เคล็ดลับ การพัฒนาคนของหน่วยพันธุศาสตร์


ประชุม สื่อสาร ต้องทำเป็นประจำ ขาดไม่ได้

. สินิจธร /คุณสมแข /น้องเอ็ม จากหน่วยพันธุศาสตร์ มาเล่าเคล็ดลับ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ของห้องพันธุศาสตร์  โอ…. น่าเสียดายอย่างยิ่ง สำหรับท่านที่ไม่ได้เข้าฟัง โดยเฉพาะผู้ที่จะมีส่วนผลักดันการพัฒนา  อาจารย์เล่าว่า อาจารย์พรพรต (รศ. ดร. นพ. พรพรต ลิ้มประเสริฐ)  เป็นคนริเริ่มการพัฒนาศักยภาพของคนในหน่วยก่อนที่  ISO จะบูมเสียอีก  กลยุทธ์อันหนึ่งคือ การประเมินความรู้ความสามารถในเนื้องาน โดยประเมินปีละ 2 ครั้ง ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ดิฉันเก็บตกจากวงเสวนามาเล่า  และคงมีอีกหลายคน ที่จะเล่าต่อ….  ทำอย่างไรไม่ให้เกิดแรงต้าน ทำอย่างไรให้ต่อเนื่อง คือประเด็นสำคัญ  เขามีเคล็ดลับดังนี้ค่ะ 

ขั้นที่1    ชี้แจงให้เห็นประโยชน์ของการทำสิ่งนั้น ว่าเขาจะได้รับอะไร เช่น มีผลงานวิจัยไปเลื่อนซี (ได้เงิน)  ได้เสนอผลงานที่ประชุม (ได้ออกงาน)  ได้เจอเพื่อนใหม่ (ได้เพื่อน  อิอิ!!! อาจจะอย่างอื่นด้วย)  ได้รางวัล (ได้หน้า) ฯลฯ เห็นมั๊ยคะ มีแต่ ได้กับได้   

ขั้นที่ 2   กำหนดภาระงานตามอายุการทำงาน หรือประสบการณ์ เช่น อายุงาน 1-2 ปี ทำอะไรได้บ้าง  2-3 ปี ต้องเก่งอย่างไร 

ขั้นที่ 3    หัวหน้าต้องตามดู ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ อย่างไร มีปัญหาอะไร ช่วยแก้ปัญหาให้  ให้กำลังใจ   ชมเชย ยกย่อง ตามแต่โอกาส 

ขั้นที่ 4     จัดกิจกรรมส่งเสริม  แต่ต้องไม่เป็นทางการนะ เพราะจะเครียด มอบหมายความยากง่ายตามแต่ละบุคคล  เช่น ถ้าอ่านภาษาอังกฤษได้ดี จะให้อ่าน  journal club  ในคนที่ภาษาอังกฤษยังเตาะแตะ รอไต่เต้า จะให้เล่าเรื่องจากการเข้าร่วมประชุม  หรือแม้แต่เล่าเนื้อหาใบแทรกของผลิตภัณฑ์   (leaflet) เป็นต้น ที่สำคัญคือเปิดโอกาสให้ถามพี่เลี้ยงถ้าไม่แน่ใจ หรือไม่เข้าใจ  ตกลงว่าพี่เลี้ยงต้องอ่านแทบทุกเรื่อง อ้อ!! อย่าลืมเลี้ยงข้าวเที่ยงหลังจากพูดเสร็จด้วย  เวอร์กมากๆ 

ขั้นที่ 5     ประชุม สื่อสาร ต้องทำเป็นประจำ ขาดไม่ได้  มีวาระชัดเจน  เพราะเป็นช่องทางสื่อความเข้าใจซึ่งกันและกันที่ดีมากๆ  ได้กำหนดกติกาต่างๆ ร่วมกัน  และสามารถติดตามงานได้ด้วยเป็นอย่างดี  ห้องนี้เขามีกติกาการปรับเงินถ้าใครทำไม่เข้าเป้า  ดังนั้นเวลาประชุมเขาจะมีกระปุกเหรียญเป็นเฟอร์นิเจอร์ด้วยเสมอ   แล้วก็เอาเงินนี่แหล่ะมาเลี้ยงข้าวเที่ยง ฉลาดไม๊? สรุปเคล็ดลับมาได้แค่นี้  ทีมงานจะเสริมก็เชิญเลยนะคะ  อยากเขียนอีกแต่มึนแล้ว เสียเวลากับจิ้มดีดมากๆๆๆๆๆ  มือใหม่หัดขับ   (สำนวนอาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด ใช่ไหมคะ) ก็อย่างนี้แหล่ะ แต่เป็นความรับผิดชอบ อย่างไรก็ต้องทำ  

หมายเลขบันทึก: 65586เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เสียดายค่ะ ตัวเองอยู่ในจุดเครื่องตรวจวิเคราะห์ งานยุ่งและเยอะมาก ได้ยินพี่โอ๋ บอกแล้วค่ะ แต่ไม่สามารถ เสียดาย.... โชคดีที่มี Blog เป็นช่องทางสื่อสาร แม้ผู้เขียนไม่ได้มีโอกาสก็สามารถเก็บเกี่ยวอ่านเอาได้....ขอบคุณมากค่ะ
ขอบคุณมากๆเช่นกันค่ะ อย่างนี้คนทำงานที่ไม่สามารถเข้าร่วมฟังได้ก็จะมีคุณลิขิตกิตติมศักดิ์มาเล่าให้ฟังได้เป็นอย่างดีเลยนะคะ แถมหน่วยงานอื่นๆก็อาจจะนำไปปรับใช้ได้อีกต่างหาก คงมีคนขอบคุณอ.ปลื้มจิตในใจอีกมากมายเลยล่ะค่ะ
ไปฟังมาด้วยค่ะ   ดีมากเลย (ต้องขอบคุณคุณจินตนา   ที่พยายามชักและจูง)
.
เสียดายแทนอื่นๆ  ที่พลาด    หน่วยอื่นๆ  น่าจะส่งตัวแทนไปฟังนะคะ  อย่าน้อยก็หนึ่งคน

อ่านแล้วได้ idea จากบันทึกนี้มาก ๆ เลยค่ะ จะนำไปปรับใช้ เพื่อจูงใจให้คนในหน่วยงานเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการพัฒนางาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท