บ้านแห่งคุณภาพ: โมเดลจากแบบแผนความคิดของ ดิศกุล


เรายังไม่ดีพอ แต่ใช่ว่าเราดีกว่าเดิมไม่ได้

                                                                                                

      จากการที่ผมได้เรียนรู้ศาสตร์เกี่ยวกับระบบคุณภาพและเพาะบ่มความคิดมาหลายปี มามีโอกาสที่เหมาะสมเริ่มต้นสร้างเป็นโมเดล ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดฉะเชิงเทรา อันเป็นแบบแผนความคิดของผู้บริหารที่จะถูกนำไปใช้ในการมองกรอบ สร้างงาน สู่ปลายฝันเส้นทางการสร้างระบบคุณภาพ ได้ออกแบบเป็น "โครงสร้างบ้านแห่งคุณภาพ กศน.ฉะเชิงเทรา (House of Quality) ซึ่งมีส่วนประกอบของบ้านที่แสดงความหมาย ดังนี้                  

                               1. เสาของบ้านมี 8 เสา เปรียบเสมือนเสาหลักการบริหารคุณภาพ 8 ประการ ที่ผม นำแนวคิดมาจาก 8 Priciples of Quality Management  และได้แปลงเป็นภาษไทยที่ง่ายในการจดจำเป็นคำกลอนคือ    (1) องค์การที่เน้นลูกค้า (2)มีภาวะผู้นำ (3)กระทำอย่างมีส่วนร่วมรับรู้สู่ผู้คน  (4) คิดค้นกระบวนการ (5) ทำงานเป็นระบบ (6)เจนจบการปรับปรุงต่อเนื่อง (7) เรื่องการตัดสินใจอาศัยข้อมูล (8)เกื้อกูลประโยชน์ผู้เกี่ยวข้อง                                            

    2. คานล่างของบ้านแห่งคุณภาพคือตัวรองรับเสาทั้ง 8 รวมเป็นระบบการบริหารคุณภาพ        (Q M S หรือ Quality Management System) ที่ดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ                                  

              3. ตัวบ้านแห่งคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ห้อง คือ ห้องที่ 1 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดฉะเชิงเทรา ในฐานะสำนักงานในการปฏิบัติงานลักษณะสำนักงานจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐานการเป็นสำนักงานที่มีคุณภาพซึ่งประเมินได้จากตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยป้อน และตัวบ่งชี้ด้านผลลัพธ์ ซึ่งมีให้เลือกในแบบที่เหมาะสม ในที่นี้    ได้เลือกใช้แบบ  The EFQM Excellence Model (สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Intetnet)                        ส่วนห้องที่ 2  คือศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ในฐานะสถานศึกษา ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ หลักสูตร กศน.ปวช. และกิจกรรมการให้ความรู้อื่น ๆ ซึ่งจะถูกวัดโดยระบบการประกันคุณภาพ 8 ระบบ ของ กศน. ทั้งนี้ปลายทางผลลัพธ์ ผู้รับบริการได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานของแต่ละหลักสูตรหรือกิจกรรม                                             

   4. คานบนของบ้านแห่งคุณภาพ  คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของ Q M S                                            

     5. หลังคาบ้านแห่งคุณภาพ  คือส่วนที่ควบคุมโดยผู้บริหารสูงสุดของ กศน.จังหวัด (Top Management) ที่บริการการเปลี่ยนแปลงโดยมีความคิดการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา และคิดเสมอว่า "เรายังไม่ดีพอแต่ใช่ว่าเราดีกว่าเดิมไม่ได้" (We were not good enough ,that we could be better) ด้วยวงจร Deming (Plan, Do, Check, Action) เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ที่ดีกว่าเดิมสู่จุดหมายปลายทาง (Goal)  "ศนจ.น่าอยู่ ผู้คนน่ารัก  สังคมประจักษ์ คุณภาพงาน"                        

 โมเดลนี้ ได้ถูกนำมาใช้ในการทำงาน แม้ว่าจะทำได้ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ซึ่งจะต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมด้านศักยภาพของผู้คนในองค์การเป็นสำคัญแต่นั่นคือความท้าทายที่จะก้าวเดินต่อไปแม้ยังไม่ถึงจุดหมาย แต่ก็ดีกว่า การเดินทางไปโดยไม่มีจุดหมายมิใช่หรือ....................................................................................................................                                                                                                                                                                                                                                                                                6  ธันวาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 65714เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
ณราวัลย์ นันต๊ภูมิ
  • เป้นโมเดลที่น่าสนใจมากค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้กับท่านผอ.ดิศกุลค่ะ ที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานค่ะ

บ้านแห่งคุณภาพ  เป็นคำที่ดีมากค่ะ  เป็นคำที่มีความหมายแฝงอยู่ สามารถมองเห็นภาพพร้อมกับความเป็นจริงได้  ผู้ที่ได้อ่านบางคนคงจะคิดเหมือนตุ๊กตา  ตรงที่บ้าน 1 หลังจะสามารถตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง และสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยเสา ฯลฯ ซึ่งขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้  ก็เหมือนกับการทำงาน  ไม่มีใครเก่งทุกด้าน แต่ในแต่ละด้าน ที่อยู่ในตัวของคนแต่ละคน จะสามารถมาหลอมรวมกันให้เป็นหนึ่งได้ และนั่นจะทำให้ กศน.เข้มแข็งพร้อมที่จะเป็นบ้านแห่งคุณภาพ              ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ 

ได้มีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมบ้านแห่งคุณภาพ และจดจำแนวทางเพื่อปรับปรุงสู่การปฏิบัติต่อไป จากห้อง KM เพราะว่า"เรายังไม่ดีพอแต่ใช่ว่าเราดีกว่าเดิมไม่ได้" เพื่อการจัดการความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของปวงชน
ขอบคุณ ผอ.ดิศค่ะ ชอบประโยคนี้ค่ะ  "เรายังไม่ดีพอแต่ใช่ว่าเราดีกว่าเดิมไม่ได้"  ทำให้คิดอะไรได้หลายๆอย่าง ทั้งเรื่องการทำงานหรืออื่น ๆ  และคำว่า "บ้านแห่งคุณภาพ" ขึ้นอยู่ว่าบ้าน ถ้าขาดเสาใดเสาหนึ่งไปแล้ว หรือขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป ที่เป็นองค์ประกอบ ก็จะทำให้บ้านไม่สมบุรณ์แบบ เหมือนกับการทำงานทุกๆอย่างต้องเอื้อต่อกันและกัน พึ่งพาอาศัยกันและกัน ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะประสบผลสำเร็จ และงานที่ได้ก็จะออกมาดี
  • แวะตามมาอ่าน
  • ดีใจที่ท่านอาจารย์ลงรูปในบันทึกได้
  • ลองใช้อักษร Tahoma  14 points พิมพ์ใน word แล้ว copy มาวาง จัดแก้ไขให้ดี
  • บันทึกของอาจารย์จะน่าอ่านมากในอนาคตครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณผอ.ณราวัลย์ครับ ในกำลังใจที่มอบ
  • ขอบคุณ คุณทัศนีย์ คนนอกโรงเรียน และคุณโบ ที่แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครับ
  • ขอบคุณอาจารย์ขจิต ครับ ที่ให้คำแนะนำ เพื่อการพัฒนาบันทึกให้น่าอ่านขึ้นต่อไป
นลินทิพย์ สังข์เจริญ
  คำว่า  บ้านแห่งคุณภาพ ฟังดูหรือได้ยินก็มีความสุขอย่างมหาศาล.....บ้านเรามีคุณภาพแน่นอนเพราะบ้านเรามีผู้บริหารบ้านที่มีคุณธรรมจริยธรรมและมีคนที่อยู่ในบ้านเราอยู่กันแบบสมานฉันท์ค่ะ  .......แบบว่า...รักกัน...รักกัน....ค่ะ!!!!!!!

ขอบคุณ คุณครูนลินทิพย์ครับ ปลายทางที่บ้านคุณภาพนี้จะพยายามรักษาสภาพไว้คือ 

      ศนจ. น่าอยู่    ผู้คนน่ารัก 

         สังคมประจักษ์คุณภาพงาน

เมื่อผมทำหน้าที่เสมือนหัวหน้าครอบครัว ก็ต้องทำตนให้เหมาะสม นึกถึงปราชญ์ขงจื้อ ที่กล่าวไว้ว่า   อย่ากังวลว่าจะไม่มีตำแหน่ง  พึงกังวลทำตนให้เหมาะสมกับตำแหน่ง ........

..........รัฐบาลที่ดีนั้น เจ้านคร ต้องเป็นเจ้านคร

         เสนาบดี ต้องเป็น เสนาบดี

         พ่อต้องเป็นพ่อ

         ลูกต้องเป็นลูก.........

สรุปคือ ทุกคนทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด นั่นเอง

       

ผมได้ข้อมูลจากที่ อ.ดิศกุล ได้มาเพยแพร่มากเลยครับ
ข้อมูลน่าสนใจเป็นความรู้ดีครับ
เป็นความรู้ดีครับ ขอให้ อ.ดิศกุล มีผลงานดีๆแบบนี้มาให้ความรู้เรื่อยๆนะครับผมจะแวะมาอ่านบ่อยๆ
ชูวิทย์ ศบอ.บางปะกง

        บ้านแห่งคุณภาพ

      คือสถานที่ที่มีความสุขที่สุดเมื่อเรากลับมาดำเนินตามวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแต่ในทุกขณะเวลาโปรดอย่าลืมสภาพแวดล้อมภายนอกนะครับ

"บ้านแห่งคุณภาพ"  เป็นคำที่ฟังแล้วอบอุ่น น่าอยู่อาศัย   

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท