การพัฒนาหลักสูตร


การพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมเป็นหัวใจให้เกิดการศึกษาที่มีคุณภาพ

หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่จะต้องปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และมีการวางแผนการดำเนินงานเป็นอย่างดีจึงจะทำให้ได้หลักสูตรที่มีคุณค่าสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาและตรงตามความต้องการของผู้เรียน สังคม และการพัฒนาแบบยั่งยืน หลักสูตรมี 3 ระดับ คือ หลักสูตรระดับชาติ หลักสูตรระดับท้องถิ่น และหลักสูตรระดับโรงเรียนที่เป็นหัวใจสำคัญ

การพัฒนาหรือจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานักพัฒนาหลักสูตรสามารถนำรูปแบบการสร้างหลักสูตรของนักการศึกษาต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นไปปรับประยุกต์ ในการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับรายวิชากับสภาพท้องถิ่น สภาพความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน รวมทั้งปรับรายวิชาต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนอาจปรับลดหรือปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพหรือความสะดวกในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้1.  ศึกษาปัญหา  วิเคราะห์สภาพปัญหา  เพื่อกำหนดความต้องการ2.  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง3.  จัดสาระการเรียนรู้  กำหนดคำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรู้4.  จัดทำเอกสารหลักสูตร  เอกสารประกอบหลักสูตร  สื่อการเรียนการสอน5.  จัดทำแนวการวัดผลประเมินผล                แนวคิดพื้นฐานในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา             หลักการสำคัญในการพัฒนาและจัดหลักสูตรสถานศึกษา เป็นกระบวนการการบริหารและการจัดการศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School - Based Management) โดยมีหลักการสำคัญ ได้แก่1.  หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นการกระจายอำนาจ การจัดการศึกษาของกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่า โรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก2.  หลักการมีส่วนร่วม (Participation of Collaboration or Involvement) เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษาของรัฐ ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน ตัวแทนศิษย์เก่าและตัวแทนนักเรียน การที่บุคคลมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและรับผิดชอบในการจัดการศึกษามากขึ้น3.       หลักการบริหารตนเอง (Self Management) ในระบบการศึกษา   ทั่วไป มักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนจึงไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง  สำหรับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น ไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายของส่วนรวม แต่มีความเชื่อว่า วิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น ทำได้หลายวิธีการที่ส่วนกลางทำหน้าที่เพียงกำหนดนโยบายและเป้าหมายแล้วปล่อยให้โรงเรียนมีระบบการบริหารด้วยตนเอง โดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งอาจดำเนินการได้หลากหลายด้วยวิธีที่แตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมและสถานการณ์ของโรงเรียน ผลที่ได้น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมที่ทุกอย่างถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม4.  หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นไปตามข้อกำหนดและนโยบายของชาติ จากหลักการดังกล่าว ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จะเป็นการบริหารงานที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่ารูปแบบการจัดการศึกษาที่ผ่านมา                   ความหมายของหลักสูตรสถานศึกษา                   สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา (2545. หน้า 28) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรสถานศึกษาไว้ว่า หลักสูตรสถานศึกษา เป็นแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการศึกษาที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ โดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตน รวมถึงลำดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสม  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคมและโลกอย่างมีความสุข ดังนั้น หลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วยการเรียนรู้และประสบการณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องการเรียนเพิ่มเติมเป็นรายปี/รายภาค จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละปี/ภาค และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน                   ความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา                   สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา (2545. หน้า 28-29) กล่าวว่า หลักสูตรสถานศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน หลักสูตรจะชี้แนะให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้สามารถจัดมวลประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จนบรรลุผลตามจุดหมายของการจัดการศึกษา สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น วัด หน่วยงาน และสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายสำคัญของหลักสูตรสองประการ  จุดมุ่งหมายทั้งสองประการนี้จะให้แนวทางที่สำคัญ ซึ่งสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรภายในบริบทและแนวทางนั้น ๆ ดังนี้1.  หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้เด็กเกิดความสนุกและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ เปรียบเสมือนเป็นวิธีสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด มีความรู้สูงสุด สำหรับผู้เรียนทุกคนควรสร้างความเข้มแข็ง ความสนใจและประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความมั่นใจในการเรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้  สำคัญ ๆ ในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ได้ข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็นและมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล2.  หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคมและวัฒนธรรม และโดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด เข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม  หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียนและช่วยให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้เป็นธรรมขึ้น มีความเสมอภาค ควรพัฒนาความตระหนัก เข้าใจและยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูลเป็นอิสระและเข้าใจในความรับผิดชอบ                   กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา                   สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา (2545. หน้า 29-30) และวัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545. หน้า 7-9) กล่าวว่า หลักสูตรจะต้องสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา  ผู้สอนต้องปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้และประเมินกระบวนการเรียนรู้ของตน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การศึกษาจะเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หากมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการและความจำเป็นตลอดเวลา                   การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จึงเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญในการบริหารจัดการหลักสูตร  ซึ่งภารกิจในการบริหารจัดการหลักสูตร ประกอบด้วย                   ภารกิจที่ 1 การเตรียมความพร้อม                   ภารกิจที่ 2 การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา                   ภารกิจที่ 3 การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร                   ภารกิจที่ 4 การดำเนินการบริหารหลักสูตร (ใช้หลักสูตร)                   ภารกิจที่ 5 การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล                   ภารกิจที่ 6 การสรุปผลการดำเนินงาน                   ภารกิจที่ 7 การปรับปรุงพัฒนา                   รายละเอียดภารกิจของสถานศึกษาในการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรดำเนินการดังนี้                    ภารกิจที่ 1 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา                   1.  สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน นักเรียน ทั้งนี้เพื่อให้เห็นความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา                   2.  ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของสถานศึกษาตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. 2544                   3.  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานองค์กรในชุมชนทุกฝ่ายได้รับทราบและขอความร่วมมือในการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา                   4.  จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาให้เป็นระบบ                   5.  จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา                   6.  พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา                   ภารกิจที่ 2  การจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา                   1.  ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ                   2.  กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อันเป็นจุดหมายของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา                   3.  กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรแต่ละช่วงชั้น และการจัดสัดส่วนเวลาเรียน                   4.  วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระ                         4.1  กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค                         4.2  กำหนดสาระการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค                   5.  กำหนดชื่อรายวิชา เวลาและจำนวนหน่วยกิต                   6.  จัดทำคำอธิบายรายวิชารายปีหรือรายภาค                   7.  จัดทำหน่วยการเรียนรู้                   8.  กำหนดสาระของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน                   9.  กำหนดสื่อและแหล่งการเรียนรู้                   10. กำหนดการวัดผลและประเมินผล                   11. กำหนดแนวทางบริหารจัดการหลักสูตร                            12.  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                   ภารกิจที่ 3 การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร                   1.  วางแผนการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้                   2.  วางแผนการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน                   3.  วางแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน                   ภารกิจที่ 4 การปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตร                   ดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามภารกิจที่ 2 และภารกิจที่ 3 ซึ่งสถานศึกษาได้กำหนดไว้                    ภารกิจที่ 5 การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล                   1.  กำหนดแนวทางการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการหลักสูตรและงานวิชาการภายในสถานศึกษา                   2.  กำหนดแนวทางการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการหลักสูตรและงานวิชาการภายนอกสถานศึกษา                   ภารกิจที่ 6 การสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตร                   1.  สถานศึกษาสรุปผลการดำเนินการและเขียนรายงานเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง                   2.  สถานศึกษาประเมินผลการใช้หลักสูตร                   ภารกิจที่ 7 การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร                   1.  สถานศึกษานำผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหา/ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร                   2.  สถานศึกษาดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   แนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อความเป็นไทย    ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ตลอดจนให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ  และในประเด็นสุดท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ  ว่าด้วยคณะกรรมการ     การบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ข้อ 5 ระบุว่าให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษา    อยู่ภายใต้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่วางแผนการดำเนินงานวิชาการ กำหนดสาระรายละเอียดของหลักสูตรระดับสถานศึกษา และแนวการจัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาของท้องถิ่น จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา  นอกจากจะต้องจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมแล้ว  ยังจะต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น  เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองในท้องถิ่น    เรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์  ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ   สังคม การดำรงชีวิต  ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม  ตลอดจนให้มีความรัก  ความผูกพัน  และมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองด้วย

                  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น หมายถึง 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการของท้องถิ่น            2) ทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ในท้องถิ่น สภาพแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ ที่เป็นจุดเด่น เอกลักษณ์ ของชุมชน 3)  ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนซึ่งเป็นการกำหนดร่วมกันระหว่างชุมชนกับโรงเรียน                         สถานศึกษา โดยครูผู้สอนนำสภาพที่เป็นปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์มาจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพิ่มเติม เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีความรู้ ความสามารถ พัฒนาด้าน จิตวิญญาณ จริยธรรมสังคม และวัฒนธรรม                        แนวทางการดำเนินการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น มีขั้นตอนดังนี้       1.  วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้                      2.  วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น             3.  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานการเรียนรู้ กรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษา และข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น       4.  จัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามกลุ่มสาระการเรียนรู้       5.  วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศสถานศึกษา / ชุมชน       6.  จัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของสถานศึกษาที่สัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับสาระของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้       7.  จัดทำคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับสาระท้องถิ่น       8.  จัดทำแผนการเรียนรู้บูรณาการ สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 65963เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่ะค่ะความรู้คือขุมทรัพย์จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท