ร่วมด้วยช่วยพัฒนาชุมชนต้นแบบ (๑) : เทศบาลตำบลท่าขอนยาง: (๑) การบริหารจัดการขยะ_๐๑: การประชุมระดมสมองกำหนดแนวทางการจัดการขยะของสภาเทศบาลตำบทท่าขอนยาง


วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมพิเศษของสภาเทศบาลตำบลท่าขอนยาง เขตเทศบาลที่มีประชากรแฝงกว่า ๓ หมื่นคนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นการประชุมระดมสมองเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยมีนายอำเภอกันทรวิชัยเป็นประธาน และมีหลายฝ่ายมาร่วมประชุม สำคัญ ๆ ดังนี้

  • นายอำเภอกันทรวิชัย 
  • นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าขอนยาง พร้อมทีมงานผู้บริหารและบุคลากรของเทศบาลฯ 
  • สมาชิกสภาพเทศบาลฯ นำโดยประธานสภาฯ
  • ทองถิ่นอำเภอกันทรวิชัย 
  • ปลัดเทศบาลฯ
  • ตัวแทนผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เครือข่ายสภาฮักแพงเมิ่งแยงคนมหาสารคาม 
  • กำนัน 
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ฯลฯ
เป็นการประชุมที่ครบถ้วนเชิงโครงสร้างบริหารชุมชนครั้งหนึ่งที่เคยได้เข้าร่วม 

๑) นโยบายจากนายอำเภอ


ก่อนจะเริ่มการประชุม ท่านนายอำเภอได้แจ้งเพื่อทราบและมอบนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล สำคัญ ๆ ๓ ประเด็น ได้แก่ 
  • รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัด "แผนปฏิบัติการ ๖๐ วันแยกก่อนทิ้ง" โดยเริ่มตั้งแต่ ๙ มกราคม ๒๕๖๒ เนื่องจากการขับเคลื่อนเรื่องการจัดการขยะของกระทรวงมหาดไทยที่ประกาศใช้มา ๓ ปีนั้น ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร จึงได้มอบหมายให้ผู้นำทุกจังหวัด ทุกอำเภอลงพื้นที่ขับเคลื่อนกันอย่างจริงจัง  เพราะขณะนี้ปัญหาขยะเริ่มกระทบการท่องเที่ยว สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมแล้ว
  • แนวปฏิบัติที่กำหนดจากกระทรวงมหาดไทย ที่มอบให้กรมการปกครองมาดำเนินการตามลำดับขั้น มีดังนี้ 
    • ศึกษาสภาพปัญหาและการจัดการขยะของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร 
    • ให้แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ  (Cluster) หรือ คลัสเตอร์  
    • ให้แต่ละกลุ่มไปกำหนดหาวิธีการ แล้วกำหนดเป็นนโยบายและแผนของแต่ละคลัสเตอร์ 
      • จังหวัดมหาสารคามแบ่งเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ ที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม อำเภอแกดำ และอำเภอกันทรวิชัย ซึ่งทั้งสามแห่งนี้ ปัจจุบันเก็บขนขยะไปทิ้งที่บ่อขยะหนองปลิง
    • ให้นำแผนการจัดการขยะของแต่ละคลัสเตอร์เสนอต่อกระทรวงต่อไป 
      • คลัสเตอร์ที่ ๑ ที่กันทรวิชัยอยู่นั้น ได้กำหนดแนวทางแล้วว่า ให้เอกชนเข้ามาสร้างโรงงานสร้างไฟฟ้าจากเตาเผาขยะ (มอบเอกชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์) 
      • ขยะในเขตอำเภอเมือง แกดำ และกันทรวิชัย ส่งไปเข้าโรงงานต่อไป
  • ปัญหาคือ ในระยะเวลาระหว่างการก่อสร้างโรงเผาขยะ ๓-๔  ปีนี้  เราจะจัดการขยะอย่างไร  เป็นโจทย์หลักของการประชุมระดมสมองในวันนี้ 
    • เราจะทำอย่างไรให้เกิดขยะน้อยที่สุด เพื่อลดภาระด้านการขนย้าย 
      • รัฐบาลส่งเสริมให้ใช้ 3Rs เรียกว่า "สามอาร์ประชารัฐ" หรือ "๓ช." คือ ใช้น้อย ใช้ใหม่ และใช้ซ้ำ 
      • บางหมู่บ้างทำสำเร็จโดยการทำถังหมักครัวเรือน คือแยกขยะเปียกไปทำปุ๋ย 
      • บาง อบต. มอบหมายกำหนดไม่ให้มีถังขยะเลย ไม่มีเก็บขนขยะ ... ซึ่งหากนำไปเผาสู่บรรยากาศ อาจเกิดสารพิษ และก๊าซเรือนกระจกได้ 
      • บาง อบต. จัดบริเวณที่ทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งไม่ถูกต้อง จะเกิดปัญหาในอนาคต
      • ฯลฯ 
    • เราจะมีมาตรการอย่างไรให้กระบวนการเก็บขนและกำจัดขยะมีประสิทธิภาพที่สุด 
      • บางแห่ง ใช้ถังขยะสีต่าง ๆ แยกเช่น ถังเหลืองขยะรีไซเคิล ถังน้ำเงินขยะทั่วไป ฯลฯ 
      • บางแห่ง ให้ใช้เชือกฟางสีเป็นสัญลักษณ์ มัดปากถุง 
      • ฯลฯ 
    • เราจะสร้างการรับรู้และสร้างจิตสำนึกต่อการคัดแยกและจัดการขยะได้อย่างไร 
๒) แจ้งเพื่อทราบข้อมูลและสภาพปัญหา

ก่อนจะเริ่มระดมสมอง นายยกเทศมนตรีได้ให้โอกาสผมนำเสนอผลการศึกษาและการดำเนินการของรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ในภาคเรียนที่ ๑ - ๒๕๖๑ ที่ผ่าน ... ด้วยเวลาที่จำกัดจึงนำเสนอได้เพียงบางส่วนของผลงานนิสิตจากหลักสูตร EIC จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บางส่วนดังคลิบด้านล่าง 





และได้นำเสนอข้อมูลการก่อขยะในแต่ละวันที่สูงถึง ๓๐ ตัน ซึ่งเก็บขนได้ไม่หมด จึงก่อปัญหาขยะสะสม  สาเหตุปัญหาหลัก 
  • ปัญหาน้ำหนักของขยะ ส่วนใหญ่มาจากขยะเปียก เช่น เศษอาหาร น้ำหวานหรือน้ำจากน้ำแข็งในแก้วพลาสติที่ไม่เทก่อนทิ้ง ฯลฯ 
  • ร้านอาหาร ร้านค้า ร้านเครื่องดื่ม (กากกาแฟ เปลือกผลไม้) 
  • ขยะจากหอพัก 
  • ไม่มีการแยกขยะก่อนทิ้ง 
  • คนไม่มีจิตสำนึกในการจัดการขยะ
ผศ.ดร.ชลธี โพธิ์ทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ ได้นำเสนอข้อมูลการจัดการขยะภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยต่อที่ประชุม  
  • นิสิตที่อยู่ในมหาวิทยาลัยมีประมาณ ๔๕,๐๐๐ คน 
  • ในมหาวิทยาลัยมีโรงคัดแยกขยะภายใน จากการเก็บข้อมูลที่่ผ่านมาพบว่า 
    • ในแต่ละวันจะมีขยะประมาณ ๘-๑๐ ตันต่อวัน
    • ขยะพลาสติก ๔๐ เปอร์เซ็นต์
    • ขยะอินทรีย์ ๒๐ เปอร์เซ็นต์
    • อื่นๆ ๔๐ เปอร์เซ็นต์
  • นโยบายที่มหาวิทยาลัยดำเนินการอยู่ 
    • ลดขยะจากต้นทางร้านค้า  ร้านขายน้ำ-กาแฟ  ถ้านำแก้วมาเองจะได้ลด ๕ บาทต่อแก้ว 
    • ร้านสะดวกซื้อภายในมหาวิทยาลัย ไม่ให้ใช้ถุงพลาสติก 
    • โครงการขยะแลกไข่ที่ได้จากฟาร์มหาวิทยาลัย 
    • โครงการธนาคารขยะในหอพักมหาวิทยาลัย 
๔) ระดมสมองการจัดการขยะในเขตเทศบาล

ฝ่ายเลขาฯ ได้ทำตุ๊กตา แนวปฏิบัติและมาตรการที่จะดำเนินการต่อที่ประชุม ให้ที่ประชุม 

  • การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน
    • แต่งตั้งคณะทำงานทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการ และฝ่ายประเมินผล 
    • ยกร่างเทศบัญญัติการจัดการสิ่งปฏกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖...  
      • เก็บค่าจัดการขยะ ครัวเรือนละ ๒๐ บาท ร้านค้าก็ ๒๐ บาท กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้มาทำเทศบัญญัติเป็น ๑๕๐ บาทต่อครัวเรือน ขณะนี้ยังไม่สำเร็จ 
    • ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึก
      • จัดอบรมบุคลากร ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า ชาวบ้าน นิิสิต ฯลฯ 
    • ประกาศเส้นทางจัดเก็บขยะมูลฝอย (เป้าหมายคือ ไม่ให้ขยะตกค้าง)
      • ทุกจุดวางหน้าบ้านก่อน ๗.๐๐ น. 
      • กำหนดเส้นทางการเก็บขน ๔ เส้น 
    • เพิ่มพื้นที่จัดการขยะ ๒๕ จุด (ยังไม่ได้ทำ)
    • กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม
      • ทำผ้าป่ารีไซด์เคิล 
    • ฯลฯ
  • การบันทึกข้อมูลและรายงานผล 
  • การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ 
    • ส่งเสริมให้ความรู้
    • ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักจากมูลใส้เดือน 
    • นำขยะเปียกไปทำปุ๋ยหมัก 
ตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
  • ลดขยะจากต้นทาง 
    • หลีกเลี่ยงไม่ให้ใช้พลาสติกและโฟม 
    • น้ำมันเก่าแลกน้ำมันใหม่ 
    • ให้ใช้ภาชนะที่ไม่ก่อขยะ  เช่น  เบรคต่าง ๆ ในที่ประชุม ให้ใช้ภาชนะที่ย่อยสลายได้ 
  • เทศบาลฯ หมู่ ๒ ตอนนี้กำลังจะทำ "ผ้าป่าขยะ" 
    • ให้ทุกคนเอาขยะรีไซเคิลมาบริจาค 
    • นำขยะไปขาย 
    • นำเงินที่ได้ไปทำบุญ 
ท่านนายกเทศมนตรีฯ
  • แยกขยะอินทรีย์ก่อน 
    • เตรียมถังทิ้งขยะอินทรีย์ตามจุดต่าง ๆ 
    • เก็บขนทุกวัน 
    • นำไปทำปุ๋ย ณ บริเวณที่เทศบาลฯ 
      • ขุดหลุมขนาด กว้าง ๒ เมตร ยาว ๔ เมตร  ซึ่งต้องผ่านการประชาคมของหมู่บ้าน ... หากไม่ผ่านจริง ๆ อาจจะใช้พื้นที่อื่นที่เทศบาลดูแล 
      • เอาขยะเปียกที่ได้ไปทิ้งและฝังกลบทุกวัน (เป็นชั้น ๆ)  รดด้วยจุลินทรีย์ชีวภาพ เช่น น้ำหมักจาก พ.ด. ๑ เพื่อกำจัดกลิ่น ฯลฯ  เมื่อเต็มแล้วจึงย้ายไปหลุมใหม่ 
      • หมักไว้นาน ๓ เดือน จึงนำมาผลิตเป็นปุ๋ยสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 
    • เริ่มดำเนินการหมู่ที่ ๒ เป็นตัวอย่างก่อน แล้วขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป 
ประธานสภาเทศบาล
  • ลดขยะจากผู้ประกอบการ เช่น 
    • ร้านค้า ร้านขายของชำ ไม่ให้ใช้ถุงพลาสติก 
    • ร้านอาหารห้ามใช้โฟม 
  • ลดขยะจากชุมชน 
    • ให้มหาวิทยาลัยและ อสม. เข้าไปช่วยส่งเสริมหรือทำเป็นตัวอย่างในการจัดการขยะในครัวเรือน ทุกชุมชน 
สมากชิกต่าง ๆ เสนอ
  • อยากให้มีการศึกษาและสำรวจแหล่งก่อขยะอย่างเป็นระบบ 
    • Mapping เขียนแผนที่การเกิดและการไหล (flow) ของขยะ 
    • ทำแผนที่เส้นทางและตารางการเก็บขนขยะ เพื่อสื่อสารอย่างชัดเจน 
ปลัดเทศบาลฯ 
  • สร้างเครือข่ายการจัดการขยะเปียกจากผู้ทีต้องการเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ หรือ "ถังข้าวหมู" 
    • ประสานให้ร้านอาหารแยกเศษอาหารที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ออกจากขยะเปียกทั่วไป 
    • ติดต่อให้ผู้เลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงหมู) มารับ "ถังข้าวหมู" 
ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีฯ
  • ซื้อถุงช่วยแยกขยะประเภทต่าง ๆ นำไปให้ (ขายให้) ร้านค้า ร้านอาหาร เพื่อส่งเสริมการคัดแยกจากขยะจากร้านค้า และช่วยลดปริมาณ (ทิ้งมาก ต้องซื้อถุงจากเทศบาลมาก)
ตัวแทนสภาฮักแพง
  • เก็บข้อมูลการก่อขยะอย่างเป็นระบบและเก็บละเอียด 
    • ตำบลสีสุข เป็นตัวอย่างที่ดีในการคัดแยกขยะและเก็บข้อมูล 
    • แยกเป็น ๒ ส่วน คือ ประชากรหลัก และประชากรแฝง  
    • กำหนดจุดทิ้งขยะอย่างเป็นระบบ เป็นจุด ๆ สอดคล้องกับเส้นทางการเก็บขน 
ผมเสนอ 
  • ตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการเรื่องนี้ขึ้นมา โดยมีคีย์สำคัญ ๆ ของแต่ละหน่วยปฏิบัติการเข้ามาเป็นกรรมการ 
    • ท่านนายกฯ อาจจะเป็นประธานเอง โดยมีปลัดเทศบาลฯ เป็นเลขาฯ 
    • มีบุคลากรจากเทศบาลเป็นทีมเลขาฯ 
    • มีตัวแทนมหาวิทยาลัยฝ่ายต่าง ๆ สำคัญ ๆ ดังนี้ 
      • ตัวแทนผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ... น่าจะเป็นผู้ช่วยอธิการ 
      • ผู้ประสานงานรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน .... ผมเอง
      • ตัวแทนนักวิชาการจากคณะการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    • มีตัวแทนผู้นำชุมชน คือ กำนันทุกตำบล 
    • มีตัวแทนจากภาคประชาสังคม ...เครือข่ายฮักแพง เมิ่งแงงคนมหาสารคาม 
    • ฯลฯ 
  • คณะอนุกรรมการฯ นี้ ทำหน้าที่ดังนี้ 
    • ศึกษาสำรวจข้อมูลอย่างเป็นระบบ
    • ร่างแผนปฏิบัติการและออกแบบวิธีการดำเนินการในการบริหารจัดกรขยะ 
      • ทุกหน่วยงานองค์กรต้องแยกขยะอย่างจริงจัง (ต้องทำด้วยตนเองก่อน)
      • ทำแผนที่การก่อขยะและเส้นทางการเก็บขนขยะที่ชัดเจน 
      • นำเสนอแผนให้กรรมการบริหารจัดการขยะหรือสภาเทศบาลพิจารณาอนุมัติ กำหนดเป็นแผนปฏิบัติ 
    • อบรม พัฒนา บุคลากร สื่อสาร สร้างการรับรู้ต่อคนในชุมชน  
      • สื่อสารวิธีการที่กำหนดให้ทุกคนรับรู้ตรงกัน ดำเนินการตามแผนงานอย่างสอดคล้องกัน 
      • เทศบาลกำหนดและประกาศเทศบัญญัติ และสื่อสารกับห้างร้าน ผู้ประกอบการต่าง ๆ 
      • มหาวิทยาลัยสื่อสาร รณรงค์ และสร้างกลไกให้นิสิตในหอพักแยกและจัดการขยะอย่างจริงจัง 
      • เทศบาลเก็บขนขยะทั่วไปและขยะรีไซเคิล กำจัดกขยะเปียกตามแผน 
      • ฯลฯ 
    • ประเมินผล 
      • จัดเก็บข้อมูลการก่อขยะ การเก็บขนขยะ และการกำจัดขยะ อย่างต่อเนื่อง 
      • จัดทำรายงานการบริหารจัดการขยะของเทศบาล 
      • นำเสนอต่อกรรมการชุดใหญ่เพื่อให้ประเมินผลลัพธ์ต่อไป 
ตัวแทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
  • ทุกหน่วยงานดำเนินการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ 
    • ขณะนี้ รพสต. ได้ดำเนินการส่งเสริมไม่ให้ใช้ภาชนะจากพลาสติก ให้ใช้ตระกล้าแทน ไม่จำเป็นไม่ก่อขยะ 
ผอ.กองสาธารณสุข 
  • แหล่งกำเนิดขยะหลักเลยคือหอพัก หากนิสิตคัดแยกขยะได้ เทศบาลกำหนดจุดทิ้งขยะไปเก็บขน จะสามารถช่วยได้มาก 

๕) นายอำเภอสรุป

นายอำเภอสรุปเป็นหลักการในการจัดการขยะดังนี้
  • ต้องมีการศึกษาและจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ 
    • ทำผังการเกิดขยะ Mapping ปริมาณการก่อขยะ
    • ถอดบทเรียนความสำเร็จจากชุมชนที่ทำแล้วได้ผล เพื่อนำมาขยายผล
  • ต้องมีแผนปฏิบ้ัติงาน ออกแบบวิธีการอย่างเชื่อมโยง 
    • มีแผนที่เส้นทางเก็บขนขยะและจุดทิ้งขยะชัดเจน
    • ฯลฯ
  • ต้องมีกิจกรรมหรือมาตรการต่าง ๆ  ได้แก่ 
    • บ่อดินฝังกลับปุ๋ยหมัก 
    • เครือข่าย "ถังข้าวหมู" 
    • ผ้าป่าขยะ 
    • กิจกรรมรณรงค์ สร้างจิตสำนึกต่าง ๆ 
    • ฯลฯ
  • ประเมินผล 
    • ให้ตรวจสอบจากปริมาณขยะที่นำไปทิ้งที่บ่อขยะหนองปลิง และปริมาณขยะสะสมที่เหลือ 
ท่านนายอำเภอให้แนวทางว่า ในทางปฏิบัติจะตั้งอนุกรรมการขึ้นมาหรือไม่อย่างไร หรือจะมีผู้ประกอบการมาร่วมอย่างไรให้ทีมทำงานไปหารือกันต่อและปฏิบัติได้เลย 

ผมเสนอกับท่านปลัดเทศบาลฯ ซึ่งเป็นแม่งานหลักในฝ่ายปฏิบัติการว่า ท่านสามารถตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาและเชิญประชุมได้เลย เพื่อกำหนดแผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อมาทำ Mapping ข้อมูลขยะ และถ้าดำเนินการได้ทัน อาจนำข้อมูลมานำเสนอในที่ประชุมสภาฯ ต่อไป 

(๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ปรับเปลี่ยนชื่อบันทึกให้ง่ายต่อการสืบค้น ติดตาม)

หมายเลขบันทึก: 659950เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2019 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2019 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท