Som_O WAY
นางสาว วิภาวรรณ ศรีสุเพชรกุล

อีกบทบาทในสำนักจัดการความรู้ ตอนที่ 2


พึ่งรู้ว่าข้าวกล้องปลูกได้ด้วย!!!

การสัมมนาวิชาการเรื่อง"การจัดการความรู้ด้านการป้องกันควบคุมโรค:กระบวนการเรียนรู้กับภาคเครือข่าย"  ในช่วงบ่ายของวันแรก (27พฤศจิกายน2549) มีวิทยากรที่มีประสบการณ์จากการทำKM  โดยเราได้แบ่งห้องประชุมเป็น 2 ห้อง  คือห้องการจัดการความรู้ภาคราชการ (คุณธุวนันท์  พานนิชโยทัย กรมส่งเสริมการเกษตร และคุณภีม  ภคเมธาวี  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)  และห้องการจัดการความรู้ภาคสังคม   (คุณจันทนา  หงษา  คุณชลสรวง  พลแสน มูลนิธิข้าวขวัญ และนพ.สมพงษ์  ยูงทอง  โรงเรียนชาวนานครสวรรค์)  ดิฉันได้เลือกเข้าห้องภาคสังคมค่ะ  ในกรณีศึกษาที่ 1 การจัดการความรู้เพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน  พี่จิ๋ม (คุณจันทนา  หงษา) ก็ได้เล่าให้เราฟังถึงกระบวนการในการส่งเสริมให้เกษตรกรทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี ดิฉันว่าเป็นงานที่ยากตั้งแต่ตอนเริ่มเข้าไปหาแนวร่วมแล้ว เข้าไปหาใครซักคนที่สนใจที่จะทำเกษตรปลอดสารเคมี  แล้วเข้าไปเสนอขายไอเดียให้เขา  บางที่เขาก็ตอบรับมาอย่างดี  แต่ต้องมีอยู่แล้วค่ะบางที่ที่เขาปฏิเสธ  โดยงานนี้เป็นหน้าที่ของพี่ชมพู่ เป็นเจ้าหน้าที่สนามต้องลงพื้นที่ไปพูดคุยขายฝันกับชาวบ้าน เคล็ดลับอย่างหนึ่งคือการศึกษาวัฒนธรรมของพื้นที่  และพี่ชมพู่ (คุณชลสรวง  พลแสน)  ก็โชคดีที่พูดภาษาอีสานได้  เนื่องจากคนในพื้นที่พูดอีสาน เมื่อผู้แปลกหน้าพูดภาษาเดียวกันก็ทำให้ชาวบ้านคุ้นเคย  พี่จิ๋มให้ข้อคิดว่า ถ้าเราเข้าไปแบบเด็ก เขาก็จะเอ็นดูเรา  แต่ถ้าเข้าไปแบบเป็นนายชี้นิ้วสั่ง  ทุกอย่าง...จบ   เรื่องนี้คงเอาไปใช้ได้ทุกๆเรื่องค่ะ เป็นสัจธรรมในการประสานงานโดยแท้จริง  พอได้ดูภาพที่พี่ๆ เขาเอามาให้ดูแล้วเห็นนวตกรรมใหม่ๆ  เช่น เครื่องดำนา  แล้วที่น่าทึ่งก็คือการเอาข้าวกล้องมาปลูก  พึ่งรู้ก็งานนี้ล่ะค่ะว่าข้าวกล้องปลูกได้  ทั้งๆที่ตัวเองเป็นคนกาฬสินธุ์แท้ๆ เลยค่ะ ญาติพี่น้องเป็นชาวนา  ไม่เคยรู้เลยว่าข้าวกล้องมันปลูกได้ เดี๋ยวมีโอกาสกลับบ้านต้องไปถามลุงที่บ้านค่ะว่ารู้มั๊ย  แต่พอพี่จิ๋มอธิบายเราก็อ๋อ !กันทั้งห้องประชุมค่ะ  มันก็เป็นหลักทางชีววิทยาง่ายๆ  ค่ะคือ จมูกข้าวมันก็คือ Embryo ที่แห้งแล้วนั่นแหล่ะ  พอรดน้ำให้มันชุ่มมันก็จะสามารถงอกเป็นต้นกล้าได้  ส่วนเปลือกข้าว ก็เป็นเหมือนผิวห่อหุ้ม Embryo แค่นั้นเอง  เพียงแต่ว่าพอไม่เปลือกข้าวแล้ว ก็เหมือนไม่มีอะไรปกป้อง Embryo  จึงจำเป็นต้องเพาะข้าวในที่ที่มีความเป็นด่างเล็กน้อยเช่น บนทราย  หรือแกลบดำ  เพราะจะช่วยปกป้องเชื้อรามาทำร้าย Embryo ไงล่ะจ๊ะ...เดี๋ยวจะลองปลูกในกระถางดูเหมือนกันว่าจะได้ผลมั๊ย ...

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 65402เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท