การจัดการความรู้สู่อยุธยามหานครแห่งการเรียนรู้


ระดมพลนักวิชาการ ปราชญ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ "อยุธยามหานครแห่งการเรียนรู้"

เมื่อเร็วๆนี้ผมได้พบปะพูดคุยกับ   ดร.อภินันท์ จันตะนี ดร.ลักขณา จรรยา และอ.มงคล ชาวเรือ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ถึงแนวทางในการระดมพลังบรรดานักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ และปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอยุธยา  เพื่อทำงานวิจัยเชิงคุณภาพสักชิ้นหนึ่งโดยกำหนด Theme ของเรื่องว่า "อยุธยา มหานครแห่งการเรียนรู้"

ความจริงอยุธยามีทุนทางสังคมที่มากมาย หลากหลายล้วนมีคุณค่าความสำคัญเป็นมรดกของคนไทยและกลายเป็นมรดกโลกไปแล้ว  คนไทยส่วนใหญ่แม้แต่ชาวอยุธยาจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกตื่นเต้น ภาคภูมิใจในมรดกอันลำค่าที่ปรากฏแก่สายตา ทั้งที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุรวมทั้งภูมิปัญญาที่แฝงอยู่ในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม หัตถกรรม และ "กรรมอื่นๆ"อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เวชกรรม  วรรณกรรม  เกษตรกรรม  อุตสาหกรรม ฯลฯ

ภารกิจเร่งด่วนในขณะนี้ทีมงานกำลังช่วยกันระดมสรรพกำลัง เชิญชวนท่านผู้รู้แต่ละกรรมมาทำสังคายนา หาแก่น "องค์ความรู้" เพื่อดึงเอาความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ของท่านเหล่านั้นออกมาร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าผสมผสานกับการสืบค้นข้อมูล ร่องรอย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บรรดามี

เป้าหมายต่อไปคงจะจัดพิมพ์เป็นหนังสือ หรือเอกสารการวิจัย ค้นคว้า เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ผู้สนใจให้ศึกษา ค้นคว้า อ้างอิงต่อไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาที่จะใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบ ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่เกี่ยวโยงถึงความต้องการของท้องถิ่น และอาจบันทึกเรื่องเล่าพร้อมภาพถ่ายเป็น VCD เผยแพร่ต่อไป

ท่านผู้รู้หรือผู้สนใจ ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ติดต่อมาได้ที่ ดร.ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ โทร.06-133-9349 โทรสาร 035-241106  E-mail: [email protected]

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6530เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2005 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท