รายงานการวิจัยรูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาสำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ : กรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก (ต่อ)


การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพควรมีรูปแบบของระบบการบริหารจัดการของตนที่ใช้กระบวนการของ PDCA และ KM

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี (โรงเรียนแกนนำ ตัวแทนสถานศึกษาประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่)
                  โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีระบบและโครงสร้างการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์และนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาหลักสูตร  มีเทคโนโลยีสารสนเทศและห้องสมุด มีแผนปฏิบัติการประจำปีทุกส่วนงานและนำไปใช้จริงมีระบบการประกันคุณภาพภายในทุกส่วนงาน เมื่อเข้าร่วมโครงการในระยะแรกโรงเรียนมีคู่มือการบริหารจัดการศึกษาอยู่แล้ว แต่ไม่ตรงกับหลักการของระบบบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการของทีมวิจัย และเห็นว่าสามารถนำหลักการไปใช้ได้ ยกเว้นเรื่องความเป็นอิสระที่มองว่ายังทำได้ยากกว่าตัวขับเคลื่อนตัวอื่นที่ได้ทำอยู่แล้ว เช่น โรงเรียนยังขาดความเป็นอิสระในการบริหารจัดการเรื่องงบประมาณและการสรรหาบุคลากร  โรงเรียนได้มีการจัดทำคู่มือฯเป็นรูปเล่มโดยศึกษาคู่มือหลักสัตตศิลาและได้จัดประชุมฝ่ายต่างๆทั้ง 7 ฝ่ายเพื่อแบ่งงาน  ดำเนินการจัดทำคู่มือและนำมารวม นอกเหนือจากการจัดทำคู่มือฯ โรงเรียนได้ดำเนินการตามโครงการ CRP และ NET ด้วย  และมีแผนดำเนินการติดตามผลภาคเรียนละ 1 ครั้ง ทั้งระบบการบริหารงาน การจัดการเรียนการสอนของครู และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน  โดยฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจะเป็นผู้ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานในรูปแบบของ SAR  ถึงแม้ว่าครูมีภาระงานเพิ่มมากขึ้นจากการที่ต้องปรับเปลี่ยนแผนการสอนใหม่ทั้งหมด  ผู้ปกครองนักเรียนบ่นว่าลูกมีการบ้านและงานที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น  แต่จากการติดตามในเบื้องต้นพบว่าโรงเรียนมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบมากขึ้นเนื่องจากมีคู่มือฯที่ทุกฝ่ายรับทราบตรงกันเป็นแนวทางในการบริหารงาน  โดยมีกระบวนการพัฒนารูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ เริ่มจากการสร้างความตระหนัก และให้ความรู้แก่ครูและผู้บริหารในเนื้อหาเกี่ยวกับสัตตศิลา จากนั้นจึงแบ่งงานรับผิดชอบ 7 ฝ่ายเพื่อร่างคู่มือการบริหารและปรับแก้เป็นคู่มือที่พร้อมนำไปใช้ เมื่อมีการนำคู่มือไปใช้ในการบริหารจัดการแล้ว มีการประเมินทบทวนเพื่อปรับปรุงแก้ไข
ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ
 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีได้เข้าร่วมโครงการวิจัยเปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ทั้ง 7 หลัก (สัตตศิลา)  โดยเฉพาะโครงการที่ 6 ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการพัฒนาคู่มือและปรับปรุงแก้ไขถึง 4 ครั้ง จนค่อนข้างมีความสมบูรณ์ จึงนำไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 1 ภาคเรียน  และได้มีการเก็บข้อมูลเพื่อทราบผลลัพธ์ ปัญหา อุปสรรคต่างๆ อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  โดยโรงเรียนใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 2 ฉบับในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการใช้คู่มือการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลลัพธ์จากการเข้าร่วมโครงการวิจัย การเปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (สัตตศิลา) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ ดังนี้
 1. ด้านบริบทของการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ของโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี เห็นว่า สภาพความตระหนัก ความเข้าใจในวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า ระยะเวลาของการประชุมปรึกษาหารือ และการสร้างความเข้าใจต่างๆ ระหว่างสถานศึกษากับทีมวิจัยจากจุฬาฯ มีน้อย
 2. ด้านปัจจัยนำเข้าของการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่า ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ระยะเวลา งบประมาณ บุคลากร ฯลฯ มีความพอเพียงเหมาะสมในระดับปานกลาง ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า ในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2548 นั้น โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีได้เข้าร่วมโครงการแบบ Whole School ทั้ง 7 โครงการ (สัตตศิลา) และในภาคเรียนที่ 2 มีระยะเวลาน้อย มีกิจกรรมและวันหยุดมาก ดังนั้นเวลาการดำเนินงานจัดทำคู่มือการบริหาร ช่วงระยะเวลาปรับปรุงคู่มือ และการทดลองใช้จึงมีน้อยเกินไป
 3. ด้านกระบวนการที่ใช้หลัก MSPA เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ พบว่า ในภาพรวมมีการดำเนินงานในระดับมาก ยกเว้นการระดมทรัพยากร (Mobilization) โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ในระดับ มากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีมีกระบวนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี  ซึ่งเกิดจากแผนกลยุทธ์ และธรรมนูญโรงเรียน  อันเกิดจากการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์กรจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงเรียนอยู่แล้ว และมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า และผู้ปกครองเครือข่ายต่างล้วนมีความเข้มแข็งในการร่วมระดมทรัพยากรเพื่อใช้พัฒนากระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 4. ด้านผลลัพธ์ ในภาพรวมของผลการนำคู่มือการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการไปใช้มีผลลัพธ์อยู่ในระดับคุณภาพมาก (ได้แก่ ภาพความสำเร็จ (Success) การบริหารจัดการ (Management) การกำกับติดตาม (Monitoring) ยกเว้นการกำหนดโครงสร้าง (Structure) อยู่ในระดับคุณภาพ มากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีมีระบบการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กรที่ค่อนข้างเข้มแข็ง  มีวัฒนธรรมการทำงานที่ใช้ระบบมาตรฐานในประเทศ คือ มาตรฐานคุณภาพการศึกษาจาก สมศ. และมาตรฐานสากล (ISO) มาใช้ในการบริหารงาน ทำให้บุคลากรภายในโรงเรียนดำเนินงานตามขอบข่ายภารกิจต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบกำกับติดตาม (Audit) ที่เข้มแข็งและสม่ำเสมอ ส่งผลให้ผลลัพธ์ของการใช้คู่มือของการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการที่นำมาใช้ได้ผลในระดับที่น่าพอใจ
                       สรุปภาพรวมของการใช้ระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการของโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ปีการศึกษา 2548 มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
                       ผลจากการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลลัพธ์จากการเข้าร่วมโครงการวิจัยฯ        สัตศิลา พบว่า ผลลัพธ์ที่เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์เด็ก 4 ร. ในภาพรวมเกิดคุณลักษณะ 4 ร. ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาแต่ละคุณลักษณะย่อย พบว่า มีคุณลักษณะต่างๆ อยู่ในระดับมากทุกคุณลักษณะ
                      ปัญหาและอุปสรรค
                      โรงเรียนมีปัญหาและอุปสรรคในด้านการบริหารอาคารสถานที่ไม่เพียงพอ และไม่สมดุลกัน  โดยเฉพาะพื้นที่โรงเรียนและอาคารสิ่งก่อสร้างมีจำกัด  ไม่สอดคล้องกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น  นอกจากนี้ อาคารที่ใช้เป็นโรงอาหารไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน  เนื่องจากใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนด้วย  ทำให้นักเรียนไม่มีสถานที่ในการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

                     ปัญหาที่พบจากการเข้าร่วมโครงการ
                     1. ระยะเวลาในการจัดทำ แก้ไข ทดลองใช้น้อยเกินไป เพราะเมื่อมีการแก้ไขปรับปรุงแล้ว ควรมีระยะเวลาการนำไปใช้จริงๆ อย่างน้อย 1 ภาคเรียน จึงจะสามารถสรุปผลได้ตามจริง
                     2. การสร้างความเข้าใจ และปรับกระบวนทัศน์ของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำในเวลาจำกัดมาก
                     3. การประสานข้อมูลต่างๆ กับฝ่ายอื่นยังไม่ค่อยสะดวกและคล่องตัวแนวทางการแก้ไข ฝ่ายบริหารอาจขยายเวลาของการทดลองใช้คู่มือการบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการ และการให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการสอนแบบ CRP ออกไปอีกระยะหนึ่ง แล้วจึงประเมินผลอีกครั้งว่าได้ผลดีขึ้นตามวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใดแล้วมีการประเมินต่อไปว่า สมควรที่จะสานต่อโครงการ ยุติโครงการ หรือปรับปรุงพัฒนาด้านใดจึงจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อผู้เรียน
                    ข้อเสนอแนะ
                    1. ควรใช้คู่มือการบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการต่อเนื่องไปอีกระยะเวลาหนึ่งเพื่อเห็นผลของการบริหารจัดการที่สมบูรณ์ขึ้น
                          2. การที่นักเรียนมีผลลัพธ์ 4 ร. นั้น  อาจมีตัวแปรอื่นที่ควบคุมไม่ได้  ซึ่งอาจไม่ใช่ผลจากการใช้คู่มือการบริหารสถานศึกษาฉบับนี้อย่างเดียวการดำเนินโครงการอื่นๆ ควรดำเนินการต่อเนื่องไประยะหนึ่ง  ซึ่งผลลัพธ์อาจไม่สามารถปรากฏได้ภายใน 1 ภาคเรียน เช่นการจัดการเรียนการสอนแบบ CRP
โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีมีรูปแบบการบริหารจัดการ (Management)  โดยมีแนวทางการสร้าง ส่งเสริม และสนับสนุนด้านต่างๆ ดังนี้
การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา (Mobilization)
โรงเรียนเฉลิมขวัญได้มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษา  โดยจัดในรูปแบบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สมาคมศิษย์เก่าเฉลิมขวัญสตรี  สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี  และคณะกรรมการสภานักเรียน  ทั้งนี้รายได้จากการระดมทรัพยากรนำมาใช้ในการจัดการศึกษาทั้งหมด  การนำงบประมาณ เงินอุดหนุนบำรุงการศึกษา และเงินรายได้ของสถานศึกษามาใช้จะผ่านการเสนอขอของคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี
การวางกลยุทธ์และการขับเคลื่อนกลยุทธ์สำคัญ (Strategy)
                โรงเรียนใช้แผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง คือ ใช้ระยะเวลาแผนกลยุทธ์ละ 3 ปี  ปัจจุบันใช้ฉบับปีงบประมาณ 2548-2550 การตรวจสอบ และขับเคลื่อนกลยุทธ์  ใช้หลักการตรวจสอบตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของ สมศ.  ซึ่งโรงเรียนมีขั้นตอนการดำเนินงาน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร ดังนี้
1. การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission)
2. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ของสถานศึกษาเพื่อให้ทราบถึงสถานะพื้นฐานขององค์กร
3. การกำหนดมุมมอง (Perspective) ด้านต่างๆ ที่จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
4. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) และวัตถุประสงค์ ในมุมมองด้านต่างๆ โดยเรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้
4.1 มุมมองด้านผู้เรียน (Student Perspective)
4.2 มุมมองด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process Perspective)
4.3 มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
4.4 มุมมองด้านการเงิน (Financial  Perspective)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ด้านต่างๆ ในลักษณะของเหตุและผล (Cause and Effect Relationship) เพื่อสร้างเป็นแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Map)
6. การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมาย (Target) สำหรับแต่ละมุมมอง พร้อมทั้งเรียงลำดับความสำคัญ
7. การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
8. นำไปสู่การปฏิบัติ
การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Participation)
มีการนำเรื่องการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) มาใช้เป็นนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนบนพื้นฐานการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในระบบ SBM จะต้องมีการจัดทำข้อตกลงหรือธรรมนูญโรงเรียนร่วมกัน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนมีความรู้สึกว่า ตนเป็นเจ้าของสถานศึกษาแห่งนี้ จากนั้นความร่วมมือและความสำเร็จต่างๆ จะตามมา
ความเป็นอิสระและความโดดเด่นทางวิชาการ (Autonomy)
จากการที่โรงเรียนประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำขึ้นของโรงเรียนเองในปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา  โดยมีหลักสูตรแกนกลางจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีสาระเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม และความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  ถือว่ามีความเป็นอิสระและโดดเด่นในด้านวิชาการ  โดยโรงเรียนเน้นด้านวิชาการครอบคลุมทุกสาระการเรียนรู้  โดยผลิตผลพบว่า ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  และประสบความสำเร็จในอาชีพตามศักยภาพของตน  และดำรงตนเป็นพลเมืองในสังคมได้อย่างมีความสุข

                  ผลการสังเคราะห์รูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาเเบบบูรณาการสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
                  รูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาแต่ละแห่งพัฒนารูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้กรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาของคณะผู้วิจัยในระยะที่ 1 ประกอบด้วย  4 องค์ประกอบหลัก  ได้แก่ 1.วาดภาพความสำเร็จ (Success)  2.กำหนดโครงสร้าง (Structure ) 3.บริหารจัดการ (Management) โดยใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ การระดมทรัพยากร (Mobilization)  กลยุทธ์ (Strategy) การมีส่วนร่วม (Participation) และความเป็นอิสระ(Autonomy)  4.ติดตามกำกับ  (Monitoring) โดยการบริหารจัดการศึกษาจะต้องมีการตรวจสอบภายใน และติดตามประเมินผลที่การดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมเป็นระยะๆ  เพื่อปรับปรุงแก้ไขจนบรรลุจุดมุ่งหมาย โดยมีผลลัพธ์สุดท้าย คือทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ 4 ร.
                 ลักษณะการบริหารจัดการ (Management) โดยใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อนนั้นมีรูปแบบการบูรณาการเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่
1. ยึดโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรเป็นหลัก เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีโครงสร้างการบริหารงาน 6 กลุ่ม และ 1 หน่วย ได้แก่ 1.กลุ่มอำนวยการ 2.กลุ่มบริหารงานบุคคล        3.กลุ่มนโยบายและแผน 4.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา 5.กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา 6.กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน 7.หน่วยตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานควบคุมภายใน  ส่วนสถานศึกษาแบ่งเป็น 4 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายการบริหารวิชาการ ฝ่ายการบริหารงบประมาณ ฝ่ายการบริหารงานบุคคล และฝ่ายการบริหารงานทั่วไป แต่ละกลุ่ม/ฝ่าย ใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ในการบริหารจัดการ
2. ยึดโครงการสัตศิลาขององค์กรเป็นหลัก เช่น หลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพของ ผู้เรียน (4F) การพัฒนาครูเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ (CPR) การเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้ (3M) การเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ (NET) เป็นต้น แล้วใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ในการบริหารจัดการ
                   3. ยึดแผนกลยุทธ์ขององค์กรเป็นหลัก แล้วใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ในการบริหารจัดการ
  4. ยึดโครงการ/กิจกรรมขององค์กรเป็นหลัก แล้วใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อนการบริหารจัดการบางแห่ง มีมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นยึดโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรและแผนกลยุทธ์เป็นหลัก แล้วใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ในการบริหารจัดการมีการนำ PDCA คือ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามเกณฑ์ (Do) การติดตาม นิเทศการปฏิบัติงาน (Check) และการวิเคราะห์งาน (Action) มาใช้ร่วมกับกระบวนการบริหารจัดการ  
สรุปผลการวิจัย
 1.  รูปแบบทั่วไป (General Model) ของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก การวางแผนบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้ MSPA ของสถานศึกษา จะต้องมีการกำหนดภารงาน จำแนกตามโครงการสร้างบริหารงานของสถานศึกษา ในโรงเรียนทั่วไปจะแบ่งเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การบริหารงบประมาณ 3) การบริหารงานบุคคล 4) การบริหารงานทั่วไป ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่อาจจำแนกตามฝ่าย 7 ฝ่าย เพื่อรองรับการประกันคุณภาพ
 2.  รูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ใช้กลไกในการแปลงรูปแบบทั่วไปให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ (Customized Model) มีระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นผลิตผลจากการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) ให้ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 และผู้บริหารสถานศึกษา สามารถสร้างและแสดงพลังความสามารถในการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการด้วยตนเอง  โดยมีแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบ   บูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก  ได้แก่
 1) วาดภาพความสำเร็จ (Success) การบริหารจัดการศึกษาจะต้องวาดภาพความสำเร็จของเขตพื้นที่การศึกษา  และสถานศึกษา ในด้านวิสัยทัศน์ (Vision) จุดมุ่งหมาย (Goal) บทบาท (Role) และภารกิจ (mission) ที่เป็นภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษา (มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ และ 4 ร.) ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
 2) กำหนดโครงสร้าง (Structure) การบริหารจัดการการศึกษาจะต้องมีการกำหนดโครงสร้างกลุ่มงาน และมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นโครงสร้างการบริหารที่มีความยืดหยุ่น และตอบสนองต่อภารกิจหลัก และมีบรรยากาศที่เป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
 3) บริหารจัดการ (Management) การบริหารจัดการศึกษาจะต้องมีการบูรณาการการบริหารโดยใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ การระดมทรัพยากร การวางกลยุทธ์สำคัญและการขับเคลื่อน  กลยุทธ์ การมีส่วนร่วม และความเป็นอิสระ
 4) ติดตามกำกับ (Monitoring) การบริหารจัดการศึกษา  จะต้องมีการตรวจสอบภายในและติดตามประเมินผลที่ดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขจนบรรลุจุดมุ่งหมาย
 โดยมีกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก 4 กลยุทธ์  ดังนี้
 1) ส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาพและทัดเทียมกัน 
 2) ระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนของสังคมในการจัดการศึกษา  
 3) พัฒนาระบบการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ 
 4) พัฒนามาตรฐานคุณภาพนักเรียนและขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล
 การบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ  โดยใช้ MSPA ของสถานศึกษา มีรูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาที่ใช้หลักการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ  โดยใช้ MSPA  ในการบริหารงาน  และได้จัดทำคู่มือฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานภายในสถานศึกษา  มีสาระสำคัญที่เหมือนกัน  ดังนี้
 1. ความเป็นมาและความสำคัญของระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ
 2. ภาพความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
 3. โครงสร้างการบริหาร
 4. การบริหารจัดการ
 5. การกำกับ  ติดตาม
 6. ข้อจำกัดของการบริหารจัดการและแนวทางแก้ไข
 โดยทุกโรงเรียนต่างนำการบริหารจัดการแบบ MSPA ไปบริหารจัดการในโครงสร้างภารงาน หลักและการกำหนดงาน/โครงการ ให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ เพื่อมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะ 4 ร. ได้แก่ รู้ทัน รู้นำโลก เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ รวมพลังสร้างสรรค์สังคม รักความเป็นไทย ใฝ่สันติ 
 การติดตามกำกับ (Monitoring) พบว่า โรงเรียนทุกโรงเรียนได้มีการตรวจสอบภายในและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้ มีการกำหนดคณะกรรมการ ให้ครูและบุคลากรทุกคนของโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและปรับปรุงเพื่อพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในโรงเรียน กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในโรงเรียน  การปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนด และสรุปผลรายงานการปฏิบัติต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และนำผลการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไข ตามกระบวนการของ PDCA เพื่อใช้รายงานผลการตรวจสอบตนเอง (SAR)

อภิปรายผล
 1.  รูปแบบทั่วไป (General Model) ของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก เมื่อใช้กระบวนการบริหารจัดการของ MSPA เป็นจุดเน้นในการกำหนดภารงาน โครงการ/กิจกรรม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะ 4 ร เป็นกลไกในการแปลงรูปแบบทั่วไปให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ (Customized Model) มีระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นผลิตผลจากการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) ให้ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 และผู้บริหารสถานศึกษา สามารถสร้างและแสดงพลังความสามารถในการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการด้วยตนเอง  โดยมีแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ได้แก่ 1. วาดภาพความสำเร็จ (Success)   2. กำหนดโครงสร้าง (Structure) ที่มีความยืดหยุ่น และตอบสนองต่อภารกิจหลัก และมีบรรยากาศที่เป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 3. บริหารจัดการ (Management) โดยใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ การระดมทรัพยากร การวางกลยุทธ์สำคัญและการขับเคลื่อนกลยุทธ์ การมีส่วนร่วม และความเป็นอิสระ 4. ติดตามกำกับ (Monitoring) การบริหารจัดการศึกษา  จะต้องมีการตรวจสอบภายในและติดตามประเมินผลที่ดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขจนบรรลุจุดมุ่งหมาย โดยกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4 กลยุทธ์ คือ 1) ส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาพและทัดเทียมกัน  2) ระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนของสังคมในการจัดการศึกษา  3) พัฒนาระบบการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  4) พัฒนามาตรฐานคุณภาพนักเรียนและขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล โดยกำหนดแนวทางการบริหารอย่างเป็นระบบ และมีคู่มือฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานภายในสถานศึกษา  มีสาระสำคัญที่ระบุถึง 1)  ความเป็นมาและความสำคัญของระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ  2) ภาพความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ  3) โครงสร้างการบริหาร  4) การบริหารจัดการ  5) การกำกับ  ติดตาม   6) ข้อจำกัดของการบริหารจัดการและแนวทางแก้ไข การวางแผนบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้ MSPA จะต้องกำหนดภารงานจำแนกตามโครงการสร้างบริหารงานของสถานศึกษา และกำหนดงาน/โครงการ ตามภาระงานให้ครบถ้วนครอบคลุม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนมีคุณลักษณะ 4 ร. ได้แก่ รู้ทัน รู้นำโลก  เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ รวมพลังสร้างสรรค์สังคม รักความเป็นไทย ใฝ่สันติ รวมทั้งมีการติดตามกำกับ (Monitoring) โดยมีการกำหนดคณะกรรมการ ให้ครูและบุคลากรทุกคนของโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและปรับปรุงเพื่อพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในโรงเรียน กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในโรงเรียน  การปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนด และสรุปผลรายงานการปฏิบัติต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และนำผลการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไข ทำไปเพื่ออะไร จนเกิดเป็นความเชื่อและเกิดพันธะสัญญาร่วมกันที่จะมุ่งไปสู่การปฏิบัติ แสดงถึงองค์กรเกิดความรู้ที่จะทำสิ่งต่าง ๆอย่างรู้ทิศทาง เชื่อมั่นและยอมรับกันจนเกิดเป็น คุณค่าทางสังคมขององค์กร เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานจากการใช้ความรู้เป็นการใช้ปัญญา เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
 การใช้รูปแบบของระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ (Integrated  Educational Management System, iEMS ) ดำเนินงานให้เกิดการจัดประสบการณ์และสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน ผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบองค์รวม สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตจริงของผู้เรียน  โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานอย่างมีเป้าหมายที่เชื่อมโยงกันของปัจจัยนำเข้า  กระบวนการและผลลัพธ์  ด้วยการระดมทรัพยากรที่หลากหลาย  การวางแผนกลยุทธ์  การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง  และมีความเป็นอิสระคล่องตัวในการบริหารจัดการที่มีขอบเขตและคงความเป็นเอกลักษณ์ของตน รวมทั้งมีการติดตามกำกับตามตัวบ่งชี้คุณภาพที่ชัดเจน จนบรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิผล  ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและศักยภาพเหมาะสมสำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยมีกระบวนการพัฒนาระบบจากการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียนที่คัดสรรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 และ เขต 2 แล้วศึกษาวิเคราะห์กลไกให้ได้รูปแบบเฉพาะสำหรับเขตพื้นที่ (Customized Model) รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการทดสอบรูปแบบภาคสนาม (Model Testing) โดยการนิเทศติดตามการกำหนดให้มีคู่มือการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ของโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 และ เขต 2 มีกิจกรรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจากการประชุมปฏิบัติการ แล้วทำการขยายผลไปยังสถานศึกษาแกนนำ/เครือข่าย โดยใช้กลยุทธ์การติดตามให้จัดทำคู่มือการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน รวมทั้งการนิเทศติดตามให้มีการนำรูปแบบไปใช้และประเมินผลเพื่อปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์และรายงานผลการใช้คู่มือการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เป็นผลผลิตจากการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) ให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสร้างและปล่อยพลังความสามารถในการพัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการด้วยตนเอง เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษา  ระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาประกอบด้วย  4  องค์ประกอบหลัก ได้แก่
 1. วาดภาพความสำเร็จ (Success) การบริหารจัดการการศึกษาจะต้องวาดภาพความสำเร็จ ของสถานศึกษาในด้าน วิสัยทัศน์ (Vision) จุดมุ่งหมาย (Goal) บทบาท (Role) และภารกิจ (Mission) ที่เป็นภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษา (มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติและ 4 ร) ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
 2. กำหนดโครงสร้าง (Structure) การบริหารจัดการการศึกษาจะต้องมีการกำหนดโครงสร้างกลุ่มงาน และมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นโครงสร้างการบริหารที่มีความยืดหยุ่น และตอบสนองต่อภารกิจหลัก และมีบรรยากาศที่เป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
 3.  บริหารจัดการ (Management) การบริหารจัดการการศึกษาจะต้องมีการบูรณาการ                  การบริหารโดยใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ การระดมทรัพยากร (Mobilization) กลยุทธ์(Strategy) การมีส่วนร่วม (Participation) และความเป็นอิสระ (Autonomy) โดยดำเนินการดังนี้
           3.1  การระดมทรัพยากร (Mobilization) โดย การแสวงหาบุคลากร งบประมาณ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งความร่วมมือจากแหล่งต่างๆ ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
           3.2  กลยุทธ์ (Strategy) โดยกำหนดทิศทางและขอบเขตความต้องการในระยะสั้นและระยะยาวขององค์การ เพื่อที่จะจัดสรรทรัพยากรให้สอดคล้องกับบริบท สภาพแวดล้อมในการแข่งขัน ความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และมาตรฐาน
            3.3  การมีส่วนร่วม (Participation)  โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมประชุมปรึกษา หารือ และ/หรือ ร่วมดำเนินการ เพื่อการตัดสินและควบคุมการทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความผูกพันกับงานหรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
                 3.4  ความเป็นอิสระ (Autonomy) โดยจัดระเบียบบริหารบุคลากร ควบคุมทิศทางการจัดการวิชาการต่างๆ รวมทั้งการสรรหาและควบคุมงบประมาณตามอิสรภาพอย่างมีขอบเขต คงความเป็นเอกลักษณ์ และภาวะผู้นำทางวิชาการขององค์การ
 4.  ติดตามกำกับ (Monitoring)  การบริหารจัดการการศึกษา จะต้องมีการตรวจสอบภายใน และติดตามประเมินผลที่การดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขจนบรรลุจุดมุ่งหมาย โดยอาจใช้หลัก PDCA และเน้นการดำเนินการแบบเน้นผลลัพธ์ (Outcome based Approach)

ข้อเสนอแนะ
 ข้อเสนอแนะทั่วไป
 1.  องค์กรจะพัฒนาได้อย่างสูงสุด ด้วยบทบาทที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ (Leadership) สามารถบริหารบนการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีวิสัยทัศน์ โดยเน้นการใช้กลยุทธ์ของการจัดการความรู้ควบคู่ไปกับการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยความเข้าใจในกระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ๆ ที่มีความละเอียดอ่อน และซับซ้อน จำนวนมาก  เช่น มาตรฐานการเรียนรู้สำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรี

หมายเลขบันทึก: 65996เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท