ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เห็ดฟางชุมชนลับแล


เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี ทุกภาคของประเทศนิยมนำมารับประทาน สำหรับพลาสติกที่ใช้คลุมโรงเรือนนั้นเราต้องเข้าใจในการเลือกใช้จึงจะให้ได้ผลผลิตตามที่เราต้องการ

เห็ดฟาง (Straw  Mushroom)  เป็นเห็ดที่เรียกชื่อตามวัสดุเพาะ ซึ่งเดิมทีเดียวเรียกว่าเห็ดบัว  เป็นเห็ดที่มีศักยภาพสูงอีกชนิดหนึ่งที่มีความเหมาะสมที่จะนำเข้ามาสู่ระบบเกษตรแบบประณีต เนื่องจากใช้พื้นที่น้อย ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่สูง อีกทั้งเป็นเห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย นิยมรับประทานทั่วทุกภาคของประเทศไทย ดังนั้นเกษตรกรโดยทั่วไปจึงนิยมเพาะกันมากหลังฤดูกาลทำนา อีกทั้งช่วงเวลาดังกล่าวมีสภาพอากาศที่ร้อนเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟางเป็นอย่างดี โดยปกติแล้วรูปแบบของการเพาะเห็ดฟางที่นิยมเพาะกันจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือการเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง (Outdoor Cultivation) และการเพาะในโรงเรือน (Indoor Cultivation) 

เห็ดฟางชุมชนลับแล เมื่อตอนเย็นของเมื่อวานผมได้รับโทรศัพท์จากพี่น้องเกษตรกรจากชุมชนลับแล (086-8778515) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพี่น้องคนดังกล่าวกำลังเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนอยู่ และมีปัญหาเรื่องการใช้พลาสติกคลุมโรงเรือนเห็ดฟางว่าควรจะใช้แบบไหนดี เนื่องจากตนเองมีผ้าพลาสติกสานสีฟ้าอยู่จะใช้ได้ไหม (ด้วยความกังวลใจ)  ผมจึงตอบว่า ได้ครับ ซึ่งจริงๆ แล้วจะเป็นพลาสติกอะไรก็ได้ครับ ขอให้รักษาอุณหภูมิ และความชื้นได้ 

พลาสติกกับการเพาะเห็ดฟาง  ครับ...จากประสบการณ์จึงอยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learn) กับพี่น้องที่เพาะเห็ดฟาง และได้เล่าถึงวัตถุประสงค์ของการใช้พลาสติกคลุมโรงเรือนว่าเขาคลุมกันทำไม และเพื่ออะไร ผมจึงอยากจะขอเล่าอย่างนี้ครับ  

1. การคลุมเพื่อรักษาอุณหภูมิในโรงเรือนหรือแปลงเพาะ  เนื่องจากเส้นใยของเห็ดฟางสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน อยู่ระหว่าง 35 - 38 องศาเซลเซียส และช่วงออกดอกจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 35 - 38 องศาเซลเซียส ดังนั้นหากไม่มีพลาสติกคลุมก็จะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ผลผลิตก็จะได้น้อยตามไปด้วย 

2. การรักษาความชื้นในโรงเรือนหรือแปลงเพาะ  เนื่องจากเห็ดฟางสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพบรรยากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ 80 - 90 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคลุมด้วยพลาสติกหรือวัสดุที่รักษาความชื้นได้ 

3. สีของพลาสติก  มักจะมีคนถามอยู่เสมอครับว่าเราควรใช้พลาสติกสีใดดี และจากการศึกษาและทดลองมาหลายปีก็พบว่าไม่มีผลมากนักต่อการให้ผลผลิตขอเพียงว่าเรารักษาอุณหภูมิและความชื้นได้ตามที่เราต้องการ ซึ่งก็อาจจะมีคนแย้งว่าถ้าใช้พลาสติกสีดำจะทำให้ก็จะดูดแสงมาก พลาสติกใสจะทำให้แสงเข้ามาก  แต่ก็ไม่ต้องกังวลครับ ขอเพียงว่าให้เรารักษาอุณหภูมิให้ได้ตามที่เห็ดต้องการ (ดังข้อ 1 และ 2) เห็ดก็สามารถเกิดได้ แต่แสงจะมีผลต่อสีของดอกเห็ด กล่าวคือ ถ้าดอกเห็ดได้รับแสงดอกเห็ดฟางจะมีสีน้ำตาล ถึงดำ แต่ถ้าไม่ได้รับแสงดอกเห็ดจะสีจางหรือสีขาวครับ 

อย่างไรก็ตามในการเลือกใช้วัสดุคลุมโรงเรือนหรือแปลงเพาะเห็ดฟางนั้น นับว่าเป็นการลงทุน แต่เราจะทำอย่างไรที่จะลงทุนที่ต่ำที่สุด... นี่ไงครับ KM ช่วยเราได้...  ดังนั้นผู้ที่จะเพาะเห็ดต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการของเห็ดอย่างแท้จริง (เปรียบเสมือนการเลี้ยงลูกน้อย) ซึ่งเราอาจจะไม่ใช้พลาสติกก็ได้ เพียงแต่ขอให้เราปรับสภาพแวดล้อมให้ตรงกับความต้องการของเห็ดเราก็สามารถได้ผลผลิตเห็ดตามต้องการ  

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

7 ธันวาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 65664เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แวะมาเก็บความรู้และทักทาย
  • เสียดายว่าไม่พบคุณอุทัยที่กรุงเทพฯ
  • ขอบคุณมากครับ ชอบเรื่องเห็ดครับ

ขอบคุณมากครับ

จริงๆ แล้วก็เสียดายเช่นกันครับที่ไม่ได้เจอกันในงานมหกรรมฯ เนื่องจากผมต้องเป็นคุณลิขิตในห้อง UKM และห้อง KM Thesis เอาใว้โอกาสหน้านะครับ แค่ทักทายก็ดีใจแล้วครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีคะ...

ดีใจนะคะที่ได้เจอตัวเป็นๆ ของคุณอุทัย  อันพิมพ์...

ไว้มีโอกาสได้ F2F กันนะคะ...

(^____^)

กะปุ๋ม

ขอบคุณมากครับ ดร.กะปุ๋ม

ผมก็ดีใจเช่นกันครับ หากมีอะไรให้ได้ช่วยเหลือ ก็ด้วยความเต็มใจนะครับ

ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท