E-learning ดีจริงหรือ ???


คุณค่าของการจัดการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ผู้เรียนอยากเรียน(Want to learn) กับ ต้องเรียน(Have to learn)
ช่วงเวลาที่ผ่านมาผมใช้เวลากับการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์อีกเรื่องหนึ่ง  ทำให้ไม่ค่อยมีเวลามาเขียนบล็อก(Blog) ประกอบกับได้หมกมุ่นกับการทำเว็บไซต์ของตนเองเลยได้เจอกับโปรแกรม Moodle ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการทำ E-learning แต่ก็ประสบกับปัญหาเล็กๆ น้อยๆ กับโปรแกรมซึ่งกำลังแก้ไขอยู่               ผมลองนั่งนึกดูว่าความคุ้มค่าของการทำ E-learning จะมีมากน้อยเพียงใด  โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง  แต่มองจากหลายมุมมอง  พบว่า  การที่จะสร้างแรงดึงดูดให้อยากเรียน (Attractive to learn) เป็นเรื่องที่ไม่ยาก  แต่จะทำให้ผู้เรียนต้องการศึกษาค้นคว้าอย่างแท้จริงหรือต้องการเรียน(Want to learn) นั้นเป็นเรื่องยาก  นักศึกษาระดับปริญญาโทหลายคนที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำ E-learning ซึ่งผลการวิจัยพบว่า  นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดย E-learning จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น (ในที่นี้เป็นเรื่องธรรมดาของการจัดการเรียนการสอนที่มีความพิเศษจากเดิม) ผมคิดว่าจะทำอย่างไรดีให้คนอยากเรียนหรือต้องการเรียนเพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่ใช้สร้าง E-learning ใครมีความคิดดีๆ ช่วยหน่อยครับ
คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 65528เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มาเยี่ยมและให้กำลังใจน้องเก่งครับ!!!!

 

เป็นกำลังใจให้ด้วยคนครับ

  • ในชีวิตเรา พบกับความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จครับ สังเกตุจากการเล่นหวย หากมีคนถูกหวย มากกว่าคนถูกกิน คนเราคงไม่ทำงานกัน และรัฐบาลคงรวยกว่านี้(เพราะกินแล้วต้องแบ่ง)
  • เป็นการยาก(แต่สามารถทำได้)ที่จะยัด want to learn ใส่หัวใคร แต่จะง่ายกว่าถ้าเปลี่ยนเป็น Have to learn(หรือคุณว่าไม่จริง)

  ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับผม  จะพยายามทำให้ดีที่สุดครับผม......

  • ไม่ค่อยเก่งเรื่อง IT
  • แต่ก็ขอเอาใจช่วยค่ะ

 

ก่อนอื่น ต้องขอทวนคำถามก่อนนะคะ

ที่คุณบอกว่า จะทำอย่างไรดีให้คนอยากเรียนหรือต้องการเรียนเพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่ใช้สร้าง E-learning ใครมีความคิดดีๆ ช่วยหน่อยครับ?

ทำยังไงให้คนอยากเรียน .. แล้วก็คุ้มค่ากับเวลาที่ใช้สร้าง E-learning ..

 1.ทำให้คนอยากเรียนรู้ เป็นเรื่องไม่ยาก แค่ต้องล้างระบบการเลียน (ร)แบบเก่า ๆ ไปก่อน ทุกวันนี้ เราเน้นการเรียนมากไป (การเรียนที่เรียกว่า เลียนแบบ จดจำกันจนไม่มีเวลาทำอะไร ลืมแม้กระทั่งจะค้นหาตนเองว่า เรารัก เราใส่ใจอะไร เมื่อไม่รู้สิ่งที่ตนเองสนใจหรือชอบ ก็นำไปสู่อีหรอบเดิม คือให้เรียนก็เรียนได้ แต่ก็จะเป็นแบบเรียนผ่าน ๆ ไปเท่านั้น ไม่ได้สนุก หรือ สนใจอยากจะรู้ให้ถ่องแท้ คือ เรียนจบแล้วจบไป  อย่าไปหวังว่าจะเกิด want to learn -- จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ อยู่ที่การรักที่อยากจะรู้ อยากจะรู้จัก ไม่ต่างอะไรกับการติดทีวี ติดยา แต่เป็นการรักติดในสิ่งที่สร้างสรรค์-- ซึ่งจุดเริ่มต้นตรงนี้น่าจะนำไปสู่  ฐานที่จะก่อให้เกิด การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (self -directed learning) ได้

สิ่งที่ เยาวชนไทย สมัยนี้ขาดเป็นอย่างยิ่งก็ คือ ลักษณะนิสัยที่นำไปสู่การสร้างความสำเร็จ ซึ่งก็คือ  ขาดการเรียนรู้ สู้สิ่งยาก ขาดฉันทะ--

มีวัฒนธรรมการเสพ การบริโภคความรู้แบบฉาบฉวย ขอไปที

ประเด็นที่สอง ในเรื่องของ **

ทำยังไงให้คนอยากเรียน .. แล้วก็คุ้มค่ากับเวลาที่ใช้สร้าง E-learning

ก่อนอื่นก็ต้องมาดูก่อนว่า e-Learning เป็นไง

e-Learning  เป็น  การเรียน การสอนที่การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์  เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์

ถ้าถามว่าทำไงให้คนอยากเรียน แล้วคุ้มค่ากัการสร้าง e-Learning มั๊ย

คงตอบยาก  แต่อย่างน้อยคงตอบได้ว่า  อะไรที่เป็นสิ่งที่ดี สร้างสรรค์กันไปเถอะ ประโยชน์อาจไม่มากมายท้วมท้น  แต่คงยังพอมีประโยชน์บ้าง -- อย่างน้อยก็มีประโยชน์กว่าการสร้างภาพยนต์ปัญญาอ่อน เช่น เดอะกิ๊ก ที่ใช้งบประมาณมหาศาล (เมือ่เทียบกับการทำe-Learning) เพื่อหล่อหลอมค่านิยมปัญญาอ่อนแน่นอนคะ

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างคน (ที่มีคุณภาพ) + สร้างระบบการเรียน การศึกษาที่มีคุณภาพเช่นกันเช่น e-Learningควบคู่กันไป เพราะว่าหากพัฒนาแต่เครื่องมืออย่างเดียว แต่คนไม่ได้พัฒนาตาม ก็ไม่สามารถเอาประโยชน์จากเครื่องมือนั้น ๆ ได้ ต่อให้เป็นเครือ่งมือที่ดีที่สุด  ก๋เหมือนคนไม่รู้วิธีใช้  

ยังคงติดตามต่อไปนะคะ

หวังว่าคงพอจะมีประโยชน์บ้าง สำหรับคนที่ผ่านเข้ามา

ต่ออีกนิดนะคะ

จากหัวข้อที่คุณขึ้นว่า  E-learning ดีจริงหรือ ???

อยากถามคุณเก่งเหมือนกันว่า ทุกวันนี้ เราควรที่จะถามกลับด้วยหรือเปล่าว่า

คนที่จะ ใช้ E-learning พร้อมหรือยัง ?

เพราะถ้า E-learning พร้อมแล้ว ดีแล้ว เหมาะแล้ว 

แต่เยาวชน หรือคนที่จะใช้ ยัง ม่ายรู้ ม่ายดู ม่ายเอา

ก็คงจบเห่นะคะ

หากจะพัฒนายังไงก็คงยังเน้นว่า

ต้องพัฒนา บุคคลควบคู่ไปด้วยกับเครื่องมือ/รูปแบบการเรียนรู้

เช่น ความใฝ่รู้  ความมุ่งอนาคต  การควบคุมตน ความมีวินัย  และสุดท้ายปัญญา **โยนิโสมนสิการ

-- อยากให้ลองไปดู เกี่ยวกับเรื่อง ของ โยนิโสคะ

ถ้าเยาวชนมีโยนิโสมนสิการ ต่อให้ไม่มีไรเลย คนก็ยังมีปัญญาในการคิด การแก้ไข การมุ่งมั่นพัฒนา

ทุกวันนี้ เด็ก ๆ มีแต่ ความรู้ ความจำ

 ยังไม่ใช่มีปัญญา

หุหุ ...

คนฉลาด กับคนมีปัญญา ต่างกันคะ

เด็กไทยทุกวันนี้เป็นเด็กฉลาดมากกว่ามีปัญญา

แล้วระบบการศึกษา ก็เอื้อให้คนฉลาดมากกว่ามีปัญญาด้วย 

 

 

 

  มาดึกๆ .. ความจริงจะเช้าแล้วครับ
  ขอให้กำลังใจในการทำงานครับ
  อ่านความเห็นท่าน คนผ่านทาง  แล้ว จับใจ ตรงใจ อยู่มาก อยากให้เดินผ่านตาม Blog ต่างๆบ่อยๆครับ
  ขอเพิ่มเติมว่า ภาวะ Want to learn นั้น จะเกิดได้จริงต้องผ่านกระบวนการสำคัญคือ จัดการให้เขาได้เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ด้วยใจรัก เช่น ทำให้สิ่งที่เรียน มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิตเขา เห็นชัดว่า ความสุข ความสำเร็จอะไรจะเกิดขึ้น หลังจากได้เรียนรู้เรื่องนั้น .. ถ้าให้ดี ควรเป็นความสุขที่เขาจะได้จากการทำอะไรเพื่อคนอื่น .. การได้รับการยอมรับนับถือ ฯลฯ .. ภาวะ Have to learn ก็จะเริ่มปรากฏในใจเขาว่า .. ไม่เรียนไม่ได้แล้วนะ .. ทำซ้ำ ทำบ่อยๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย แต่เป้าหมายเด่นชัด ก็จะค่อยๆสร้าง ภาวะ Want to learn .. และ Love to learn  เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด.
   ต่อไปไม่ว่า E-Learning หรือสื่อการเรียนรู้รูปแบบใด แม้ที่เป็นกระดาษแผ่นเดียว ก็จะดึงดูดใจให้เขาอยากรู้อยากเรียนได้ทั้งสิ้น

  • ต้องค่อยๆสร้งเทคนิค ใส่ลูกเล่นให้ดึงดูดใจ
  • Moodle ต้องใช้เวลา
  • แวะมาให้กำลังใจครับผม
ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังแสวงหาคำตอบเรื่องนี้เป็นอย่างมากครับ เพราะพยายามที่จะนำเอา e-Learning ไปใช้กับการศึกษานอกโรงเรียน คำถามแรกที่ถามประจำตอนนี้ก็คือ เราพร้อมแล้วหรือยังที่จะเรียนผ่านทางระบบ e-Learning คำตอบยังไม่ชัดเจน แต่ที่ทำมาประมาณ 2 ปี ก็คิดเองตอบเองว่า คนกลุ่มหนึ่งพร้อม แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของการศึกษานอกโรงเรียนในชนบทส่วนมากยังไม่พร้อม ทั้งเรื่องเครื่องมือ อุปกรณ์ แต่ส่วนใจผู้เรียนนั้นคิดว่าอยากเรียน อยากรู้ (ในส่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความจำเป็นที่ต้องนำไปใช้)
    ประเด็นต่อมา ก็มาหาคำตอบอีกว่า วิธีการ หรือรูปแบบอย่างไร จึงจะดี จะเหมาะสม ซึ่งก็ยังหาคำตอบที่ลงตัวไม่ได้ เพราะผู้ที่เข้ามาเรียนเป็นเพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น และเมื่อดูแล้ว จะเห็นว่า ผู้เรียนมีความหลากหลายดังนั้น จึงพยายามแสวงหาคำตอบ พบที่ไหนที่มีผู้ทำ ทดลองหรือได้คำตอบ จะเข้าไปศึกษาทันที
    แต่ก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ว่า ถ้าคิดว่า เป็นสิ่งที่ดี ก็ควรทำต่อไป โดยคิดว่า มีผู้ได้ประโยชน์แม้เพียงคนเดียวก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว และก็คิดเสมอว่า สิ่งที่ทำนี้ ถือว่า เป็นช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้สำหรับผู้ที่เหมาะสมที่จะใช้ช่องทางนี้ เพื่อการเรียนรู้
   เส้นทางนี้ คงยังอยู่อีกยาวไกล ที่จะได้ทำ และศึกษาค้นคว้าต่อไป ขอขอบคุณมากที่เปิดประเด็นนี้ และเป็นประเด็นที่เป็นประโยชน์มาก เพราะกำลังหาคำตอบอยู่ด้วยเช่นกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท