การจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร


การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ สถานะการณ์ แต่มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกันคือเพิ่มศักยภาพด้านคุณภาพบุคลากรและประสิทธิภาพของงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างงดงาม

         คือเครื่องมือในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อส่งเสริมให้การจัดการความรู้ในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีหลายประการทั้งที่เหมาะสมกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบExplicit และ Tacit knowledge

     1.    กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เหมาะกับความรู้ประเภทExplicit  knowledge

        1.1   การจัดเก็บความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในรูปของเอกสาร เช่นผลงานวิจัย การสำรวจ ข้อมูลทางวิชาการต่างๆ เวชระเบียนของผู้ป่วยเป็นต้น

                 1.2   การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง(Story Telling) เป็นการเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้มาให้ผู้สนใจ โดยการใช้เทคนิคผูกเป็นเรื่องราวให้น่าสนใจ ทำให้เกิดการเรียนรู้ในประสบการณ์ของผู้อื่น

                 1.3   สมุดหน้าเหลือง(Yellow Pages)  สมุดหน้าเหลืองสำหรับการจัดการความรู้เป็นการเชื่อมโยงระหว่างคนที่ต้องการกับแหล่งข้อมูล ทำให้รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ไหน และการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับบุคคลในองค์กรแต่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลภายนอกผ่านเวปไซต์ต่างๆ

                 1.4    ฐานความรู้(Knowledge Bases) เป็นการเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศทำให้เข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

         2.     กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เหมาะกับความรู้ประเภท Tacit  knowledge

         2.1   การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน(Cross-Functional Team) ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการทำงานในแต่ละเรื่องต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆด้านมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการจัดตั้งทีมขึ้นมาร่วมทำงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะเกิดการถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันภายใต้บรรยากาศที่ดี

                 2.2   กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม(Innovation & Quality circles:IQCs) ซึ่งพัฒนามาจากกลุ่มQCs(Quality Circles) เป็นการระดมสมองจากหน่วยงานหรือต่างระดับในองค์กรหรือต่างองค์กรก็ได้ เพื่อค้นหาวิธีการให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยกำหนดแนวคิดที่หลากหลายในการพัฒนาองค์กร และจดบันทึกความรู้ ปัญหาและความสำเร็จที่เกิดขึ้น

                 2.3   ชุมชนนักปฏิบัติ(Communities of Practice:CoP) เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวอย่างไม่เป็นทางการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น มีการบันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

             2.4   ระบบพี่เลี้ยง(Mentoring System) เป็นวิธีถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัวจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ไปยังบุคลากรรุ่นใหม่

                  2.5   การสับเปลี่ยนสายงาน(Job Rotation)และการยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน(Secondment) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ของทั้งสองฝ่าย และเกิดทักษะที่หลากหลายมากขึ้น

                   2.6   เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้(Knowledge Forum) การจัดประชุมหรือเวทีให้บุคลากรมีโอกาสพบปะพูดคุย ทำได้หลายลักษณะเช่น สัมนา ประชุมวิชาการ สามารถกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้

          ผู้เขียนหวังว่าความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้จะช่วยกระตุ้นให้องค์กรมีทางเลือกในการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 65856เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ใช้ประโยชน์ แน่นอนคะ

หมอสบายดีมากไหมคะ คิดถึง อยุ่

แวะมาคุยกันบ้างเน้อ จะได้ ลปรร ( แลกเปลี่ยนเรียนรู้ )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท