เตือนนักหวดกอล์ฟ-หิ้วถุงหนัก ระวังโรคนิ้วล็อค-งอ-เหยียดยาก


นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและผู้ชำนาญการในการรักษาโรคนิ้วล็อค ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวว่า โรคนิ้วล็อคเป็นมาแต่กำเนิดน้อยมาก นอกจากนั้นพบในกลุ่มที่ใช้มือหนักๆ ซ้ำๆ กัน โดยอาชีพที่มีความเสี่ยงโรคนิ้วล็อคและต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ แม่บ้านหิ้วถุงหนักๆ หิ้วถังน้ำ การใช้มือบิดผ้าแรงๆ การสับหมู กวาดบ้านคนสวนตัดแต่งกิ่งไม้ ฟันต้นไม้ ขุดดิน คนที่ต้องยกของหนักส่งถังน้ำ ถังแก็ส ยกลังน้ำขวด ช่างไฟฟ้า แม่ครัว คนพิมพ์คอมพิวเตอร์ คนทำขนมนวดแป้ง หมอฟัน ครู หมอนวดแผนโบราณ นักกีฬาแบดมินตัน นักกอล์ฟ

  เตือนนักหวดกอล์ฟ-หิ้วถุงหนัก ระวังโรคนิ้วล็อค-งอ-เหยียดยาก  
  ข่าวจาก มติชน 6 ธ.ค. 47 [อ่าน:22|ตอบ:0]  

  เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ้วล็อคชนิดไม่ต้องผ่าตัด ฟรี จำนวน 79 ราย ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช ที่อาคารสเตททาวเวอร์ สีลม จัดโดยสโมสรโรตารี่ภาค 3350 เขตเจริญนคร และพระโขนง โดยมี นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน เป็นแพทย์ผู้ทำการรักษา

นางสุดารัตน์กล่าวว่า การรักษาฟรีครั้งนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหานิ้วมืองอผิดปกติ หรือที่วงการแพทย์เรียกว่าโรคนิ้วล็อคให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยบรรจุการรักษาโรคนิ้วล็อคให้อยู่ในโครงการ 30 บาทแล้ว ทั้งนี้โรคนิ้วล็อคเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีการใช้งานของมืออย่างรุนแรง หรือใช้มือผิดวิธี เช่นหิ้วของหนักๆ ซ้ำๆ พบในผู้หญิงถึง 80% โดยเฉพาะในวัยกลางคน อายุ 50-60 ปี ส่วนในผู้ชายพบเพียง 20% ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี โดยจะมีอาการเริ่มเจ็บบริเวณโคนนิ้วเวลากระดิกนิ้วจะมีอาการเจ็บ เวลางอหรือเหยียดนิ้วจะไม่คล่องตัว โดยนิ้วที่พบปัญหาล็อคได้บ่อยที่สุดคือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วนาง

นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและผู้ชำนาญการในการรักษาโรคนิ้วล็อค ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวว่า โรคนิ้วล็อคเป็นมาแต่กำเนิดน้อยมาก นอกจากนั้นพบในกลุ่มที่ใช้มือหนักๆ ซ้ำๆ กัน โดยอาชีพที่มีความเสี่ยงโรคนิ้วล็อคและต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ แม่บ้านหิ้วถุงหนักๆ หิ้วถังน้ำ การใช้มือบิดผ้าแรงๆ การสับหมู กวาดบ้านคนสวนตัดแต่งกิ่งไม้ ฟันต้นไม้ ขุดดิน คนที่ต้องยกของหนักส่งถังน้ำ ถังแก็ส ยกลังน้ำขวด ช่างไฟฟ้า แม่ครัว คนพิมพ์คอมพิวเตอร์ คนทำขนมนวดแป้ง หมอฟัน ครู หมอนวดแผนโบราณ นักกีฬาแบดมินตัน นักกอล์ฟ พนักงานธนาคารที่หิ้วถุงเหรียญหนักๆ เป็นประจำ เป็นต้น ปัจจุบันได้ริเริ่มใช้วิธีการเจาะรักษาแทนการผ่าตัดใช้เวลาผ่าตัดเพียง 5 นาที ตั้งแต่ปี 2542-2547 ได้รักษาผู้ป่วยไปแล้วกว่า 4,000 ราย จำนวนกว่า 6,100 นิ้ว ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 32 ราย 46 นิ้ว ผลการรักษาได้ผลดี เสียค่าใช้จ่ายถูกเพียง 2,000 บาท สำหรับการป้องกันนิ้วล็อคควรใส่ถุงมือหนาๆ
 

  ที่มา: http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01lif03061247&show=1§ionid=0132&day=2004/12/06
หมวดข่าว: สุขภาพทั่วไป, โรคและอาการ
คำสำคัญ: การแพทย์,ขนม,แป้ง,ผ่าตัด,ฟัน,ไฟฟ้า,บิด,ขนม,โค,นม,หมู,กระทรวงสาธารณสุข,ผ่าตัด,การแพทย์,พยาบาล,การรักษาโรค,ไฟฟ้า,การผ่าตัด,การแพทย์,การรักษา,คอมพิวเตอร์,ธนาคาร,พระ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6599เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2005 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท