การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี


มีอะไรบ้างที่ทำให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาประสบความสำเร็จ

ผลจากการที่ สมศ.เข้าตรวจประเมิน วพ.ของเรา เราคิดว่าผลการประเมินน่าจะผ่านอย่างไม่มีเงื่อนไข และผลการประเมินน่าจะดีด้วยพวกเราก็เลย AAR การดำเนินงาน QA ของเรา ออกมา ถึง ปัจจัยความสำเร็จ

 AAR QA

ประเด็น  : มีอะไรบ้างที่ทำให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาประสบความสำเร็จ

• ผู้อำนวยการที่คอยกำกับ   ลงไปถึงตัวบ่งชี้  เป็นผู้ผลักดันให้ทำและดูถึงหลักฐานที่ต้องเตรียม คอยกำกับติดตามตลอดเมื่อมีเวลา  จังหวะ โอกาส
• ความสามารถของผู้อำนวยการฯ ในการจัดระบบของผลงานที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ของผลงาน ซึ่งน่าจะมาจากความเข้าใจในตัวบ่งชี้ อย่างชัดเจน และเห็นถึงความเชื่อมโยงของผลงานต่างๆ ที่มีอยู่ สามารถดึงเรื่องราวต่างๆ จับสิ่งต่างๆ เข้ามาใส่ให้เป็นระบบ ทำให้ภาพที่ออกมาเป็นระบบ
• ผู้รับผิดชอบหลัก  ในแต่ละมาตรฐานแต่ละตัวบ่งชี้ ต้องทำความเข้าใจเจตนาของตัวชี้วัดว่าวัดอะไร ต้องการผลลัพธ์อย่างไร (ต้องเข้าใจคำอธิบาย ต้องรู้ข้อมูลที่เขาต้องการ) ต้องรู้และเข้าใจ แต่เนิ่นๆ เพราะบางเรื่องใช้เวลานานในการดำเนินงาน

• มองให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวบ่งชี้  แล้ววาง Plot ของความเชื่อมโยงในการดำเนินงานเพื่อสร้างผลงานออกมา เช่น ความเชื่อมโยงของงานวิจัย การบริการวิชาการ และการเรียนการสอน
• การรับการตรวจ   อาจารย์ที่รับการตรวจ รวมทั้งการสัมภาษณ์ การถูกรับการตรวจบ่อยๆ ทำให้เกิดความเคยชินในการรับการตรวจ ประกอบกับ เขียน SAR ให้เป็นไปตามสภาพความจริง รวมทั้งการทำความเข้าใจใน SAR ด้วยตนเองด้วยสำคัญมาก
• ความวิตกกังวล   ประเด็นที่กังวลเมื่อต้องถูกสัมภาษณ์  ในงานอื่นๆ เช่นงานวิจัย งานบริการวิชาการแก่สังคม เพราะข้อมูลภาพรวมจะอยู่ที่ Center เช่น อยู่ที่รองฯ ฝ่ายวิจัย หรือ รองฯ ฝ่ายบริการวิชาการ ประเด็นนี้ต้องมีการให้ข้อมูลภาพรวมทุกมาตรฐานให้ทุกคนเข้าใจตรงกันและสะท้อนกลับมาที่ภาควิชาด้วย
• โครงสร้างที่มีภาควิชา ช่วยทำให้การกำกับติดตามงานต่างๆ ง่ายขึ้นด้วย
• หัวหน้าภาควิชา  ต้องกำกับติดตามการทำงานต่างๆภายในภาควิชา ดูแลทุกอย่างให้เรียบร้อย ส่งเสริมความสามัคคีภายในภาควิชา
• การทำแผน รวมทั้งการคิดงานต่างๆ ทำงานโดยมี PI เป็นตัวตั้ง จะทำโครงการ/กิจกรรมอะไร ก็จะนึกถึงว่าตอบ PI ไหนได้บ้าง  แต่ต้องมองการพัฒนาด้านอื่น ๆ ด้วย  ไม่ใช่ทำงานเฉพาะตัวชี้วัด
• การบริหารงาน  ต้องเป็นแบบ  การบริหารเพื่อการพัฒนา (administration of development) 
                     การบริหารต้องเน้นกิจกรรมการพัฒนาของวิทยาลัยฯ ในลักษณะที่เป็นกระบวนการของการ
                     ปฏิบัติการ(action) หรือเป็นกิจกรรม (activity) การปฏิบัติงานตามแผนงาน หรือโครงการ
•  ความขัดแย้ง  ให้มองความขัดแย้งให้เป็นการขัดแย้งเชิงปัญญา เพื่อให้ได้งานออกมา
• ประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลา  ทุกคนต้องประเมินว่าตนเองมีส่วนทำให้ภาพรวมดีขึ้นหรือทำให้เสียหายอย่างไร
• เมื่อเกิดปัญหา  เวลามีปัญหาจะไม่ทำให้สถานการณ์เร่าร้อนมากขึ้นเพราะจะทำให้ได้งานน้อยลง
 ผลจากการ AAR ของเรา ผู้อำนวยการได้ไปนำเสนอในที่ประชุมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถาบันพระบรมราชชนก คิดว่าคงเป็นประโยชน์กับที่อื่นต่อไป

 ผอ. นำเสนอผล AAR

 ผู้อำนวยการนำเสนอผล AAR งานประกัน

ยังมีรายละเอียดอย่างอื่นที่ทำให้ วพ.พระปกเกล้า ดำเนินการสำเร็จอีก แล้วจะมานำเสนอในโอกาสต่อไป ครับ 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 65763เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาติดตามอ่านเรื่องราวอยู่ตลอดเวลาครับ

  • AAR บ่อยๆนะครับ
มาตามอ่านเช่นกัน..สวัสดีค่ะ
ขอบคุณ คุณเมตตาครับ ขอเคล็ดลับ สำหรับ คนที่จะผลักดัน KM มือใหม่ ด้วยนะครับ
ช่วงวันที่ 10-14 ธันวาคม ที่วพ.พระปกเกล้า ได้จัดทำแผน การจัดทำครั้งนี้เป็นการจัดทำแผนที่มองในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ทั้งตัวชี้วัด สมศ. สภาการพยาบาล สกอ. สตง. รวมทั้งมิติของ กพร.ด้วย เป็นผลของความพยายามที่จะมองทุกอย่างที่จะตอบไปพร้อมๆ กัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนที่มักจะถามกันตลอดว่า หากเราจะทำงานครั้งเดียวแล้วตอบหลายเรื่องได้หรือเปล่า ผลที่ออกมาทำให้ได้รู้ว่ามันทำได้จริงแต่ต้องคิดให้รอบด้านและผลที่ออกมาสามารถใช้ในการวางแผนได้เป็นอย่างดี เห็นแนวทางที่จะทำให้ชัดได้มากขึ้นแต่คงต้องทำอีกหลายครั้งอยู่ ผลที่เกิดอีกอย่างก็คือ ไม่ใช่แค่ว่างวางแผนไปตามที่คิดว่าน่าจะทำหรือคิดว่าต้องทำแต่จริงๆ แล้วที่คิดว่าต้องทำแต่ผลวิเคราะห์ออกมาว่าไม่ตอบอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นสมศ หรือ สภา
เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ

การที่เราเริ่มบูรณาการแผนทำให้เราได้เห็นภาพรวมในหลายมิติ   ประโยชน์จะตกอยู่กับพวกเราในระยะยาว ในช่วง ที่เราทำรอบแรกเพียงเราวิเคราะห์ผลงานรอบปีการศึกษา 2548 เราเห็นอะไรหลายอย่าง สิ่งที่คิดว่าพวกเราได้คือ ทักษะการคิด(thinking skill) เพราะนับตั้งแต่เราเริ่มทำแผนเมื่อสามปีที่แล้วมาจนถึงวันนี้เราได้คิดและปรับอะไรหลายอย่างอย่างเป็นระบบ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ และอีกทักษะที่เราได้คือ ทักษะการประยุกต์ (Apply skill) การที่เราประยุกต์อะไรหลาย ๆอย่างเข้ามาแล้วร่วมกันนำแผนไปปฏิบัติจะช่วยเพิ่มขีดความสามรถของพวกเรา ถ้าเราร่วมมือร่วมใจกันทำให้เสร็จน่าจะเป็นสิ่งที่ดีฝากพวกเราทุกคน และขอฝากว่า

การจะปฏิบัติอะไรก็ตามขอให้  ทำอย่างถูกต้อง "Are we doing the things right." ?  จะวางแผนอะไรขอให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง "Are we doing the right things ." ? 

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ
ข้อความที่ฝากไม่ได้คิดเองนะ วันนี้เลยเอาประโยคเต็ม ๆของ Stephen R Covey มาให้ ประโยคเต็ม ๆกล่าวว่า "People and their managers are working so hard to be sure things are done right, that thay hardly have time to decide if they are doing the rigth things" คนทำงาน และผู้บริหารทั้งหลายต่างทำงานกันอย่างทุ่มเท ขยันขันแข็งเพือให้แน่ใจว่า สิ่งที่ทำนั้นทำอย่างถูกต้อง จนแทบไม่มีเวลาที่จะตัดสินว่าเรากำลัง ทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่

เป็นอย่างท่านผู้อำนวยการเขียนไว้จริงๆ และหลังจากที่เราทำแผนที่บูรณาการกันรอบแรกเสร็จแล้ว พวกเราทำ AAR กันมีประเด็นที่น่าสนใจและเป็นสำคัญที่พวกเราได้เรียนรู้ก็คือการคิดอย่างเป็นระบบ มองงานต่างๆ ได้รอบด้านมากยิ่งขึ้น แล้วการที่เราได้คิดร่วมกัน เราก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมกันด้วย เพราะการวางแผนแบบนี้ไม่ใช่แค่นึกอยากจะทำอะไรก็ทำ แต่ก็คำนึงถึงผลงานที่เกิดขึ้นว่าตอบสนองมิติไหนบ้าง และครอบคลุมหรือไม่

ที่สำคัญอีกอย่างก็คือทีมพวกเรา มีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการทำงานกันในแต่ละบทบาทหน้าที่

แต่อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องทำอีกหลายครั้งอยู่และเราก็มองว่าได้เรียนรู้ทุกครั้งและมีพัฒนาการด้วย

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ
ขอฝากอาจารย์ทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน เราต้องช่วยกันคิดว่าในแผนที่เราจะวางระยะยาวนั้นเราจะทำอะไรกันบ้าง อย่าลืม 6W 2H (What/ทำอะไร Why/ทำไมต้องทำ Whom/ทำเพื่อใคร Who/ทำโดยใคร How/ทำอย่างไร Where/ทำที่ไหน When /ทำเมื่อไหร่ How much/จ่าย/รับเท่าไร) และต้องมองให้เห็นความสำคัญของแผนแบบบูรณาการ การวางแผนงานโครงการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ กับ งบประมาณ และการดำเนินงาน แผนงานโครงการถือเป็นข้อตกลงที่สำคัญ ในการบริหารจัดการวัตถุประสงค์ร่วมกัน แผนงานทำให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน(หวังเช่นนั้นมาก ๆ) การวางแผนเป็นกระบวนการใช้ทุนทางปัญญาสร้างความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ถ้าทำสำเร็จประโยชน์ของการวางแผนแบบบูรณาการที่พวกเราจะได้ก็น่าจะมีมากนะเช่น ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะทำ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละงานได้ชัดเจน แบ่งเบาภาระของแต่ละฝ่ายโดยพิจารณาว่างานอะไรควรทำงานอะไรน่าจะตัดออก สร้างความมั่นใจให้ทุกฝ่ายว่างานจะประสพความสำเร็จ สามารถประเมินผลได้ก่อนที่เวลาจริงมาถึง ฝากอาจารย์ทุกคนร่วมคิดร่วมทำค่ะพร้อมที่เราจะเดินไปด้วยกัน

ช่วงนี้ได้มาตรวจเยี่ยมวิทยาลัยพยาบาลหลายแห่งเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานประกันคุณภาพการศึกษากับทีมผู้ประเมิน  และคณาจารย์จากวิทยาลัยต่าง ๆ ทุกวิทยาลัยเร่งเตรียมความพร้อมที่จะรับการประเมินภายนอกจาก สมศ.  และ สมศ. ได้ปรับแก้เกณฑ์ เมื่อ ธันวาคม 2549 อาจารย์เปิด Website ของ สมศ. ดูนะคะ

     การประกันคุณภาพการศึกษา  นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมด้วย  เราต้องตั้งชมรมประกันคุณภาพการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาต้องคุยกับนักศึกษา เริ่มทันที่  และยังคิดว่าต้องกำหนดมาตรฐานการประกัณภาพการศึกษาของนักษาพยาบาล  เราต้องร่วมกันคิด นักศึกษาเริ่มเลยนะ แล้วเราจะคุยกันในรายละเอียดต่อไป  ตรงนี้จะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยผลักดันการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯ

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ

                            เก่ง ดี มีสุข  ที่ มอ

    ทิ้งช่วงมานาน ไม่ได้มาแลกเปลี่ยนเรีนนรู้  พอมีเวลาเลยเข้ามาเยี่ยมเยียน น่าเสียดายพวกเราทำอะไรมากมายแต่ขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเคลื่อนไหวของ KM น้อยไปหน่อยนะ

    มีเรื่องอยากจะเล่าให้อ่าน เมื่อวันที่ 20 เมษายน ได้ไป site visit ที่คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เพื่อติดตามดูผลงานการการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานิสิตให้ เก่งดี มีสุข ได้พบว่า คณะนี้ผลการสอบสภาวิชาชีพได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ   นักศึกษาสอบผ่านครั้งแรกได้ในอัตราที่สูงมาก  (ทำได้อย่างไร  น่าจะเทียบเตียงดูนะ) คณะมีศูนย์การเรียนรู้ที่นักศึกษาเข้าไปเรียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังมีอะไรดี ๆ อีกหลายอย่างที่น่าเทียบเคียง  พอกลับมาได้สองวัน ลองเข้าไป ดู KM ของคณะ เภสัชศาสตร์ มอ. พบว่าท่านอาจารย์ได้เอาสิ่งต่าง ๆ ที่ทีมเราไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาเขียนให้ทุก ๆคนได้อ่าน วันนี้ก็จะขอคัดลอกมาให้พวกเราได้อ่าน (ขออนุญาตทานอาจารย์ผู้เขียนที่ มอ.ด้วยนะคะ)

  สัญญาไว้ว่าหลังรับการ site visit จากสถาบันพระบรมราชชนกในวันที่ 20 มีค. 51 แล้ว จะกลับมาเล่าสู่การฟัง   หลังจากทีมงานทุกฝ่ายต่างประชุมร่วมกันหลายรอบ เพื่อเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะประเด็นคำถาม เพราะคณะไม่ทราบจริงๆ ว่าคณะกรรมการฯ จะขอดูข้อมูล หลักฐาน ประมาณไหน เราคาดการณ์ไม่ถูกจริงๆ คะสุดท้ายจากที่เตรียมไว้ ก้อเหมือนจะไม่ได้เตรียมเลย คือ  เราทำอะไรไปบ้าง ก็ตอบไปตามความจริงนั่นแหละ สบายใจที่สุด หายเครียดไปเลยแต่งานนี้ยิ่งกว่าประกวดนางสาวไทยซะอีก ได้มีโอกาสสอบถามกรรมการ ว่าหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อ  ก็ได้คำตอบมาว่า  คณะกรรมการฯ ชุดนี้จะนำข้อมูลทั้งหมดจาการ site visit ไปเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการตัดสินฯ ชุดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหลายสถาบัน/มหาวิทยาลัย  แล้วพิจารณาคัดเลือกสถาบัน/หน่วยงานที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างบัณฑิตที่ เก่ง ดี มีสุข  โอ้ พระเจ้า ทำไมมันหลายรอบอย่างนี้หนอ!!! (ใครอยากรู้ว่ามีกี่รอบ ตามอ่านจากตอน 2 นะคะ)

สิ่งที่อยากนำเสนอผู้อ่านทุกท่าน (เผื่อว่าปีหน้าคณะใดสนใจเข้าประกวดจะได้มีข้อมูลไว้บ้างค่ะ) ก็คือ ประเด็นคำถามจากการ site visit ที่คณะกรรมการฯ มุ่งเน้นไปที่กลไกของระบบประกันคุณภาพที่คณะนำมาเป็นตัวพัฒนาคุณภาพบัณฑิต  ได้แก่   
(1)  ตัวบ่งชี้ใดบ้างที่มหาวิทยาลัย หรือ คณะ  คิดขึ้นเอง ในการวัด เก่ง  ดี  มีสุข
(2)  ตัวบ่งชี้ใดที่สะท้อนผลลัพธ์คุณภาพบัณฑิตที่ เก่ง  ดี  มีสุข   เช่น  เอาตัวบ่งชี้ใดมาวัดว่านักศึกษาของเราดี  หลักฐานใดที่บอกว่านักศึกษาของเราเก่ง    เป็นต้น  
(3) การบูรณาการงานด้านบริการวิชาการ งานวิจัย  ไปสู่การเรียนการสอน  อย่างไร
(4) การนำระบบประกันคุณภาพไปสู่นักศึกษา คณะดำเนินการแล้วหรือไม่ 
(5) การช่วยเหลือนักศึกษาเรียนอ่อน  คณะให้การดูแลอย่างไร
(6) ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาแต่ละชั้นปีเป็นอย่างไรบ้าง
(7) คณะมีระบบอะไรบ้าง ที่ทำให้นศ.สอบใบประกอบวิชาชีพได้เป็นอันดับต้นๆของประเทศ
(8) การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ โดยนักศึกษาดูแลกันเอง ทำอย่างไร 
(9) หากนศ.ต้องการการสนับสนุนจากคณะ มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง   ฯลฯ

และสุดท้าย เขาขอคุยกับนักศึกษาเป็นการส่วนตัว (พูดง่ายๆ คือขอเชิญผู้ใหญ่ทั้งหลายออกไปได้แล้ว ถามเด็กดีกว่า ประมาณว่าเด็กไม่โกหก)  โชคดีที่เราเชิญนักศึกษาเข้าร่วมด้วย เพราะประเด็นหลักคือตัวนักศึกษา จึงขอให้น้องๆนักศึกษาเข้าร่วมด้วย  (ส่วนใหญ่ เป็นนักศึกษาที่ทำกิจกรรมสโมสรนักศึกษาเภสัชศาสตร์)   คณะกรรมการใช้เวลาเกือบชั่วโมง ในการพูดคุยกับนักศึกษา 

ประมาณพฤษภาคม จึงจะทราบผลการตัดสิน ก้อต้องลุ้นกันต่อไป  ท้ายที่สุดนี้ก็ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูง สำหรับ รศ.นวลจิรา  ภัทรรังรอง  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ ที่ให้เกียรติเข้าร่วมต้อนรับคณะกรรมการฯ ร่วมให้ข้อมูลเสริมในภาพของมหาวิทยาลัย  และเป็นกำลังใจให้แก่คณะเภสัชฯ เรื่อยมา  ด้วยความขอบคุณยิ่งค่ะ  

แต่อย่างไรก็ตาม รางวัลไม่ใช่คำตอบสุดท้าย  สิ่งหนึ่งที่คณะได้มาจากงานนี้  และถือเป็นความภูมิใจ   ก็คือ  คณะได้พัฒนาตัวบ่งชี้ของคณะเภสัชศาสตร์ ขึ้นเอง  1 ตัวชี้วัด  นั่นคือ  ดัชนีชี้วัดความสุข   ซึ่งจะเริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2550  อันเป็นผลมาจากการที่เราได้เข้าร่วมสัมมนา และได้รู้จัก concept  เก่ง ดี มีสุข  เราจึงรู้ว่าเรายังขาดการวัดความสุขของนักศึกษา  ที่ผ่านมาเราทุกฝ่ายต่างอยากให้บัณฑิตของเราเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ใส่โน่น จัดนี่ให้นักศึกษา เยอะแยะไปหมด  แต่เราไม่เคยรู้เลยว่าเขามีความสุขมากน้อยแค่ไหน ในสิ่งที่เรากำลังให้เขา  มากไป น้อยไป หรืออยากได้สิ่งใดกันแน่   การใช้ชีวิตโดยรวมของเขาในการเรียนที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ เขามีความสุขเพียงใด   นี่คือสิ่งที่คณะอยากทราบ    ... การให้ย่อมดีแน่  แต่ถ้าจะดีกว่านั้นเราต้องรู้ว่าผู้รับยินดีด้วยหรือไม่ ..     

ขอขอบคุณคณะเภสัชศาสตร์ มอ. อีกครั้ง ฝากพี่ ๆ น้อง ๆ คิดเล่น ๆ ทำจริง ๆ ท่านได้อะไร  มีเรื่องดี ๆอีกหลายเรื่องอยากจะแลกเปลี่ยน  กำลังรออยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท