หลักการเศรษฐกิจพอเพียง


พักนี้ไม่ค่อยได้ว่างอ่านหนังสือ แต่ในเมื่อเดือนนี้พอจะมีวันหยุดพิเศษอยู่บ้าง จึงได้โอกาสอ่านหนังสือ หนังสือเล่มที่หยิบมาอ่าน คือ สกุลไทย ฉบับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ ใช้เวลาอ่านเรื่อง นวัตกรรมกับเศรษฐกิจพอเพียง "แนวทางพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน"  โดยได้เขียนสรุปการอภิปรายและบรรยายของ ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล เนื่องในโอกาสที่สำนักนวตกรรมแห่งชาติ จัดงาน วันนวัตกรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๙ เมื่ออ่านอย่างละเอียดแล้ว เกิดความคิดว่าน่าจะลองสรุปมาบันทึกไว้ เพราะเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย และเมื่ออ่านแล้วได้ข้อคิดดังนี้ คือ  ให้เราใช้สติและปัญญาเป็นตัวนำในการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการขอให้เราทุกคน ยึดหลัก  ๓ คำง่ายๆ คือ

๑. พอประมาณ คือ ทำอะไรให้ประมาณตน ตามคำโบราณ

๒. มีเหตุมีผล คือ ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง

และ ๓. มีภูมิคุ้มกัน คือ สร้างภูมิคุ้มกันไว้ตลอด (ป้องกันความเสี่ยง) และ เมื่อมี ๓ คำนี้แล้ว ต้องใช้ความรู้รอบคอบนำทางอยู่ตลอดเวลาด้วย สรุปสั้นๆได้ใจความว่า หลักการเศรษฐกิจพอเพียง ต้อง

ง่าย  สะดวก  ทำได้  ประหยัด  และมีประโยชน์ ท่านได้กรุณาเล่าเพิ่มว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็ทรงมีแนวของพระองค์เหมือนกัน คือ โครงการต้องดี  สวย เร็วและฟรี

หมายเลขบันทึก: 65623เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล จะมาบรรยายพิเศษในงานสัมมนางานวันเกษตรอสาน ด้วยนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะสำหรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ช่วยให้เราเข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น

 

ขอบคุณอาจารย์ paew ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการบรรยายของท่าน ดร.สุเมธ ที่ มข.ค่ะ

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง (พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี)

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

1.ประหยัด

2.ประกอบอาชีพสุจริต

3.ไม่หยุดนิ่ง

4.ละสิ่งที่ชั่ว

5.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์

ขอบคุณ คุณ nfetachanok ค่ะ ที่มาช่วยเติมเต็ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท