การเรียนรู้ตลอดชีวิต


"การเรียนรู้ตลอดชีวิต" การทำ KM นำองค์กรสู่องค์กร LO ที่ยั่งยืน ที่ทางปูนเรียกว่า Living Companyโครงการ OCOP (One Cell One Project) ซึ่งผมปริ๊งไอเดียว่า น่าจะนำมาต่อยอดใช้กับ มมส. ในการสร้าง ชุมชนฅนปฏิบัติ (Community of Practice หรือ CoP) ได้โดยอาจใช้ตัวย่อเดียวกันได้คือ OCOP = One Community One Project

ทวีสิน ปูนแก่งคอย

  • หัวข้อการนำเสนอของห้อง ปูนแก่งคอย ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 คือ  "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" เป็นห้องที่ผมสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากได้ทราบถึงความสำเร็จของหน่วยงานนี้มาก่อนบ้างแล้ว จากสื่อต่าง ๆ และเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ใน Gotoknow  ประกอบได้รู้จัก ท่านอาจารย์ ทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์ (คนปูนแก่งคอย - เสื้อเหลืองในรูปบน) ผู้จัดการพัฒนาองค์อย่างยั่งยืน ของปูนแก่งคอยมาก่อน จึงให้เวลากับห้องนี้ในช่วงบ่ายวันที่ 1 ของงานทั้งบ่าย  เพื่อเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งที่ปูนทำมาจนเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในเรื่องของ การทำ KM นำองค์กรสู่องค์กร LO ที่ยั่งยืน  ที่ทางปูนเรียกว่า Living Company

  • การเข้าฟังวันนั้นผมได้สิ่งต่าง ๆ มากมาย  จะทะยอยนำมาเล่าในโอกาสต่อ ๆ ไป แต่เรื่องหนึ่งที่อยากจะนำมาเล่าก่อนก็คือ  โครงการ OCOP (One Cell One Project) ซึ่งผมปริ๊งไอเดียว่า น่าจะนำมาต่อยอดใช้กับ มมส. ในการสร้าง ชุมชนฅนปฏิบัติ (Community of Practice หรือ CoP) ได้โดยอาจใช้ตัวย่อเดียวกันได้คือ  OCOP = One Community One Project หรือ One Community One (best or good) Practice

  • ความภูมิใจที่เกินคาดในบ่ายวันนั้นก็คือช่วงพักครึ่ง เพื่อรับประทานกาแฟและอาหารว่าง ก็ได้มีโอกาสพบ กูรู KM&LO ของปูนและของประเทศไทยคนหนึ่ง คือ ท่านอาจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ (คนไร้กรอบ) ที่ผมตั้งใจว่าจะต้องหาซื้อหนังสือ The Inner Path of LO&KM เล่มที่สอง ของท่านให้ได้ในงานนี้  รวมทั้งได้มีโอกาสได้ ร่วมวงเล่า (จิบกาแฟ) กับท่านและทีมปูนแก่งคอยด้วย (ภาพล่าง)

วงเล่าปูนแก่งคอย

  • และต่อมาก็มีโอกาสได้ฟังท่านอธิบาย ทฤษฎีตัว ยู ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้โดยตรงให้ผู้สนใจฟัง  สิ่งที่น่าสังเกตุก็คือ ท่านอาจารย์ เล่าหรืออธิบายได้ในบริบทง่าย ๆ  หนังสือเล่มในรูปคือหนังสือที่ตอนนี้ผมเป็นเจ้าของครับ... ถ้าสังเกตุให้ดี ผู้ที่ร่วมวงอยู่อีกท่าน (สรวมเสื้อสูทสีดำ) ก็คือ ท่านอาจารย์ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด กูรูอีกท่านหนึ่ง และ ผู้เขียนหนังสือ การจัดการความรู้ฉบับ KM ขับเคลื่อน LO ที่เปิดตัวในงานนี้เป็นครั้งแรก

  • ผมว่าผมโชคดีจริง ๆ ในงานนี้ที่ได้พบและพูดคุยกับกูรูทั้งสองท่านครับ

<div style="text-align: center">กูรูทฤษฎีตัวยู</div> 

หมายเลขบันทึก: 66001เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

         ขอบพระคุณมากครับ ที่นำมาเล่าเพื่อแบ่งปัน แต่เสียดายที่ไม่ได้ F2F กับอาจารย์เลยครับ

 

  • ผมก็เสียดายเช่นกันครับ
  • โอกาสหน้าคงได้ F2F กัน
  • ครั้งนี้แต่ละคนต่างก็มีภารกิจของตน เพื่อหน่วยงาน ที่จะต้องมาก่อนครับ

เรียนท่านพี่ปานดา

 เห็นภาพแล้วนึกถึงความหลัง รวมพลังชาว KFC(oP)

  • บรรยากาศร่วมวงเล่า (จิบกาแฟ) ดูสบายๆนะครับ
  • คงมีโอกาสได้เชิญกูรูทั้ง 2 ท่าน มาเยี่ยม มมส. ในไม่ช้านะครับ
  • ขอฝากการบ้านการไปทำหน้าที่คุณลิขิตที่ตักสิลาด้วยนะครับ
  •  http://gotoknow.org/blog/kamphanat/66063
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ Panda ที่เคารพครับ
  • เข้ามาติดตามอ่านและเสพบันทึกของท่านอาจารย์กับบรรยากาศที่ดี ๆ ของงานมหกรรมครับ
  • อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วเหมือนได้ไปนั่งร่วมวงอยู่ตรงนั้นด้วยเลยครับ
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่นำเข้ามาแบ่งปันครับ
  • สนใจเรื่อง OCOP = One Community One Project ครับ เราชาว MSUKM น่าจะได้มีโอกาสคุยกันอีกครั้ง
  • ขอบคุณอาจารย์ที่ยังคงถ่ายทอด และเล่าเรื่องราว ประสบการณ์เป็นระยะๆครับ
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ Panda
  • ได้ยินกิตติศัพท์มานานเลยครับสำหรับปูนแก่งคอยกับการทำ KM ที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ ครับ
  • ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่นำเรื่องราวของความสำเร็จนี้มาแบ่งปันให้พวกเราได้ติดตามเหมือนกับได้ไปนั่งร่วมวงสนทนาในวันนั้นด้วยครับ
  • ขอบคุณ อาจารย์ ปภังกร ที่แวะมาครับ
  • ช่วงหลังผมแวะไปอ่านบันทึกของอาจารย์ แต่ก็ไม่ค่อยได้ แลกเปลี่ยนครับ ขออภัยด้วยครับ

ขออนุญาต เสริม  สำหรับคนที่ไม่ได้ไป ฟัง ปูนฯ แก่งคอยว่า

เพื่อความเข้าใจตรงกัน 

  • Cell  เป็น ศัพท์เทคนิค ของ การบริหารแบบ Flat organization  หรือ Horizontal organization  ประกอบไปด้วย พนักงานต่างๆ ที่ รับผิดชอบในงานต่างๆ ร่วมกัน   (ตอนแรก ผมได้ยินพวกเขา พูดกันว่า เซล   ผมเข้าใจผิด นึกว่า sell หรือ sale   ผมเคยงง กับคำว่า Cell นี้มาก่อน  )

Living Organization  มองว่า องค์กรเป็นสิ่งมีชีวิต  ที่  เรียนรู้  ปรับตัว  พอเพียง มีภูมิต้านทาน  มีทั้งให้และรับกับสิ่งแวดล้อมจึงจะอยู่ริดได้   มีแต่รับอย่างเดียว หรือ ให้อย่างเดียวก็สูญพันธุ์ (ไม่ยั่งยืน)

ในสิ่งมีชีวิต ย่อมประกอบไปด้วย Cell ต่างๆ  ที่มี ลักษณะ  ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน   แต่ว่า ทุก Cell มีความหมาย  มารวมตัวกัน ก่อเกิด network และ Collaboration    ทำให้กลายเป็น องค์กรมีชีวิต

ด้วยเหตุผลของ องค์กรมีชีวิต   จึงทำให้ ต้องแปลคำว่า Learning organization ว่า องค์กรเรียนรู้   โดยไม่แปลว่า  องค์กรแห่งการเรียนรู้   เพราะ  องค์กรเป็นประธาน  เรียนรู้ เป็นกิริยา    

 

อาจารย์คะ สนใจเนื้อหานี้มาก ขออนุญาติ link ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/kmanamai-nonta/66774 นะคะ
  • ขอบคุณ ดร. วรภัทร์ ที่แวะเข้ามาเสริมครับ
  • สำหรับผมไม่ค่อย งง ครับ กับคำว่า Cell เพราะเป็นคำคุ้นเคยสำหรับชาว ชีววิทยา เพราะในทางชีววิทยา Cell คือ หน่วยย่อยของสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดครับ
  • ยินดีครับ  เพื่อนร่วมทาง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท