Patho OTOP2 (22) : ลดอัตาการ clot ของหน่วยเก็บเลือด


วันนี้พี่ประจิม  หรือฉายา  แดประจิม   จากทีม ตามรอย tube NaF blood     มานำเสนอผลสำเร็จของโครงการลดอัตาการ clot ของหน่วยเก็บเลือดสำหรับตรวจ sugar     พี่ประจิมเตรียมตัวมาอย่างดี    รายงานด้วยความมั่นใจไม่มีเคอะเขิน     มีกำลังใจจากพี่ๆ น้องๆ  และพี่เลี้ยงส่งมาช่วยอย่างเต็มที่ 

ที่มาของโครงการนี้คือว่า  โดยปกติหลอดทดลอง (tube)  สำหรับตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ( glucose )จะใส่สารกันเลือดแข็งชนิดหนึ่งไว้  นั่นคือ NaF   (จะเรียกหลอดทดลองนี้ว่า NaF Tube)   สารตัวนี้จะช่วยป้องกันกระบวนการใช้น้ำตาลโดยเม็ดเลือดให้ช้าลงได้    นั่นคือถ้าไม่ใส่สารตัวนี้    ค่าระดับน้ำตาลในเลือด (blood glucose)  ที่ตรวจได้จะต่ำกว่าความเป็นจริง   คุณศิริ  เคยเขียนเรื่องของ NaF  ไว้ที่นี่ค่ะ

เพื่อให้ทราบถึงต้นตอของปัญหา   คุณประจิมและทีมงานได้ใช้วิธี  ตามรอย   ตามไปถึงก้นห้องแล็บ (คล้ายๆ ก้นครัว   ค่ะ)     ไปดูวิธีการเตรียม NaF Tube    จากนั้นตามไปดูถึงห้องเจาะเลือด   ดูว่าหลังจากใส่เลือดลงไปใน  NaF Tube   แล้ว    เขย่าหลอด (mix) ให้เลือดผสมกันดีกับสาร NaF หรือเปล่า    เพราะถ้าผสมกันไม่ดีเลือดจะ clot  และถ้าเขย่าผิดวิธีหรือแรงเกินไป    เม็ดเลือดแดงอาจจะแตกได้

เมื่อรวบรวมข้อมูลและระดมสมองจนได้ที่แล้ว    ก็ได้จัดทำ

  • คู่มือการเตรียม  NaF Tube  (มีการระบุ lot ทุกครั้งที่เตรียม  และลดจำนวน tube ที่เตรียมแต่ละครั้งลง   เพื่อไม่ให้ tube เหลือใช้   จนสารกันเลือดแข็งหมดอายุไปซะก่อน)
  • คู่มือวิธีการ mix 

ผลการดำเนินงาน     ปรากฏว่า   อัตราการ clot เพิ่มขึ้นจาก 1.46 %  เป็น 1.71 %     อ่านไม่ผิดค่ะ......มันเพิ่มขึ้นจริงๆ    เรื่องนี้ทีมงานก็สงสัยเหมือนกันว่าทำไม ?

พี่เลี้ยงของโครงการบอกว่า   ยังหาสาเหตุของการ clot ไม่ได้    เพราะดูวิธีการเตรียมก็ได้มาตรฐานแล้ว     อาจจะยังเข้าไม่ถึงต้นตอของปัญหา    อาจจะต้องปรับวิธีการ mix ใหม่    เพราะเท่าที่สังเกตช่วงที่คนไข้เยอะ    อัตราการ clot  จะเพิ่มขึ้น (ต้องรีบเจาะเลือด   เวลาในการ mix ลดลง)

มีข้อเสนอจากผู้ฟังและกรรมการ   หลายข้อดังนี้

  • อาจต้องทบทวนวิธีการเตรียม NaF Tube ใหม่
  • ใช้สาร NaF แบบเป็นน้ำได้หรือไม่  
  • ลองตรวจสอบเกรดและสูตรของสาร NaF
  • ซื้อ tube สำเร็จรูปดีมั๊ย     ปัญหาอาจลดลง

ถึงแม้ปัญหายังไม่ลดลง   แต่ทีมก็ได้อะไรหลายอย่างจากโครงการ   นอกจากได้คู่มือทั้งสองอย่างที่กล่าวมาแล้ว  

  • ยังได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม   
  • ฝึกการคิดแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
  • พบเทคนิคในการ mix tube เลือด    แต่ละคนจะมีเทคนิคแตกต่างกัน    จะเห็นว่าเวลา  "มือเก๋า"   เป็นคน mix   จะไม่ clot เลย    

เรื่องนี้....บรรดาเซียนนักเจาะเลือดทั้งหลาย   คงต้องขยายและถ่ายทอดเทคนิคดีๆ     ไปสู่มือใหม่ๆ บ้างแล้วล่ะค่ะ

ตามอ่านเรื่องราวของทีมนี้โดยละเอียดได้ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 65661เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท