5 วิธีป้องกันท้องอืดจากพืชผัก


ข่าวดีคือ สถาบันวิจัยมะเร็งสหรัฐอเมริกา (AIRC) มีคำแนะนำในการป้องกันท้องอืดสำหรับ “มือใหม่” ดังต่อไปนี้

 

เมืองไทยเราส่งเสริม “ผักครึ่งหนึ่ง – อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง” มือใหม่กินผัก หรืออาหารที่มีกากใยมากส่วนหนึ่งจะพบปัญหาท้องอืด แน่นท้อง

ปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้ย่อยกากใยในอาหาร และปล่อยแก๊สออกมา ทำให้บางคนเกิดอาการท้องอืดได้

ข่าวดีคือ สถาบันวิจัยมะเร็งสหรัฐอเมริกา (AIRC) มีคำแนะนำในการป้องกันท้องอืดสำหรับ “มือใหม่” ดังต่อไปนี้

1)           เริ่มแต่น้อย...ค่อยๆ เพิ่ม                             

การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะทำให้ร่างกายปรับตัวได้ดีกว่า เช่น ถ้าเราตั้งใจจะกินข้าวกล้องแทนข้าวขาว เราอาจจะแช่ข้าวกล้องค้างคืนให้นุ่มลงเสียก่อน และผสมกับข้าวขาวอย่างละครึ่ง...

รอให้ร่างกายปรับตัว 3-7 วัน หลังจากนั้นเพิ่มสัดส่วนข้าวกล้องเป็น ¾ ของข้าวทั้งหมด รออีก 3-7 วันจึงเลิกใช้ข้าวขาว กินแต่ข้าวกล้องอย่างเดียว

2)        เริ่มด้วยผักสุก...ค่อยๆ เพิ่มผักสด 

คนส่วนใหญ่จะกินผักสุกได้มากกว่าผักดิบ ช่วงที่เป็นมือใหม่กินผักน่าจะกินผักสุกให้มากหน่อย เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนผักสดทีละน้อย

3)        น้ำมากหน่อย...เดินมากหน่อย 

การดื่มน้ำให้มากขึ้น ดื่มคราวละน้อยๆ บ่อยๆ ตลอดวัน และการเดินให้มากขึ้น เช่น เดินหลังอาหารช้าๆ 10-15 นาที มีส่วนช่วยให้ลำไส้บีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียมีเวลาสร้างแก๊สในลำไส้ได้ลดลง ช่วยป้องกันอาการท้องอืดได้

4)        ลดผักที่ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ลง

ผักที่อาจทำให้เกิดแก๊สในลำไส้มากได้แก่ หัวหอม กระเทียม ผักตระกูลกะหล่ำ (ผักกาดบร็อคโคลี...) และถั่ว

การกินพืชผักเหล่านี้ให้น้อยลงจะช่วยลดโอกาสเกิดอาการท้องอืดได้

5)        กินอาหารไขมันให้น้อยลง     

ไขมันเป็นอาหารที่ใช้เวลาในการย่อยนานกว่าอาหารประเภทอื่น ถ้ากินไขมันน้อยลง ลำไส้จะบีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียสร้างแก๊สในลำไส้ได้ลดลง ช่วยป้องกันอาการท้องอืด

    แหล่งที่มา:                                      
  • Thank > www.aicr.org > Gas Crisis: The Hurdle To Healthy Eating That No One Talks About...In Polite Company > October 6, 2005.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๑๒ ตุลาคม ๔๘ > แก้ไข ๘ มิถุนายน ๒๕๕๐.
หมายเลขบันทึก: 6548เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2005 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท