อาจารย์ทวีศักดิ์
อาจารย์ อาจารย์ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ

สุขภาพจิตวัยรุ่น3


อารมณ์ที่พบเสมอในเด็กวัยรุ่น

         สภาพทางอารมณ์ของเด็ก เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นมักมีอารมณ์ไม่ค่อยคงที่ คือ เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว ลักษณะอารมณ์ที่พบเสมอในเด็กวัยรุ่น คือ
ก. วิตกกังวล โดยเฉพาะผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย รูปร่างหน้าตา รวมทั้งกังวลเกี่ยวกับอารมณ์เพศที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพบมากในวัยรุ่นชาย และความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในครอบครัว ฐานะในสังคม ชีวิตอนาคต
ข. อารมณ์วู่วาม หงุดหงิด น้อยใจง่าย โกรธ และก้าวร้าว
ค. อารมณ์ผันผวน ไม่หนักแน่น ขึ้นๆ ลงๆ เปลี่ยนอารมณ์จากเริงร่าไปเป็นอารมณ์เศร้า ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ
ง. มีอารมณ์รักร่วมเพศ ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทึ่พบในวัยรุ่นคือ
ต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน
เชื่อถือ และรับฟังเพื่อนมากกว่าพ่อแม่
คิดดูถูกดูแคลนพ่อแม่และผู้ใหญ่
พยายามปลีกตัวห่างจากพ่อแม่ เพื่อหัดดูแลรับผิดชอบตนเอง
เริ่มสนใจที่จะมีเพื่อนต่างเพศ แต่อารมณ์รักมักหวือหวา เปลี่ยนแปลงง่าย
ชอบเปรียบเทียบตนเองและเพื่อนฝูง รู้สึกมีปมด้อย ท้อแท้ใจได้ง่ายๆ
ปัญหาเกี่ยวกับจิตใจ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การมีอารมณ์ทางเพศและความขัดแย้งในค่านิยมของสังคม ทำให้มีเด็กมีลักษณะอารมณ์ต่างๆ ออกมา เหตุการณ์ที่สำคัญที่ทำให้วัยรุ่นเกิดปัญหาทางจิตใจ อารมณ์และสังคม ได้แก่

การมีวุฒิภาวะทางเพศ การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะเพศ ทำให้วัยรุ่นที่ไม่ได้รับการเตรียมตัว เกิดความวิตกกังวล อาจรู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจ เมื่อคิดว่าตนเองไม่เหมือนเพื่อนๆ
พฤติกรรมทางเพศ จากแรงผลักดันของเพื่อน สื่อมวลชน และแม้แต่ผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัวเด็ก อาจทำให้เด็กมีเพศสัมพันธ์โดยที่ยังไม่พร้อม ความรู้สึกครั้งแรกต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีความหมาย ต่อการพัฒนาทางเพศในระยะต่อมา เด็กที่รู้สึกเจ็บปวด ผิดหวัง เสียใจ และอับอายต่อเรื่องนี้ครั้งแรก จะเป็นต้นเหตุของพฤติกรรมทางเพศ ที่ผิดปกติภายหลังได้
การเข้าถึงบริการคุมกำเนิด มักจะเป็นปัญหาที่พบบ่อยในวัยรุ่น ที่มีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่มักไม่ได้เตรียมตัวในการป้องกัน โดยวัยรุ่นมักจะอายที่จะใช้ เพิกเฉยที่จะเรียนรูวิธีใช้แต่ละวิธี และมักเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผล หรือมีความรู้สึกว่าการใช้วิธีคุมกำเนิด มีผลเสียต่อความสนุกทางเพศ หรือมักจะแล้วแต่ว่าคู่ของตนจะยอมใช้หรือไม่ จึงทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการขึ้น
การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ
การทำแท้ง
การเป็นพ่อแม่ก่อนวัยอันสมควร
การแต่งงานก่อนวัยอันสมควร
การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ติดยาเสพติด การชอบเสี่ยงภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นอุปนิสัยของวัยรุ่นที่ต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน และชอบทดลองเสี่ยงภัย ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้น วัยรุ่นที่ไม่มีสัมพันธภาพอันดีกับพ่อแม่ จะยิ่งกังวลแก้ไขปัญหาในทางที่ไม่ถูก อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
การรับประทานอาหาร ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ และโภชนาการเกิน

หมายเลขบันทึก: 65989เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากให้อาจารย์ทวีศักดิ์ นำบทความแบบนี้มาเผยแพร่อีกนะคะ

มีสาระมากๆเลย

จะรออ่านฉบับหน้านะคะ

ทำให้เข้าใจอารมณ์ของเด็กอีกเยอะเลยล่ะครับ ดีมากๆ 

อยากให้อาจารย์นำเนื้อหามาให้มากกว่านี้เพื่อที่จะได้มีข้อมูลที่หลากหลาย

ปล. อาจารย์ค่ะเกียรติ ."นิยิม" เป็นอย่างไรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท