

"Real Battles Are Wihtin"

สวัสดีครับอาจารย์  เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท