กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล : ศึกษากรณีการสมรสของพวกรักร่วมเพศ ทั้งตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ


สิทธิของพวกรักร่วมเพศนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในทางระหว่างประเทศ

ปัญหากฎหมายในทางระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีการสมรสของพวกรักร่วมเพศ โดยพิจารณาในประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศและหลักกฎหมายขัดกันและการขจัดปัญหาการขัดกันแห่งกฎหมาย เนื่องจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติรวมทั้งความหลากหลายในทางภูมิภาค จึงทำให้เกิดปัจจัยที่จะทำเกิดความแตกต่างกันได้ทั้งทางด้านความคิด การดำเนินชีวิต และยิ่งไปกว่านั้นก็คือความแตกต่างในเรื่องของกฎหมาย อันนำมาซึ่งความหลากหลายและอาจรวมถึงความขัดแย้งในทางระหว่างประเทศก็มีความเป็นไปได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงทำให้ข้าพเจ้ามีความสนใจในการที่จะทำการศึกษาในเรื่องกฎหมายของนานาประเทศ อันเป็นที่มาของการศึกษาในเรื่องของกฎหมายขัดกัน โดยในส่วนที่ข้าพเจ้ามีความสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือในกฎหมายที่เกี่ยวกับการสมรส โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการสมรสของพวกรักร่วมเพศ สาเหตุที่ข้าพเจ้ามีความสนใจในเรื่องดังกล่าวนั้น ก็เนื่องจากว่าข้าพเจ้าเห็นว่าพวกรักร่วมเพศนั้น เป็นบุคคลที่ยังไม่ได้รับการรับรองสิทธิในทางกฎหมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการสมรสอยู่ค่อนข้างมาก เช่นในบางประเทศนั้นพวกรักร่วมเพศนั้นไม่สามารถที่จะทำการสมรสได้ คือหากพวกรักร่วมเพศจดทะเบียนสมรสกัน การสมรสดังกล่าวก็หามีผลในทางกฎหมายแต่อย่างใด อันเป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่าพวกรักร่วมเพศนั้นไม่ได้รับความเท่าเทียมกัน ทั้งที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกันกับพวกต่างเพศที่สามารถทำการสมรสกันได้ จึงเป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่ามีลักษณะเหมือนว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน, สิทธิในการดำเนินชีวิต ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ผลเสียก็จะเกิดแก่พวกรักร่วมเพศอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ซึ่งในบางประเทศนั้น แม้ว่ากฎหมายจะไม่อนญาตให้พวกรักร่วมเพศสมรสกันได้ แต่ก็จะมีการบัญญัติกฎหมายพิเศษขึ้นมาเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของพวกรักร่วมเพศที่มีความประสงค์จะอยู่ร่วมกัน อันเป็นมาตราการทางกฎหมายที่ออกมาเพื่อประโยชน์แก่พวกรักร่วมเพศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายของประเทศนั้นๆ ว่ามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองบุคคลของตนไม่ว่าจะเป็นพวกต่างเพศหรือพวกรักร่วมเพศ และเหตุผลที่สำคัญอีกประการที่ทำให้สนในจะทำรายงานเรื่องนี้ ก็เนื่องจากว่าปัญหาของพวกรักร่วมเพศนั้น เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อบุคคลในทางระหว่างประเทศโดยตรงและสมควรจะทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ โดยในรายงานฉบับนี้จะทำการศึกษาในเรื่องของการสมรสของพวกรักร่วมเพศทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยจะศึกษาทั้งในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ( CIVIL LAW) และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (COMMON LAW) ซึ่งที่จะต้องทำการศึกษากฎหมายของต่างประเทศด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้เห็นว่าในกฎหมายที่เกี่ยวกับการสมรสของพวกรักร่วมเพศของประเทศไทยกับต่างประเทศนั้นมีความเหมือนหรือว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร อันจะนำมาสู่เอกภาพในทางกฎหมายนั่นเองและเป็นแนวทางในการขจัดการขัดกันในทางกฎหมายระหว่างประเทศด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ว่ากฎเกณฑ์ที่เป็นกฎหมาย (The law) ไม่อาจผันแปรตามสถานที่และกาลเวลา เพราะว่าอุดมคติของกฎหมายนั้นคือความยุติธรรม ซึ่งความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นให้ความเป็นธรรมต่อสังคม มีความสอดคล้องต่อสังคม มีความสม่ำเสมอแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความแน่นอนของกฎหมาย (Legal cetainly) และเกิดเสถียรภาพในทางกฎหมาย (Legal security) โดยจะกล่าวในรายละเอียดดังต่อไปนี้ เนื่องจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติรวมทั้งความหลากหลายในทางภูมิภาค จึงทำให้เกิดปัจจัยที่จะทำเกิดความแตกต่างกันได้ทั้งทางด้านความคิด การดำเนินชีวิต และยิ่งไปกว่านั้นก็คือความแตกต่างในเรื่องของกฎหมาย อันนำมาซึ่งความหลากหลายและอาจรวมถึงความขัดแย้งในทางระหว่างประเทศก็มีความเป็นไปได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงทำให้ข้าพเจ้ามีความสนใจในการที่จะทำการศึกษาในเรื่องกฎหมายของนานาประเทศ อันเป็นที่มาของการศึกษาในเรื่องของกฎหมายขัดกัน โดยในส่วนที่ข้าพเจ้ามีความสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือในกฎหมายที่เกี่ยวกับการสมรส โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการสมรสของพวกรักร่วมเพศ สาเหตุที่ข้าพเจ้ามีความสนใจในเรื่องดังกล่าวนั้น ก็เนื่องจากว่าข้าพเจ้าเห็นว่าพวกรักร่วมเพศนั้น เป็นบุคคลที่ยังไม่ได้รับการรับรองสิทธิในทางกฎหมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการสมรสอยู่ค่อนข้างมาก เช่นในบางประเทศนั้นพวกรักร่วมเพศนั้นไม่สามารถที่จะทำการสมรสได้ คือหากพวกรักร่วมเพศจดทะเบียนสมรสกัน การสมรสดังกล่าวก็หามีผลในทางกฎหมายแต่อย่างใด อันเป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่าพวกรักร่วมเพศนั้นไม่ได้รับความเท่าเทียมกัน ทั้งที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกันกับพวกต่างเพศที่สามารถทำการสมรสกันได้ จึงเป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่ามีลักษณะเหมือนว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน, สิทธิในการดำเนินชีวิต ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ผลเสียก็จะเกิดแก่พวกรักร่วมเพศอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ซึ่งในบางประเทศนั้น แม้ว่ากฎหมายจะไม่อนญาตให้พวกรักร่วมเพศสมรสกันได้ แต่ก็จะมีการบัญญัติกฎหมายพิเศษขึ้นมาเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของพวกรักร่วมเพศที่มีความประสงค์จะอยู่ร่วมกัน อันเป็นมาตราการทางกฎหมายที่ออกมาเพื่อประโยชน์แก่พวกรักร่วมเพศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายของประเทศนั้นๆ ว่ามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองบุคคลของตนไม่ว่าจะเป็นพวกต่างเพศหรือพวกรักร่วมเพศ และเหตุผลที่สำคัญอีกประการที่ทำให้สนในจะทำรายงานเรื่องนี้ ก็เนื่องจากว่าปัญหาของพวกรักร่วมเพศนั้น เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อบุคคลในทางระหว่างประเทศโดยตรงและสมควรจะทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ โดยในรายงานฉบับนี้จะทำการศึกษาในเรื่องของการสมรสของพวกรักร่วมเพศทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยจะศึกษาทั้งในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ( CIVIL LAW) และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (COMMON LAW) ซึ่งที่จะต้องทำการศึกษากฎหมายของต่างประเทศด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้เห็นว่าในกฎหมายที่เกี่ยวกับการสมรสของพวกรักร่วมเพศของประเทศไทยกับต่างประเทศนั้นมีความเหมือนหรือว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร อันจะนำมาสู่เอกภาพในทางกฎหมายนั่นเองและเป็นแนวทางในการขจัดการขัดกันในทางกฎหมายระหว่างประเทศด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ว่ากฎเกณฑ์ที่เป็นกฎหมาย (The law) ไม่อาจผันแปรตามสถานที่และกาลเวลา เพราะว่าอุดมคติของกฎหมายนั้นคือความยุติธรรม ซึ่งความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นให้ความเป็นธรรมต่อสังคม มีความสอดคล้องต่อสังคม มีความสม่ำเสมอแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความแน่นอนของกฎหมาย (Legal cetainly) และเกิดเสถียรภาพในทางกฎหมาย (Legal security) ซึ่งเมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1448 ที่บัญญัติว่า การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ ดังนั้นหลักเกณฑ์การสมรสต้องเป็นการกระทำระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น บุคคลเพศเดียวกันไม่สามารถทำการสมรสได้เลย แต่ในความเป็นจริงในสังคมปัจจุบันรูปแบบการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามีการเปลี่ยนแปลงไป คือ นอกจากมีการอยู่ร่วมกันระหว่างชายกับหญิงแล้ว ยังมีกรณีบุคคลเพศเดียวกันอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่การอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศกฎหมายไทยในปัจจุบันไม่ยอมรับ ปัญหาที่ตามมาคือ พวกรักร่วมเพศไม่มีสิทธิหน้าที่ระหว่างกันตามกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่ากฎหมายไทยไม่รับรองคุ้มครองสิทธิการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศ เช่น ในเรื่องทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน มิถือว่าเป็นสินสมรสในระหว่างกัน หลักเกณฑ์เรื่องสินสมรสไม่นำมาใช้ แต่ศาลได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยพิพากษาว่าทรัพย์สินที่พวกรักร่วมเพศทำมาหาได้ร่วมกันให้ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมหรือปัญหาในเรื่องการรับมรดก คู่รักร่วมเพศไม่มีสิทธิรับมรดกของอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะไม่อยู่ในฐานะทายาทโดยธรรม ปัญหาดังกล่าวกฎหมายไทยจึงควรหาแนวทางในการแก้ไขเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศ และในการศึกษานี้ได้ศึกษาหลักเกณฑ์การสมรสทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศนอกจากนี้ยังศึกษากฎหมายต่างประเทศทั้งระบบ Common Law และ Civil Law ที่มีการบัญญัติกฎหมายใหม่ ที่ให้สิทธิในการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศเสมือนเป็นคู่สมรส และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายไทย ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กฎหมายในเรื่องการสมรสที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จำกัดการสมรสให้กระทำได้ระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น พวกรักร่วมเพศแม้จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาก็ไม่มีสิทธิสมรสกันได้ตามกฎหมาย พวกรักร่วมเพศจึงไม่มีสิทธิ หน้าที่หรือผลประโยชน์ที่คู่สมรสพึงมีในระหว่างกัน เช่น สิทธิในเรื่องทรัพย์สินในระหว่างกัน มรดก ภาษี หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างกัน ในต่างประเทศได้พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงในสังคมปัจจุบัน และยอมรับพฤติกรรมการรักร่วมเพศ จึงได้มีการบัญญัติกฎหมายใหม่ขึ้นมาให้สิทธิในการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศให้ได้รับความคุ้มครองเสมือนคู่สมรสพึงมีพึงได้ เช่น ระบบ Civil Law ประเทศเดนมาร์คได้บัญญัติกฎหมายที่เรียกว่า The Danish Registered Partnership Act ในประเทศฝรั่งเศสบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่า Civil Solidarity Pact เยอรมันบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่า Act on Life Partnership ส่วนในระบบ Common Law ในสหรัฐอเมริกา มลรัฐ Vermont ได้บัญญัติกฎหมายที่เรียกว่า Civil union กฎหมายที่บัญญัติขึ้นมานั้นมีแนวความคิดที่เล็งเห็นคุณค่าของความรักว่าความรักของพวกรักร่วมเพศมีคุณค่าเท่าเทียมกับความรักของพวกต่างเพศ นอกจากนี้รูปแบบในการอยู่ร่วมกันมีหลายรูปแบบ การอยู่ร่วมกันของพวกต่างเพศเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ในกรณีของประเทศไทยยังมิได้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิในการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศเหมือนในต่างประเทศ ดังนั้นปัญหาในเรื่องการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมกันจึงยังมิได้มีการแก้ไข พวกรักร่วมเพศแม้อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยานานเพียงใดก็ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในกรณีดังกล่าวนั้น เห็นว่าสิทธิการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศในปัจจุบันไม่เท่าเทียมกับคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่การอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศก็ต้องการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาเหมือนคู่สมรสแต่พวกรักร่วมเพศไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายเลย จึงมีความเห็นว่าวรที่จะทำการศึกษากฎหมายต่างประเทศที่มีหลักเกณฑ์ยอมรับการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศทั้งแนวความคิด วิธีการและรูปแบบการรับรอง ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาที่กฎหมายไทยไม่สามารถรับรองพวกรักร่วมเพศในการอยู่ร่วมกัน โดยนำหลักเกณฑ์กฎหมายต่างประเทศมาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายเพื่อรับรองการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศในประเทศไทย พวกรักร่วมเพศนั้นไม่ว่าจะเป็นในต่างประเทศหรือประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่อดีตแล้ว โดยมีความคิดว่าการรักร่วมเพศเป็นสิ่งผิดปกติ แต่ในมุมมองของนักสังคมวิทยาในปัจจุบัน มิได้ถือว่าเป็นการผิดปกติแต่มองว่าพฤติกรรมการรักร่วมเพศมีสาเหตุหลายประการ เช่นด้านสิ่งแวดล้อม สภาวะของจิตใจ

โดยสำหรับในประเทศไทยได้มีความพยายามให้คำจำกัดความของการรักร่วมเพศเอาไว้ว่าการรักร่วมเพศ หมายถึง การมีความสุขทางเพศกับคนที่มีเพศเดียวกัน ถ้าระหว่างชายต่อชายด้วยกัน มักเรียกทับศัพท์ว่า เกย์ (Gay) ระหว่างหญิงต่อหญิง เรียกว่า เลสเบียน (Lesbian) สิทธิของพวกรักร่วมเพศตามกฎหมายไทย : ว่าด้วยเรื่องการสมรส ตามกฎหมายไทยในปัจจุบัน ตามบทบัญญัติมาตรา 1448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บัญญัติว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์” ดังนั้นการสมรสจึงกระทำได้เฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ตามกฎหมายไทยตั้งแต่สมัยอดีตไม่ยอมรับการแต่งงานหรือการสมรสของพวกรักร่วมเพศ ส่วนกฎหมายไทยในปัจจุบันไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ก็ไม่มีบัญญัติรับรองการสมรสของพวกรักร่วมเพศ โดยตามมาตรา 1448 ให้การสมรสกระทำได้เฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น ดังนั้น พวกรักร่วมเพศจึงไม่มีสิทธิที่จะสมรส เช่นเดียวกับพวกต่างเพศ ผลของการที่กฎหมายไทยไม่อนุญาตให้พวกรักร่วมเพศสมรสกัน เมื่อบุคคลที่เป็นพวกรักร่วมเพศ ไม่สามารถทำการสมรสกันได้ตามมาตรา 1448 เพราะกฎหมายให้สิทธิเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น ดังนั้น แม้บุคคลพวกรักร่วมเพศมีเจตนาที่จะอยู่ร่วมกันหรือมีความยินยอม สมัครใจที่จะอยู่กินร่วมกันก็ตาม ก็ไม่ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ทำการสมรสกันตามกฎหมายแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้หลักในกฎหมายครอบครัวว่าด้วยการสมรสจะไม่นำมาใช้กับพวกรักร่วมเพศเลย ทั้งที่พวกรักร่วมเพศมีเจตนาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน และมีความสัมพันธ์กัน เหมือนกับคู่สมรสต่างเพศ เช่น ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา โดยทรัพย์สินที่พวกรักร่วมเพศทำมาหาได้ร่วมกันก็จะไม่ถือว่าเป็นสินสมรส หรือสิทธิที่จะหย่ากันโดยความยินยอม หรือฟ้องหย่า ค่าเลี้ยงชีพที่คู้สมรสที่หย่าจากกันมีสิทธิได้รับ ค่าขาดไร้อุปการะในกรณีที่มีบุคคลทำให้คู่ของตนเสียชีวิต สิทธิเหล่านี้พวกรักร่วมเพศจะไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย กรณีที่พวกรักร่วมเพศอยู่กินด้วยกัน ในระหว่างที่อยู่กินร่วมกัน ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสินสมรส ดังนั้นถ้าพวกรักร่วมเพศไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินร่วมกันอีกต่อไป จะจัดการทรัพย์ส่วนนี้อย่างไร ปัญหาในเรื่องนี้ศาลฎีกาได้พิพากษาวางหลักไว้ เพื่อคุ้มครองไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเสียเปรียบโดยมีคำพิพากษาฎีกา ที่ 3721/2532 ปัญหาก็คือ ถ้ามีการร้องขอของพวกรักร่วมเพศให้จดทะเบียน นายทะเบียนต้องปฏิเสธไม่จดทะเบียนสมรสให้ เพราะขัดกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 ที่ให้สิทธิเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น แต่หากมีการจดทะเบียนสมรสของบุคคลเพศเดียวกัน เพราะมีการหลอกลวงนายทะเบียนหรือความสำคัญผิดของนายทะเบียน ปัญหาคือผลตามกฎหมายจะเป็นอย่างไร จะถือว่าการจดทะเบียนนั้นเป็นโมฆะ หรือเป็นโมฆียะหรือไม่ กรณีนี้ถือว่าไม่มีการสมรสเกิดขึ้น กรณีจะอ้างว่าการจดทะเบียนนั้นเป็นการสมรสโดยเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ เพราะการสมรสจะเป็นโมฆะกฎหมายบัญญัติไว้กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1495 และการสมรสจะเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1503 มาตรา 1504 แต่กรณีการจดทะเบียนของพวกรักร่วมเพศถือว่าขาดองค์ประกอบที่จะทำการสมรสกันได้ตามกฎหมายอันถือว่ามิได้มีการสมรสเกิดขึ้น จึงไม่มีสิทธิหน้าที่ ที่กฎหมายรับรองในเรื่องการสมรส ตามกฎหมายไทย พวกรักร่วมเพศไม่สามารถทำการสมรสกันได้ แม้จะมีเจตนาอยู่กินร่วมกัน บุคคลพวกรักร่วมเพศ ไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายในเรื่องการสมรสระหว่างกัน แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายก็ให้ประโยชน์ในเรื่องทรัพย์สินระหว่างพวกรักร่วมเพศที่อยู่ด้วยกันโดยศาลฎีกาได้วางหลักให้นำเรื่องกรรมสิทธิ์รวมมาใช้ แต่สิทธิและหน้าที่ในเรื่องอื่น ๆ กฎหมายรับรองให้กับคู่สมรสต่างเพศเท่านั้น พวกรักร่วมเพศจะไม่สิทธิดังกล่าวเลย ส่วนสิทธิในการสมรสของพวกรักร่วมเพศตามกฎหมายต่างประเทศนั้น จะพิจารณาทั้งประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย CIVIL LAW และ COMMON LAW โดยจะอธิบายดังนี้ การสมรสของพวกรักร่วมเพศตามระบบกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร (CIVIL LAW) โดยจะพิจารณากฎหมายของประเทศฝรั่งเศส กล่าวคือกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสในเรื่องการสมรสให้สิทธิเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้นที่จะทำการสมรส พวกรักร่วมเพศไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายในการสมรส แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายของฝรั่งเศสก็ได้บัญญัติกฎหมายพิเศษที่เป็นการรับรองสิทธิของพวกรักร่วมเพศเอาไว้ ที่เรียกว่าข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน (Civil Solidarity Pact) เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาใหม่ มิใช่การสมรส แต่กฎหมายดังกล่าวให้สิทธิในเรื่องการอยู่ร่วมกันเสมือนเป็นการสมรส โดยกฎหมายให้สิทธิบุคคลทั้งที่มีเพศเดียวกันและต่างเพศกันที่จะผูกพันตามกฎหมายนี้ ในกรณีของบุคคลต่างเพศกัน แม้จะมีสิทธิสมรสตามกฎหมาย แต่พวกรักร่วมเพศที่ไม่ต้องการสมรสแต่ต้องการอยู่กินร่วมกัน มีสิทธิที่จะผูกพันตามข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน (Civil Solidarity Pact) ได้ และมิได้ถือว่าเป็นการสมรสตามกฎหมาย ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน (Civil Solidarity Pact) มีแนวความคิดมาจากกฎหมายยอมรับว่าคู่ที่อยู่ร่วมกันโดยมิได้สมรสเป็นจำนวนมาก อีกทั้งคู่ที่รักร่วมเพศ Homoxexual มีคุณค่าที่เท่าเทียมกันกับพวกรักต่างเพศ จึงเป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่า ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน (Civil Solidarity Pact) บัญญัติขึ้นมาบนพื้นฐานความเท่าเทียมกันของมนุษย์ และผลตามกฎหมายของการทำข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน (Civil Solidarity Pact) นั้นเมื่อบุคคลผูกพันหรือเข้าทำข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน ย่อมเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างกันเสมือนคู่สมรส ซึ่งผลตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นในเรื่องสิทธิและความสัมพันธ์ในระหว่างคู่ที่ทำข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน (Civil solidarity pact)หน้าที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน , คู่ตกลงตามข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันรวมถึงทางด้านการเงิน การช่วยเหลือนี้จะต้องกำหนดไว้ในข้อตกลง ,คู่ตกลงต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้ที่เกิดขึ้นจากคู่ตกลงอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นจำนวน 1 ใน 3 ในการดำรงชีวิต และร่วมกันรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย จากหลักกฎหมายดังกล่าวคู่ที่ทำการตกลงในการอยู่ร่วมกัน ต้องทำข้อตกลงในการช่วยเหลือกันไว้ในข้อตกลงในขณะที่จดทะเบียน

             การสมรสของพวกรักร่วมเพศตามระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร(Common Law) โดยจะพิจารณาในกรณีตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐ VERMONT กฎหมายของมลรัฐ VERMONT ในเรื่องของการสมรสนั้น ได้บัญญัติว่าการสมรสนั้นสามารถกระทำได้ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ชายกับผู้หญิงเท่านั้น ดังนั้นพวกรักร่วมเพศจึงไม่สามารถทำการสมรสกันได้ กล่าวคือจะไม่ตกอยู่ภายใตกฎหมายว่าด้วยการสมรส (CIVIL MARIAGE) แม้ว่าบุคคลพวกรักร่วมเพศจะอยู่ร่วมกัน ดูแลครอบครัวกัน เหมือนคู่รักต่างเพศกระทำต่อกันก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญของมลรัฐ VERMONT ก็ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิในเรื่องของความเท่าเทียมกันของบุคคลเอาไว้ในหมวด 1 มาตรา 7 ในสาระสำคัญที่ว่า “รัฐบาลควรจัดให้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ให้ความคุ้มครองและความมั่นคงต่อประชาชนในชาติหรือสังคม และไม่สามารถให้ประโยชน์โดยจำเพาะหรือจำกัดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ครอบครัวใดหรือเจาะจงบุคคลซึ่งได้ประโยชน์ เพราะทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสังคมเป็นสิ่งที่มีอยู่แน่นอนสิทธิที่มีนี้ เป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอน และไม่สามารถยกเลิกได้แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็ตาม ” จากกรณีที่บัญญัติในเรื่องความเท่าเทียมดังกล่าว ทำให้เกิดข้อโต้แย้งกับพวกรักร่วมเพศว่าการที่กฎหมายไม่ให้สิทธิแก่พวกรักร่วมในการที่จะทำการสมรสนั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ดังที่ปรากฎในคดีพิพาทระหว่าง BAKER VS State of Vermont กล่าวคือเป็นคดีที่เกี่ยวกับการเรียกร้องให้พวกรักร่วมเพศสามารถที่จะทำการสมรสกันได้ ซึ่งในคดีดังกล่าวนั้น ศาลสูงพิพากษาว่าแม้การสมรสนั้นจะมีเฉพาะระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามคู่รักร่วมเพศจะต้องได้รับความเท่าเทียมกันในผลประโยชน์ต่างๆ ดังนั้นศาลสูงจึงมีแนวความคิดว่าควรที่จะมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา อันเป็นกระบวนการให้พวกรักร่วมเพศมีสิทธิเท่าเทียมกับพวกรักร่วมเพศ โดยเรียกหลักกฎหมายนี้ว่า CIVIL UNION กล่าวคือเป็นหลักว่าด้วยสิทธิในการอยู่ร่วมกันของพวกรักร่วมเพศ สาระสำคัญของหลักกฎหมายดังกล่าวคือต้องเป็นบุคคลเพศเดียวกันและต้องไม่เป็นผู้ที่สมรสแล้วหรืออยู่ร่วมกันอยู่ก่อนแล้ว และคุณสมบติของบุคคลที่จะอยู่ร่วมกันตามหลักดังกล่าวได้คือจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์และมีถิ่นที่อยู่หรือเป็นพลเมือง Vermont ประกอบกับบุคคลนั้นๆ ต้องมีสติที่สมบูรณ์ หากเป็นไปตามที่กำหนด จะมีการออก license ให้ และผลประโยชน์ที่ได้รับจากความคุ้มครองตามหลัก CIVIL UNION ในกรณีที่เกี่ยวกับการสมรสของพวกรักร่วมเพศ คือ กฎหมายในเรื่องคู่สมรสนั้น คู่ที่อยู่ร่วมกันจะสามารถดูแลอีกฝ่ายหนึ่งได้ซึ่งจะเหมือนกับหลักในเรื่องการสมรสของพวกต่างเพศ นอกจากนี้กฎหมายในเรื่องการยกเลิกการสมรส การแยกกันอยู่ การปกครองเด็ก การแบ่งทรัพย์สิน ค่าอุปการะเลี้ยงดู จะใช้กับคู่ที่อยู่ร่วมกัน (CIVIL UNION) ด้วย ดังนั้น กฎหมายไทยควรพิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันว่าพวกรักร่วมเพศนั้นมีเป็นจำนวนมากและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศและมิได้เป็นการแสดงว่าบุคคลที่เป็นพวกรักร่วม้พศนั้นมีจิตผิดปกติแต่อย่างใด และสภาพสังคมก็ได้เปลี่ยนไปจึงป็นกรณีที่สมควรจะให้ความคุ้มครองและให้สิทธิตามกฎหมายแก่พวกรักร่วมเพศ โดยเฉพาะสิทธิในเรื่องที่เกี่ยวกับการสมรส อันเป็นไปตามความเท่าเทียมกันตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยบัญญัติให้สิทธิพวกรักร่วมเพศให้ได้รับการรับรองตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการขัดรัฐธรมนูญโดย วิธีการที่จะทำให้กฎหมายในเรื่องการสมรสของนานาประเทศมีความสอดคล้องกันได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากนานาประเทศดังกล่าวด้วย อันจะนำมาซึ่งความเป็นเอกภาพของกฎหมายในทางระหว่างประเทศ โดยอาจเริ่มต้นจากความร่วมมือในระดับภูมิภาคก่อนก็ได้ และรวมถึงการทำกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายให้เป็นเอกภาพด้วย รวมทั้งการสร้างความร่วมมือทั้งในทางการศาลและการปกครอง และอีกมาตราการหนึ่งที่สามารถนำมาซึ่งการขจัดการขัดกันแห่งกฎหมายก็คือการบัญญัติความหมายของคำที่ใช้ในทางกฎหมายให้มีความสอดคล้องและมีความแน่นอนกัน ทั้งนี้ก็เป็นการทำให้เกิดเอกภาพในทางกฎหมายได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการบัญญัติความหมายของคำนั้นๆ ต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมของรัฐแต่ละรัฐด้วยเช่นกัน เพราะว่าในเรื่องของการขจัดการขัดกันของกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่มีความละเอียดและซ้ำซ้อนเป็นอย่างมากเนื่องจากสิ่งที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่งในการนำมาซึ่งเสถียรภาพในทางกฎหมายระหว่างประเทศก็คือกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ต้องตีความไปในแนวทางที่สอดคล้องต้องกันด้วย

หมายเลขบันทึก: 65374เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่เอามาแชร์กันนะคะ ^^ ได้ความรู้ดีมากเลยค่ะ

คุณเขียนได้ดีและน่าสนใจมากครับแลเมืองไทยเราน่าจะทำให้เป็จริงเป็นจังซะที จะเพศใหนก็คนเหมือนกันเกย์บางคนเป็นสุภาพบุรุษกว่าผู้ชายแท้ๆซะอีกแน่ะ

ผมขอเครดิต ของคนเขียนด้วยได้มั๊ยคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท