การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยวัณโรคจังหวัดตาก


ทุกอำเภอมีจุดเด่นที่เป็นBest practiceอยู่ ที่จะช่วยให้ที่อื่นๆนำไปประยุกต์ใช้ได้

                 วันนี้ 6 ธันวาคม ทีมงานของสสจ.ตากเรา ได้จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยวัณโรคจังหวัดตากที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก โดยมีคุณสุพร คุณนิรกาฬ คุณกิตติพัทธ์ คุณกมล คุณเกศสุดา คุณศรีสุดาเป็นผู้ทำหน้าที่คุณอำนวยและคุณประสาน โดยเชิญผู้รับผิดชอบคลินิกวัณโรคของทุกโรงพยาบาลและผู้ประสานงานวัณโรคอำเภอจากทุกสำนักงานสาธารณสุขอำเภอมานำเสนอทั้ง 9 อำเภอ โดยมีอาจารย์หมอวิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์ และผมช่วยเป็นที่ปรึกษาและร่วมวิพากษ์ในการนำเสนอ

                  ทางทีมผู้ประสานได้กำหนดแบบฟอร์มตัวชี้วัดความสำเร็จผลงานส่งไปให้แต่ละอำเภอนำมาเสนอเพื่อการเปรียบเทียบผลงานกันในการทำBenchmarking แบบเต็มอกเต็มใจ โดยในการนำเสนอก็ไม่ได้กำหนดเวลาตายตัว เพียงกำหนดไว้ว่าใน 1 วันนี้ควรได้เรียนรุ้จากทุกอำเภอ

                   ในการนำเสนอทำให้เราทราบสถานการร์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคของจังหวัดจากทุกอำเภอ แต่อาจจะขาดในสว่นของNGOsที่ดูแลคือMSFที่ดูแลผู้ป่วยต่างชาติตามแนวชายแดน

                    ขุมความรู้ง่ายๆที่ได้รับเช่นในการติดตามเพื่อให้มีการขึ้นทะเบียนดูแลผู้ป่วยอย่างไม่ตกหล่นโดยการติดตามดูจาก 4 แห่งคือดูจากแผนกผู้ป่วยนอก ดูจากการตรวจเสมหะในห้องแล็ป ดูจากการสั่งจ่ายยาไรแฟมปิซินหรือยาไอโซไนอะซิดของห้องจ่ายยาหรือถ้ามีระบบคอมพิวเตอร์ก็พิมพ์รายชื่อผู้ป่วยที่ได้ยา 2 ตัวนี้ออกมาตรวจสอบ ซึ่งทางโรงพยาบาลแม่สอดสามารถขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคได้อย่างรวดเร็ว ลดการผิดพลาดได้เดือนละประมาณ 10 คน

                   ในเรื่องการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกที่ผ่านมาพบว่าได้ผลตรวจเป็นเสมหะบวกไม่มาก อาจไม่คุ้มการลงทุน แต่ถ้ามีการเฉพาะเจาะจงกลุ่มที่จะค้นเชิงรุกก็จะได้ความคุ้มค่ามากขึ้นเช่นที่อำเภอบ้านตากทำการค้นหาเชิงรุกในผู้ป่วยเอดส์ที่มารับยาต้านไวรัสเอดส์ได้ผลเสมหะบวกเดือบร้อยละ 50 เป็นต้น ดังนั้นในคลินิกผุ้ป่วยรับยาต้านไวรัสเอดส์จึงควรมีการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วยเอ๊กซ์เรย์ปอดและตรวจเสมหะทุกราย

                    ในเรื่องการลดแพร่กระจายเชื้อนั้นก็สามารถทำได้โดยการแยกบริเวณของการเก็บเสมหะให้อยู่ในที่โปร่ง อากาสถ่ายเทสะดวกเช่นบริเวณด้านข้างตึกที่ให้บริการ หากเสร็จสิ้นคลินิกแต่ละวันควรมีการม็อบพื้นให้สะอาดโดยผ้าม็อบ ไม่ควรใช้ไม้กวาดๆเพราะเชื้อวัณโรคที่ปนอยู่ในละอองฝอยจากการไอหรือหายใจจะตกลงพื้นก่อน โอกาสที่จะสูดเข้าปอดจะน้อย แต่เมื่อตกลงพื้นแล้วแห้งจะเกิดการฟุ้งกระจายและสูดเข้าทางลมหายใจได้ง่าย การม็อบพื้น การอยู่ในที่แดดส่องจะช่วยทำลายเชื้อวัณโรคได้ อาจารย์วิทยาแนะง่ายๆว่าจะทำที่เก็บเสมหะอาจทำแบบที่ปัสสาวะของผู้ชายตามปั๊มที่ใช้ผนังตึกแล้วกั้นเป็นช่องไว้ขากเสมหะแล้วมีอ่างล้างมือไว้ทำความสะอาดได้ ซึ่งลงทุนไม่มาก แถมปลอดภัยด้วย

                     บรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเป็นแบบสบายๆ ไม่เครียดและได้ข้อตกลงที่มาจากขุมทรัพย์ความรุ้ที่ขุดออกมาจากแต่ละแห่ง แล้วตกลงกันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและจะนัดมาคุยกันอีกในโอกาสต่อไป หลังจากทดลองปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ไปได้สักระยะหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 65567เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมขอยั่วประเด็นครับ

การคัดกรอง ผู้สัมผัสโรค  และ วินิจฉัย วัณโรคเสมหะย้อมไม่พบเชื้อ ในยุคเอดส์ระบาด สำหรับ รพช ควรทำอย่างไร  

และควรประเมินผลรูปแบบ นวตกรรม ในระยะเวลา 1 ปี

เท่าที่ผมพอทราบ แต่ละสถาบันทำไม่เหมือนกันทีเดียว   และ ผลลัพธ์ก็ไม่เคยเทียบ

WHO เพิ่งตีพิมพ์แนวทาง ที่

www.who.int/tb/hiv/en

ลองเทียบกับที่พวกเราทำอยู่ ดีมั้ย

ผมเชื่อว่า ควรพัฒนาแบบฟอร์ม ใช้สำหรับคัดกรองวัณโรค  เพื่อเอื้อต่อการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผล การทำงาน  นอกเหนือไปจากที่มี traetment card

ปีนี้ วัณโรค จัดเป็นกลุ่ม disease management แล้วแต่การคัดกรองวัณโรค  จะมีสปสช ซื้อบริการมั้ย ซื้ออย่างไร รายงานอย่างไร น่าสนใจมาก ผมไม่ทราบ ใครทราบช่วยบอกด้วน จักเป็นพระคุณครับ

 

 

ที่ตากมีไกด์ไลน์ร่วมกันทั้งจังหวัดในเรื่องActive case findingและผลลัพธ์ที่ได้ เพราะมีโครงการกองทุนโลกและTUCเข้ามา ผมจะหาเวลานำมาเสนอในบล็อคอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณอาจารย์วีรพัฒน์มากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท