กระบวนการสื่อสารชุมชนท้องถิ่น(๑)


การเข้าถึง และใช้ประโยชน์

กระบวนการสื่อสารชุมชนท้องถิ่น ในความหมายที่รับรู้และเข้าใจกันโดยทั่วไป มุ่งเน้นเข้าใจในมิติของการสื่อสาร สาระหนึ่งสาระใด สู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นมวลชนพื้นฐานหรือชุมชนฐานราก ในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น โดยใช้ช่องทางสื่อสารที่เหมาะสม เป็นสำคัญ

การพิจารณากระบวนการสื่อสารชุมชนท้องถิ่นในมิติของการสื่อสารหรือสื่อความในวงจำกัดของความหมายเช่นนั้น อาจมิใช่เรื่องผิดถูกแต่ประการใด เพียงแต่เป็นข้อสังเกตุว่าในความหมายดังกล่าวนั้นมีความครอบคลุมกระบวนการสื่อสารชุมชนท้องถิ่นอย่างครบถ้วนเพียงใดหรือไม่

ในมิติของการสื่อสารที่มีความหมายครอบคลุมถึงการเข้าถึง(Access) และใช้ประโยชน์ ของผู้ด้อยโอกาส หรือผู้ยากไร้ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมในกระบวนการสื่อสารสาธารณะนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า

"Information is power " คือวลีที่กล่าวถึงความสลักสำคัญของการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสาร ในยุคที่สามของโลก(ยุคคลื่นสารสนเทศ หรือยุคโลกาภิวัฒน์ )

หากจะอธิบายขยายความได้ว่า..."ผู้ใดยึดกุม ครอบครอง และสามารถ ใช้ประโยชน์ ของข่าวสารข้อมูล ได้ ผู้นั้นย่อมสามารถเข้าถึง ยึดกุม และครอบครองอำนาจที่แท้จริง.."

กล่าวสำหรับข้อเท็จจริงของสังคมโลกและสังคมไทยที่ผ่านมา ชนชั้นผู้ยากไร้ มวลชนอันไพศาล คนส่วนใหญ่ในประเทศ ยังมิเคยได้มีโอกาสกล้ำกรายหรือแม้เฉียดเข้าใกล้ อำนาจอันยิ่งใหญ่นี้เลย

ผู้ยากไร้ มวลชน ชุมชนฐานราก ล้วนเป็นได้เพียง "กลุ่มเป้าหมาย" ในกระบวนการสื่อสารสาธารณะ หรือ แม้กระบวนการสื่อสารชุมชนกระทำกันอยู่ เป็นได้เพียง "ผู้รับสาร" ซึ่งหากแปลอีกทางหนึ่งย่อมหมายถึงเป็นได้เพียงแค่ "ผู้ถูกกระทำ" ในทางการสื่อสารเท่านั้น...

หากพิจารณาในมิติของระบอบทุนนิยม พวกเขาเป็นได้เพียง "ตลาด" หรือ "ผู้บริโภค" หรือในสถานะของ "สินค้าที่มีชีวิต" ของระบอบทุนนิยมเท่านั้น...

วันหนึ่งใด ที่พวกเขามีโอกาสพลิกสถานะ จาก "ผู้รับสาร" มาเป็น "ผู้ส่งสาร" ... จาก ผู้ฟัง ที่ต้องฟัง...มาเป็น "ผู้พูด ในสิ่งที่เขาอยากจะพูด.."  หรือ จากกลุ่มเป้าหมาย มาเป็นผู้ประกอบการ ผู้ดำเนินการ ผู้กระทำการ ในการสื่อสารสาธารณะอย่างจริงจังเมื่อใด..

นั่นย่อมหมายถึง โอกาส ในการพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน โดยใช้กระบวนการ "เข้าถึง และใช้ประโยชน์" กระบวนการสื่อสารสาธารณะ อันนำไปสู่มิติที่มีนัยสำคัญตามความหมายของ "Information Is Power" อย่างแท้จริง...

เป็นการปฏิวัติสังคม ด้วยกระบวนการสื่อสาร โดยมิต้องหลั่งเลือดโลมดินเช่นการปฏิวัติที่ผ่านๆมา...

นับเป็นความหวังที่ท้าทายนักปฏิบัติการสื่อสารชุมชนท้องถิ่นทั้งหลายทั้งปวงในขบวนการขับเคลื่อนทางสังคม

เป็นความหวังในการปลดปล่อยพลังทางสังคมของชุมชนท้องถิ่นที่เป็นฐานรากของสังคมไทยครั้งใหญ่ด้วยเช่นกัน.

หมายเลขบันทึก: 65018เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2006 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
อัดรัฐ"กลืนไม่เป็น"เมินทำสื่อสาธารณะ
 

ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ มีการจัดเวทีสาธารณะเรื่อง “วิทยุโทรทัศน์สาธารณะ : แนวรบทางปัญญาของประชาชน” โดยศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง  “สื่อเพื่อการสร้างปัญญาของชาติบทบาทใคร? อย่างไร?” ตอนหนึ่งว่า สื่อสาธารณะถือเป็นเครื่องมือของประชาธิปไตยอย่างหนึ่งโดยต้องปลอดจากอำนาจรัฐและอำนาจทุนถ้าเราทำให้เกิดได้จริงสื่อสาธารณะจะเป็นการสื่อสารของประชาชนอย่างแท้จริงช่วยสร้างความรู้ที่ชัดเจนแก่ประชาชนนำไปสู่การคลี่คลายความซับซ้อนของปัญหาให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ ทั้งนี้เคยมีการนำเสนอเรื่องยุทธการการสื่อสารให้กับนายกรัฐมนตรีได้รับทราบแต่จนถึงขณะนี้รัฐบาลก็ยังเฉยอยู่จึงอยากให้ประชาชนออกมาช่วยกันผลักดันให้เกิดองค์กรสื่อสารสาธารณะโดยขณะนี้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีการร่าง พ.ร.บ.องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะพ.ศ. ... ขึ้นมาแล้วแต่รัฐบาลยังไม่ผลักดันให้เกิดขึ้นซึ่งน่าแปลกใจว่าเราได้เตรียมทุกอย่างในเรื่องนี้ไว้พร้อมแล้ว รัฐบาลแค่เอาไปกลืนลงคอได้เลย แต่ทำไมรัฐบาลนี้จึงยังไม่ดำเนินการมีอาการที่เรียกว่า “กลืนไม่เป็น” ซึ่งถ้าเป็นรัฐบาลอื่น ๆ คงทำไปแล้วยกเว้นรัฐบาลทักษิณ
 
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ประธานมูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวตอนหนึ่งในเวทีสาธารณะเรื่อง “วิทยุโทรทัศน์สาธารณะ : แนวรบทางปัญญาของประชาชน” ว่า ขอเรียกร้องให้ประชาชนเคลื่อนไหวในการผลักดันสื่อสาธารณะให้เกิดขึ้นโดยควรตั้งโต๊ะเจรจากับรัฐบาลและเข้าพบพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อทำพันธสัญญาในการคืนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีให้กลับมาเป็นทีวีสาธารณะซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสื่อสาธารณะในสังคม
 
ที่ศาลปกครอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบัลลังก์ ปิ่นสากล พนักงานอัยการ สำนักงานคดีปกครอง สำนักงานอัยการสูงสุด ผู้รับมอบอำนาจจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้ยื่นฟ้องบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) หลังจากที่ไม่ชำระเงินค่าตอบแทนและค่าปรับตามสัญญาสัมปทานโดยมีจำนวนหนี้ค่าตอบแทน 2,886 ล้านบาท และจำนวนหนี้ค่าปรับสูง 97,760 ล้านบาท อย่างไรก็ตามรวมเป็นเงินที่ต้องชำระ สปน. ทั้งสิ้น 1.01 แสนล้านบาท

สื่อสาธารณะไม่ใช่สื่อคุณธรรม ไม่ใช่เครื่องมือชวนเชื่อของเอ็นจีโอ พิมพ์บทความนี้

ประชาไท - 30 มี.ค. 50 ในเวทีสาธารณะเรื่อง วิทยุโทรทัศน์สาธารณะ: แนวรบทางปัญญาของประชาชนซึ่งจัดโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ วิทยาลัยการจัดการสังคม และองค์กรภาคี มีเวทีเสวนาหัวข้อ ปุจฉา-วิสัชนา: วิทยุโทรทัศน์สาธารณะเสริมสร้างปัญญาให้สังคมไทยได้อย่างไร?” โดยมี ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึกดำเนินรายการ  จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตส.ว.กทม.กล่าวว่า สื่อวิทยุโทรทัศน์ถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยผู้มีอำนาจทุกรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของรัฐบาล แต่ประโยชน์ของรัฐ อาจไม่สอดคล้องกับประโยชน์ของประชาชน  เราเป็นประเทศที่ไม่เปิดเสรีภาพในเรื่องสื่อวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนในโลก ที่กองทัพเป็นเจ้าของสื่อถึงครึ่งหนึ่ง จอนกล่าว อดีตส.ว.กทม.กล่าวว่า สิ่งทีเราต้องการสร้างคือ สื่อสาธารณะที่สร้างประโยชน์ให้ประชาชน หมายความว่าเป็นสื่อที่มีส่วนร่วมของประชาชนในทุกด้าน ต้องเสนอข่าวสารรอบด้านทุกด้าน สามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจใดๆ ฉะนั้น วิทยุโทรทัศน์สาธาณะต้องไม่มีรัฐมนตรีคนไหนเข้ามาสั่งการได้ ไม่มีรัฐมนตรีคนไหนมาขอออกอากาศได้ ไม่อยู่ในอาณัติของคนในรัฐบาล ไม่อยู่ในอาณัติของทุน อิทธิพลด้านการเงินไม่สามารถเข้ามามีอิทธิพล ไม่สามารถแบลคเมลด้วยโฆษณา นี่คือลักษณะที่เราต้องการ สื่อสาธารณะต้องเป็นอิสระจากรัฐบาล จากทุน แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแล ควบคุม กำกับของประชาชนโดยรวม ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ วิธีหนึ่งคือ ผ่านทางคณะกรรมการบริหาร หรือบอร์ด  สื่อสาธารณะควรทำโดยมืออาชีพ แต่กรรมการควรมาจากทุกส่วน ซึ่งแน่นอน นักการเมืองก็มีสิทธิ คนทุกศาสนา นักวิชาการ สื่อที่ไม่ใช่ของบริษัทใดๆ แต่มาจากตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ ที่สำคัญ ต้องมีตัวแทนองค์กรภาคประชาชนเข้าไป เช่น ตัวแทนคนพิการ ตัวแทนองค์กรด้านเด็กและเยาวชน ผู้หญิง แรงงาน เกษตร ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องแทนคนจนได้ นั่นคือวิธีกำกับดูแลวิธีที่หนึ่ง วิธีสอง คือ ในหลายประเทศสามารถมีสภาของคนดู เป็นระบบสะท้อนจากคนดู และกรรมการต้องรับฟังความเห็นจากคนดู  อะไรที่ไม่ใช่สื่อสาธารณะจอน อึ๊งภากรณ์กล่าวต่อว่า แล้วอะไร ที่ไม่ใช่สื่อสาธารณะ?  หนึ่ง มันไม่ใช่สื่อคุณธรรม เพราะสื่อสาธารณะต้องเปิดให้ประชาชนตัดสินใจเองทุกด้าน ไม่สั่งสอน ไม่ยัดเยียดความคิด ไม่สอนประชาชน ไม่บอกว่าอะไรดี ร้าย เนื้อหาต้องเปิดประเด็น มีความหลากหลาย  สอง มันไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อของภาคประชาชน ผมได้ยินคนในภาคประชาชนบอกว่า ถ้ามีสื่อจะได้แถลงว่าเอฟทีเอมันแย่อย่างนั้นอย่างนี้ นั่นคือโฆษณาชวนเชื่อ สื่อสาธารณะต้องไม่บอกว่าเอฟทีเอดีหรือเลว แต่ต้องเปิดข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจเอง สาม สื่อสาธารณะต้องไม่ใช่รายการน่าเบื่อ อย่างบีบีซีเขาให้ความสำคัญกับเรทติ้งด้วย ผลิตโดยมืออาชีพ ต้องทำให้น่าสนใจ มีบันเทิงได้แต่ต้องเป็นบันเทิงที่มีคุณภาพ ให้สาระไปในตัว
เขากล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเมืองเละ มีขั้วขัดแย้งเต็มไปหมด คุณภาพการศึกษาเละ ความคาดหวังที่จะให้ประชาชนเติบโตได้ อยู่ที่สื่อสาธารณะ และต้องมีหลายช่อง ฉะนั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องผลักดันวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ ที่ไม่อยู่ในอาณัติการเมืองและทุน เป็นวาระแห่งชาติที่ภาคประชาสังคมต้องขับเคลื่อนร่วมกัน   ความจริงหนึ่งในสี่ ภายใต้ยุคข้อมูลข่าวสารรสนา โตสิตระกูล มูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวว่า เวลานี้เราอาจได้ยินคำว่ากลียุค แปลว่ายุคที่มีความจริงแค่หนึ่งในสี่ และน่าสนใจว่า กลียุค อยู่ในยุคเดียวกับยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Society) ในการมองการเปลี่ยนผ่านยุคของคนอีกแนว มองการเปลี่ยนผ่านยุคโดยสัมพันธ์กับเรื่องสัจจะ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่การสื่อสารมวลชนต้องสื่อสารสัจจะให้สังคม ทำให้ตื่น ได้เรียนรู้ ฉลาด และสามารถมีวิจารณญาณที่ถูกต้อง รสนากล่าวว่า ถ้าสื่อถูกคุม ไม่ว่าโดยทุนหรือรัฐ สื่อเหล่านั้นอาสื่อสารเป็นสัจจะปลอมๆ แค่ครึ่งเดียว ดังนั้น ก็ไม่น่าแปลกใจ ถ้าสังคมเกิดความรุนแรงขึ้น สื่อไม่ค่อยทำประเด็นยากๆ อย่างสถานีโทรทัศน์ไอทีวีอาจเคยจับพระสึกไปสองสามรูป แต่ไม่เคยจับนักการเมืองให้ปาราชิก ไม่กล้า ย้อนรอยอภิมหาคอรัปชั่นอันยิ่งใหญ่ รสนากล่าว รสนาย้ำว่า การที่เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสาร (information Society) มันเกิดพันธะหน้าที่ (obligation) ที่สัญญากับสังคม แต่สื่อที่มองคนเป็นพลเมืองก็มีน้อยมาก แต่มักมองคนเป็นผู้บริโภค มองเงินในกระเป๋าเราเป็นกำไรของเขา  สื่อก็ต้องมีพันธะผูกพัน ที่จะยกระดับสังคม ซึ่งการยกระดับสังคม คือการยกระดับด้วยสัจจะเท่านั้น เป็นการป้อนอาหารที่ดีให้สังคม  หน้าต่างโอกาสเปิดแล้วนพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่ร่วมผลักดันร่างพระราชบัญญัติองค์การแพร่ภาพและกระจาย-เสียงสาธารณะ พ.ศ. .... ด้วยนั้น กล่าวว่า สื่อในสังคมไทย โดยเฉพาะโทรทัศน์ ไม่มีใครสามารถสื่อความจริงได้ เลยคิดถึงสื่อสาธารณะขึ้นมา เป็นสื่อที่พ้นจากทุนและรัฐ  เขากล่าวว่า กฎหมายหลายดีๆ ฉบับในอดีต เช่น กฎหมายบุหรี่ ก็ได้เกิดในสมัยนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน (นายกรัฐมนตรีจากการแต่งตั้ง หลังรัฐประหารโดยรสช. - ประชาไท) และเวลานี้ หน้าต่างโอกาสเปิดอีกครั้ง  ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผอ.วิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 40 คน ได้ร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.องค์การแพร่ภาพและกระจาย-เสียงสาธารณะ พ.ศ. .... แล้ว และรัฐมนตรีหลายกระทรวงก็เข้าใจความสำคัญของการมีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ และเนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินด้วยนั้น ก็พบว่ากระทรวงการคลังก็เห็นชอบ โดยดร.สมเกียรติกล่าวว่า การมีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะนั้น ขั้นต่ำใช้เงิน 1,100 ล้านบาท และหากจะให้คุณภาพดีขึ้นหน่อยคือ ใช้เงิน 1,700 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังก็เห็นชอบ โดยอาจจะเอารายได้จากการเก็บภาษีบาปมาใช้ หลังจากผลักดันเรื่องกฎหมายแล้ว ก็ต้องหาสถานีโทรทัศน์ ดร.สมเกียรติกล่าวถึงทางเลือกสองทาง หนึ่งคือ หาสถานียูเอชเอฟ ซึ่งก็ต้องใช้เวลามาก สอง คือ ใช้สถานีที่มีอยู่แล้ว นั่นคือ TITV ซึ่งน่าสนใจมากที่สุด และอยู่ที่รัฐบาลจะกำหนดอนาคตของ TITV อย่างไร  สมเกียรติเสนอ ดึง TITV เป็นทีวีสาธารณะนักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงวิวาทะกรณี TITV ว่าควรจะเป็นทีวีสาธารณะ หรือทีวีเสรี โดยเขาเห็นว่า สื่อสาธารณะและสื่อเสรีมีความต่างกันมาก คือ สื่อสาธารณะเป็นอิสระทั้งจากรัฐและทุน แต่สื่อเสรีเป็นอิสระจากรัฐเท่านั้น  เขากล่าวว่า ถ้าสื่อไม่เป็นอิสระจากทุน จากธุรกิจ จะไม่สามารถตรวจสอบเรื่องในหลายๆ เรื่องได้ ทั้งนี้ ทุกวันนี้ ธุรกิจเกี่ยวกับการเมิองมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ ถ้าสื่อใดตั้งขึ้นมาเป็นอิสระจากรัฐแต่ไม่เป็นอิสระจากทุน ในที่สุดการแทรกแซงก็เกิดขึ้นได้ผ่านทางทุน ดร.สมเกียรติกล่าวถึงสื่อที่เน้นรายได้จากโฆษณาว่า จะมองคนดูเป็นผู้บริโภค วงการโฆษณาจะใช้หลัก CPM – Cost Per Million คือ มองว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไรถึงจะเข้าถึงประชาชนได้ล้านคน ก็จะต้องสำรวจเรทติ้ง โดยการสำรวจ ก็จะสำรวจเฉพาะคนที่มีกำลังซื้อ แม้ว่าคนที่ตลาดจัดกลุ่มว่าเป็นคนที่ไม่มีกำลังซื้อ ก็ต้องดูโทรทัศน์ด้วย  เขากล่าวว่า สื่อที่เป็นผู้เล่นรายหนึ่งในตลาด ก็รับเอาอุดมการณ์แบบตลาดเข้าไป มีทัศนะที่สะท้อนมุมมองการเงิน เช่น ถ้าบรรยากาศการประท้วงของรัฐบาลทำให้บรรยากาศการเงินไม่ดี สื่อจะเลือกเองโดยอัตโนมัติด้วยอุดมการณ์แบบตลาด ที่จะไม่เสนอข่าวประท้วงนั้น ดร.สมเกียรติกล่าวว่า ข้อถกเรื่อง TITV ที่ว่าให้เป็นทีวีเสรี เป็นอิสระจากรัฐ และพยายามออกแบบกลไก  คือออกแบบผังรายการให้คล้ายทีวีสาธารณะ แต่ก็จะเกิดปัญหาตามมาเหมือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัดส่วนผู้ถือหุ้น การต้องอยู่รอดจากโฆษณา ต้องจ่ายค่าสัมทปทาน สุดท้ายแล้ว การแก้ปัญหาไม่เด็ดขาด ก็ต้องทำเป็นโทรทัศน์สาธารณะ  เอแบคโพลล์ชี้ คนกรุง 69% อยากได้ทีวีสาธารณะ

หลังจากนั้น นายนพดล กรรณิการ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม หาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนอายุ 18-60 ปี ในกรุงเทพฯ จำนวน 1,207 ตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57-64 ไม่มั่นใจว่าสถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่ถูกแทรกแซงจากอิทธิพลผลประโยชน์ทางธุรกิจ อิทธิพลของนักการเมืองและระบบราชการ โดยร้อยละ 69 เห็นด้วยที่ไทยควรจะมีสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงโดยนักการเมืองและกลุ่มธุรกิจ เพื่อประชาชนจะได้รับข่าวสารที่เป็นจริง ตรงไปตรงมา

 

ส่วนรูปแบบหากมีการก่อตั้งขึ้น ก็ควรเป็นสถานีโทรทัศน์ที่รับชมได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องจ่ายค่าสมาชิก (คล้ายฟรีทีวี) เน้นผลิตรายการที่มีคุณภาพสูง มีมาตรฐานการผลิตรายการโดยเน้นหลักจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาร่วมรับผิดชอบดูแลคุณภาพรายการ

 

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.7 เห็นด้วยที่จะให้ปฏิรูปช่อง 11 ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ร้อยละ 57.9 ให้ปฏิรูปช่อง ทีไอทีวีเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ร้อยละ 35 ให้ลงทุนจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะขึ้นใหม่ สำหรับคณะผู้บริหารสถานีโทรทัศน์สาธารณะ 5 อันดับแรก ได้แก่ นักวิชาชีพสื่อสารมวลชน อาจารย์ นักวิชาการ ผู้แทนเครือข่ายครอบครัว ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และผู้แทนลูกจ้าง โดยหารายได้เพื่อนำมาใช้ดำเนินงาน ได้แก่ นำมาจากการเก็บภาษีสินค้าอบายมุข ภาษีสื่อบันเทิงอื่น ๆ รายได้จากการโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรธุรกิจ รับเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา และจัดสรรมาจากงบประมาณของรัฐ ตามลำดับ

ส่วนความเชื่อมั่นต่อบุคคลหรือสถาบันที่จะผลักดันให้มีสถานีโทรทัศน์สาธารณะอย่างจริงจัง พบว่า ร้อยละ 44 เชื่อมั่นในสื่อมวลชน ร้อยละ 32.9 ผู้นำความคิดในสังคม ร้อยละ 31 เชื่อมั่นในนายกรัฐมนตรี ขณะที่ความเชื่อว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะได้สำเร็จนั้น พบว่าร้อยละ 17.4 ระบุว่า เชื่อว่าจะทำได้สำเร็จ ร้อยละ 32.5 เชื่อว่าไม่สำเร็จ ที่เหลือร้อยละ 50.1 ไม่มีความเห็น





โดย : ประชาไท   วันที่ : 31/3/2550

แนวคิดสื่อชุมชนท้องถิ่นสมัย Sif (ประมาณปี 2543-2544)

 

 

สรุป การดำเนินงานกระบวนการสื่อชุมชน

แม่จัน สันธงชัย

ผู้ประสานงานอาวุโสภาคอีสาน ·       ประสานงานจัดทำกระบวนการสื่อชุมชนในพื้นที่นำร่อง จ.ขอนแก่น·       ประสานงานการจัดตั้งและดำเนินงานรายการวิทยุชุมชน พลังชุมชน พลังแผ่นดินทางสถานีวิทยุกองทัพภาค 2  AM.1107  Mkz. วันจันทร์-เสาร์ เวลา 16.00-17.00 .·       ประสานงานการจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลข่าวสารชุมชน ( CINN ) ภาคอีสาน นำร่องจังหวัดขอนแก่น·       ประสานงานจัดตั้ง และดำเนินการ สื่อสารสนเทศ เพื่อชุมชน จ.ขอนแก่นwww.cinn-kk.com·       ประสานงาน เครือข่ายวิชาชีพสื่อสารมวลชนจังหวัดขอนแก่น·       ประสานงาน เครือข่ายวิทยุประชาสังคมขนแก่น , วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ขอนแก่น และ วิทยุชุมชนคนขอนแก่น·       ประสานการริเริ่ม จัดตั้ง หนังสือพิมพ์ชุมชน เสียงชุมชน อีสาน·       ริเริ่ม ประสานงาน สร้างรายการวิทยุ และกระบวนการสื่อชุมชน กลุ่มชัยภูมิเข้มแข็ง จ.ชัยภูมิ·       ริเริ่ม ประสานงาน สร้างรายการวิทยุ และกระบวนการสื่อชุมชน ชมรมกาฬสินธุ์มั่นยืน จ.กาฬสินธุ์·       ริเริ่ม ประสานงาน สร้างรายการวิทยุ และกระบวนการสื่อชุมชน กลุ่มรวมใจฮักแพงไทร้อยเอ็ด  .ร้อยเอ็ด·       ริเริ่ม ประสานงาน สร้างรายการวิทยุ และกระบวนการสื่อชุมชน ประชาสังคมยโสธร     Ø   จัดเวทีครั้งที่ 1

วันที่  23  สิงหาคม  2544 / .ขอนแก่น

การประชุมเครือข่ายองค์กรชุมชนภาคอีสานผู้เข้าร่วม ตัวแทนเครือข่ายองค์กรชุมชน(เมนู 5 ) ภาคอีสาน ประมาณ 60 ท่าน จากทั้งอีสานสามภาค

ผล ริเริ่มก่อการ จัดตั้งเครือข่ายวิทยุเครือข่ายภาคประชาชน อีสาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดเป็นผู้ก่อการ และคณะกรรมการ ทั้งยังคัดเลือก คณะทำงานกลาง 10 คน มอบหมายให้ยกร่าง โครงการวิทยุพลเมืองภาคอีสาน และ ประสานงานสหข่ายรายจังหวัด เพื่อสื่อสารข้อมูล สำรวจข้อมูล ความพร้อม รายจังหวัด

 Ø   จัดเวทีครั้งที่ 2

วันที่ 26 –27 กันยายน 2544 / .ขอนแก่น

การประชุมประสานงานการจัดตั้งเครือข่าข่าวสารชุมชน(อีสานตอนกลาง) และโครงการนำร่องของเครือข่ายวิทยุพลเมืองภาคอีสานผู้เข้าร่วม  ผู้ประสานงาน/ผู้ปฏิบัติการ สื่อวิทยุชุมชน ร้อยเอ็ด , กาฬสินธุ์ , มหาสารคาม , ยโสธร  , ชัยภูมิ   และ คณะทำงานเครือข่ายวิทยุพลเมือง รวมผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 40 ท่านผล มีการรายงานและแลกเปลี่ยนบทเรียนของการเคลื่อนไหวด้านสื่อชุมชนในภาค อีสานกลาง กับ คณะทำงานเครือข่ายวิทยุพลเมือง อีสาน  , มีการศึกษายุทธศาสตร์สื่อชุมชนของ SIF และ แนวทางการสนับสนุนโครงการสื่อชุมชน จากงบประมาณส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน , ศึกษา และแลกเปลี่ยนกระบวนการจัดตั้งและดำเนินการศูนย์เครือข่ายข่าวสารชุมชน  ( CINN )ประเมินความพร้อมรายจังหวัด กำหนดทิศทาง จังหวะก้าวต่อไปและเกิดกระบวนการเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายข่าวสารชุมชนอีสานตอนกลางและ เครือข่ายวิทยุชุมชน อีสานกลาง Ø   จัดเวทีครั้งที่ 3วันที่  20-21  ตุลาคม 2544 / .อุดรธานีการประชุมประสานผู้ปฎิบัติการด้านสื่อชุมชนภาคอีสานตอนบน เพื่อเตรียมความพร้อมจัดตั้งเครือข่ายวิทยุพลเมืองภาคอีสานตอนบนผู้เข้าร่วม  ผู้แทนเครือข่าย องค์กรชุมชน ผู้ทำงานด้านสื่อและวิทยุชุมชน อุดรธานี ,หนองคาย ,เลย ,หนองบัวลำภู ,หนครพนม และสกลนครผล แลกเปลี่ยนบทเรียนประสบการณ์ สรุปบทเรียน ทำความเข้าใจยุทธศาสตร์สื่อชุมชนของ SIF และแนวทางการสนับสนุนโครงการสื่อชุมชนจากงบอัตราแลกเปลี่ยน Ø   จัดเวทีเรียนรู้ สื่อชุมชน / ฝึกอบรม ผู้สื่อข่าวชุมชน / เครือข่ายองค์กรชุมชน 32 เครือข่าย / . ยโสธร / 3 พฤศจิกายน 2544 Ø   จัดเวทีประสานงาน สรุปบทเรียน และเตรียมโครงการการสื่อชุมชนอีสานใต้ /บุรีรัมย์/ 4 พฤศจิกายน 2544 Ø    จัดเวทีสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเตรียมโครงการ สื่อชุมชน    เครือข่ายภูสระดอกบัว 3 จังหวัด ยโสธร , อำนาจเจริญ , มุกดาหาร  85 หมู่บ้าน / อำนาจเจริญ / 9 พฤศจิกายน 2544. Ø   จัดเวทีสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเตรียมโครงการ สื่อชุมชน  เครือข่ายองค์กรชุมชน 20 เครือข่าย / .มหาสารคาม /  14 พฤศจิกายน 2544 Ø   จัดเวทีสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเตรียมโครงการ สื่อชุมชนเครือข่ายสื่อชุมชน 7 จังหวัด ภาคอีสานตอนบน  และ  เครือข่ายองค์กรชุมชน อุดรธานี  / .อุดรธานี  / 27-28 พฤศจิกายน 2544                                                            ฯลฯ
  ความเคลื่อนไหวสื่อชุมชนภาคอีสาน(ล่าสุด-6 พ.ย. 2544) 

อุดรธานี

            -ประสานงานคณะทำงานวิทยุชุมชนจังหวัดอุดรธานี (คุณนิสิต ศักยพันธ์) เตรียมจัด      ประชุมสหข่ายระดับจังหวัด + เครือข่ายวิทยุพลเมืองภาคอีสาน ในวันที่ 27-28 พ.ย. 2544 นี้ 

ขอนแก่น

                ภายหลังการประชุมวันที่ 27 พ.ย. 2544 แกนนำเครือข่ายกลับไปสื่อสาร ทำความเข้าใจกับองค์กรสมาชิก ได้ผลความคืบหน้า ดังนี้                 -เครือข่ายมูลนิธิส่งเสริมชุมชนแบบยั่งยืน (โดยคุณชะเลื่อน ชนะสงคราม) แจ้งผลการประชุมองค์กรชุมชนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายฯ  ซึ่งให้ความสนใจที่จะเสนอโครงการสื่อชุมชน หลายโครงการคือ1.โครงการบริหารจัดการหอกระจายข่าวระดับตำบล 2.โครงการวิทยุ 10 กิโลเมตร (พื้นที่นำร่อง) ครอบคลุม  พื้นที่รอยต่อ 3 อำเภอ คือ ชุมแพ สีชมพู และ ภูผาม่าน3.โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้สื่อข่าวชุมชน4.โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลหอกระจายข่าว5.โครงการจัดประชุมเตรียมความพร้อมเครือข่ายฯ ของบฯสนับสนุนการจัดประชุมในวันที่ 13 พ.ย. 2544 นี้ -ศูนย์เครือข่ายองค์กรการเงินจ.ขอนแก่น (โดยคุณบุญส่ง นาแสวง) แจ้งผลการประชุม  องค์กรสมาชิก ให้ความสนใจจะเสนอโครงการหอกระจายข่าวระดับหมู่บ้าน ตำบล (ประมาณ 30 หมู่บ้าน)-เครือข่ายชุมชนเมืองนครขอนแก่น (โดยคุณวิเชียร พรบัณฑิต) ประสานงานการเตรียมเสนอโครงการหอกระจายข่าว และเสียงตามสายในเขตเทศบาลนครขอนแก่น 

มหาสารคาม

            -ประสานงานกับคณะทำงานวิทยุชุมชนคนสารคาม (คุณณตวรรษ อินทะวงษ์, คุณสุนทร ทองเปาว์) เตรียมจัดประชุมองค์กรเครือข่าย 20 องค์กร ภายในวันที่ 15 พ.ย. นี้เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการเสนอโครงการสื่อฯ โดยให้ความสนใจจะเสนอโครงการอบรมผู้สื่อข่าวชุมชน และอบรมผู้ดูแลหอกระจายข่าวชุมชน 

อำนาจเจริญ

                -ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ สกส. อำนาจเจริญ (คุณธิปไตย) เตรียมจัดเวทีทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์สื่อฯและแนวทางสนับสนุนประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ 

สุรินทร์

            -ประสานคฯทำงานวิทยุชุมชนสุรินทร์ (คุณศักดา) เตรียมจัดเวทีทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์สื่อฯและแนวทางสนับสนุนประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนนี้              

 

โครงการเครือข่ายข้อมูล ข่าวสารชุมชน

( Community  Information & News Network – CINN Project .)

 

 

 

หลักการ และเหตุผล

 1.       สภาพปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจและสังคม อันเนื่องมาจากสาเหตุพื้นฐาน เกี่ยวกับปัญหาโครงสร้างทางสังคม , เกี่ยวกับปัญหาแนวคิด ทิศทางการพัฒนาประเทศ และ ปัญหาเกี่ยวกับแบบแผนพฤติกรรมของผู้บริหารการพัฒนาในทุกระดับในระยะที่ผ่านมา2.       แนวทางการพลิกฟื้นวิกฤติเป็นโอกาส พลิกสภาวะวิกฤติจากฐานราก ก่อความเคลื่อนไหวในขบวนการรากหญ้า ( Grass-roots Movement ) ในกระบวนการส่งเสริมศักยภาพชุมชน หรือ สร้างชุมชนเข้มแข็ง คือ คำตอบในการแปรวิกฤติเป็นโอกาส3.       เป้าหมายทางยุทธศาสตร์หลัก คือ ชุมชนเข้มแข็ง 

 

วัตถุประสงค์

 1.       ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้  พัฒนาเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้แก่ ชุมชน องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสนับสนุนกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง2.       เสริมสร้างกระบวนการดำเนินการด้านสื่อสาธารณะ , สื่อชุมชน , สื่อพื้นบ้าน ,
สื่อสารสนเทศเพื่อชุมชน และ กระบวนการสื่อเพื่อการพัฒนา เพื่อสนับสนุนกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
3.       เชื่อมโยง  ถักทอ ประสานจัดการ ให้เกิดการรวมตัว จัดตั้งกันเป็น เครือข่ายสื่อชุมชนในระดับรากหญ้า , เครือข่ายสื่อสาธารณะเพื่อชุมชนในระดับท้องถิ่น/จังหวัด  และ พัฒนา ต่อยอด เป็นเครือข่ายข้อมูล ข่าวสารชุมชน ( Community  Information & News Network – CINN ) ในระดับพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระดับชาติ  

 

ความคิดชี้นำ

 1.       การเข้าถึงข่าวสารข้อมูล คือ พลังอำนาจ ( Information  is  Power )  หากเข้าดำเนินกระบวนการสร้างฐานข้อมูล และสร้างโอกาสในการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้กับองค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชนได้ ย่อมหมายถึงการสร้างเสริม หรือ เพิ่มพลังอำนาจให้กับองค์กรชุมชน หรือ เครือข่ายองค์กรชุมชนนั้น2.       กระบวนการสื่อชุมชน มีสถานะสำคัญเป็น หนึ่ง ใน สาม ปัจจัยหลักของแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ( Triangle Framework ) ที่จะขยายผลองค์ความรู้ และเสริมศักยภาพองค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน  

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน

 1.       ยุทธศาสตร์ทั่วไป ·       ยึด รัฐธรรมนูญ มาตรา 40  เป็นธง โดยมีนัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนให้ชุมชน ประชาชน เป็นเจ้าของคลื่น / เรื่องสิทธิชุมชน ในสื่อสาธารณะ·       ยึดหลักการ แนวทางชุมชน เป็นนัยสำคัญในการเคลื่อนไหว ซึ่งหมายถึงการนำพาชุมชนเคลื่อนไหว ขับเคลื่อนในทางยุทธวิธี ต้องเริ่มจากความสุกงอม ความเรียกร้องต้องการ และการมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของ และดำเนินการ บริหารจัดการ โดยชุมชน เพื่อชุมชน อย่างแท้จริง 2.       ยุทธศาสตร์ขบวน ·       ช่องทางสื่อระดับบน คือ ช่องทางสื่อสารธารณะ ได้แก่ ทีวี. และวิทยุประเทศไทยในการถ่ายทอดแบบเครือข่าย โดย ใช้เงื่อนไขการเคลื่อนขบวนประชารัฐ ไป ใช้โอกาสขยายผลผ่านช่องทางสื่อของรัฐในระดับชาติ·       ช่องทางสื่อระดับกลาง  คือ ช่องทางสื่อท้องถิ่น / ระดับจังหวัด มีจุดเน้นสำคัญที่วิทยุชุมชน ระดับจังหวัด ที่ใช้ช่องสถานีของรัฐ ในรูปแบบวิทยุชุมชน และวิทยุเครือข่ายพลเมือง เป็นหลัก นอกจากนี้อาจมีช่องทางสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น , สื่อสารสนเทศ ได้แก่ การเปิดเว็บไซต์ในระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น·       ช่องทางสื่อระดับรากหญ้า คือ ช่องทางสื่อชุมชน มีจุดเน้นสำคัญ ที่หอกระจายข่าวชุมชน(ที่ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการใหม่แล้ว)หรือระบบเสียงตามสาย  ผนวกกับการจัดตั้งขบวนผู้สื่อข่าวชุมชน เครือข่าย  ในบางพื้นที่ที่มีศักยภาพอาจจัดตั้งระบบวิทยุเฉพาะพื้นที่( 10 KM.) เป็นโครงการนำร่องกระบวนการบริหารจัดการวิทยุชุมชนในระดับพื้นที่ รวมทั้งการใช้สื่อพื้นบ้าน สื่อวัฒนธรรม อย่างกว้างขวาง และหลากหลาย ตามสภาพพื้นที่ ท้องถิ่น ชุมชนนั้นๆ·       กระบวนการขับเคลื่อนสื่อชุมชนทั้งสามระดับนั้น เชื่อมโยง ถักทอ เป็นระบบเครือข่าย โดย การจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลข่าวสารชุมชน ( Community Information & News  Networks – CINN )   

 

แนวทางการขับเคลื่อนงาน

 1.       สนับสนุน การเข้าใช้สื่อสาธารณะ  สื่อท้องถิ่น สื่อชุมชน อย่างกว้างขวาง และหลากหลาย2.       ประสาน เชื่อมโยง จัดตั้ง ขบวนการ / เครือข่าย สื่อชุมชนระดับรากหญ้า3.       ประสาน เชื่อมโยง จัดตั้ง ขบวนการ / เครือข่าย สื่อท้องถิ่นในระดับจังหวัด4.       เชื่อมต่อ ประสานทั้งหมดให้เป็นระบบเครือข่าย โดย กระบวนการจัดตั้ง CINN ในพื้นที่เป้าหมาย 

 

กระบวนการทำงาน

 1.       ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ / การถอดบทเรียน สรุปประสพการณ์ พัฒนาโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ยกระดับความรู้ปฐมภูมิ พัฒนาสู่ชุดองค์ความรู้2.       สนับสนุน กระบวนการใช้สื่อชุมชน เพื่อการพัฒนา เพื่อเสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ให้เป็นรูปธรรม3.       ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร , กระบวนการ , เทคนิค วิธีการทำงาน ขององค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน ในด้านกระบวนการสื่อสารชุมชนเพื่อการพัฒนา อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล4.       สนับสนุน การพัฒนาช่องทางสื่อชุมชน ทั้งในด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ ที่ก้าวหน้า กับ การใช้ภูมิปัญญา วัฒนธรรมชุมชน สื่อชาวบ้าน อันเป็นทุนทางสังคม ให้สามารถประสานและบูรณาการอย่างเหมาะสม ลงตัว5.       สร้างกระบวนการให้มีการเชื่อมโยง ถักทอ กันเป็น เครือข่ายสื่อในระดับรากหญ้า และในระดับท้องถิ่น รวมทั้งให้มีการเชื่อมต่อยึดโยงกันเป็นเครือข่ายข่าวสารข้อมูลชุมชน   ( CINN )  อย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการ กิจกรรมการดำเนินงาน 1.       จัด WS. เสริมกระบวนการเรียนรู้  ด้านกระบวนการสื่อสารสาธารณะ สื่อชุมชน  สื่อเพื่อการพัฒนา และกระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศ แก่ องค์กรชุมชน และ เครือข่ายองค์กรชุมชน2.       จัด WS. พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสื่อชุมชน , ด้านการเป็นอาสาสมัครผู้สื่อข่าวชุมชน , ผู้ดำเนินรายการหอกระจายข่าวชุมชน หรือ เสียงตามสาย , การบริหารจัดการระบบการกระจายเสียงนำร่อง วิทยุเฉพาะพื้นที่ ( 10 KM.) , การดำเนินการสื่อภูมิปัญญาพื้นบ้าน และสื่อวัฒนธรรม อย่างกว้างขวาง และหลากหลาย3.       จัดตั้งอาสาสมัครผู้สื่อข่าวชุมชนประจำ ชุมชน , องค์กรชุมชน และ เครือข่ายองค์กรชุมชน ในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพ4.       จัดกระบวนการสนับสนุนการดำเนินการด้านสื่อชุมชน ด้านองค์ความรู้ การเชื่อมประสาน และแสวงหาแหล่งทุน ทรัพยากร และบุคลากร แก่ ชุมชน องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน5.       สนับสนุนกระบวนการดำเนินงานวิทยุชุมชน , วิทยุเครือข่ายภาคพลเมือง , สื่อสารสนเทศชุมชน , ที.วี.ชุมชน , สื่อสิ่งพิมพ์ และ สื่ออื่นๆ ที่มีเป้าหมายส่งเสริมกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ในการดำเนินงานในระดับท้องถิ่น6.       ดำเนินกระบวนการเพื่อประสานงาน ถักทอ เชื่อมโยง เครือข่ายสื่อชุมชนในระดับรากหญ้าในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพ7.       ดำเนินกระบวนการเพื่อประสานงานเชื่อมโยง ถักทอ เชื่อมโยง เครือข่ายสื่อชุมชนในระดับท้องถิ่น ในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพ8.       จัดตั้งเครือข่ายข้อมูลข่าวสารชุมชน ( CINN ) ในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพ โดย การประสานเครือข่ายสื่อชุมชนในระดับรากหญ้าขององค์กรชุมชน และ เครือข่ายองค์กรชุมชน กับ เครือข่ายสื่อชุมชนในระดับท้องถิ่นของประชาสังคม หรือ สหภาคี เข้าด้วยกัน และจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานเครือข่ายข้อมูลข่าวสารชุมชน ( CINN-Center ) ในระดับจังหวัด ที่มีศักยภาพ โดยการจัดตั้งสำนักงานศูนย์ CINN เป็นจุดประสานงาน9.       จัดตั้ง เครือข่ายข้อมูลข่าวสารชุมชน ( CINN ) ในระดับประเทศ เพื่อเชื่อมโยงประสานงาน และขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมาย 

พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ

                 พื้นที่ส่วนที่ ๑.  กทม.-ปริมณฑล และภาคกลาง·       กทม./ ปทุมธานี / สมุทรปราการ / นนทบุรี·       อยุธยา / สุพรรณบุรี / ลพบุรี / ชัยนาท / อ่างทอง / สระบุรี·       ราชบุรี / กาญจนบุรี / ประจวบคีรีขันธ์·       จันทบุรี / ตราด พื้นที่ส่วนที่ ๒. ภาคอีสาน·       ขอนแก่น / ชัยภูมิ / มหาสารคาม / ร้อยเอ็ด / กาฬสินธุ์ / ยโสธร·       อุดรธานี / เลย / หนองบัวลำภู / หนองคาย / สกลนคร / นครพนม / มุกดาหาร·       นครราชสีมา / บุรีรัมย์ / สุรินทร์ / อำนาจเจริญ / อุบลราชธานี / ศรีสะเกษ  พื้นที่ส่วนที่ ๓.  ภาคเหนือ·       นครสวรรค์ /อุทัยธานี / พิจิตร / ตาก / พิษณุโลก / สุโขทัย·       เชียงใหม่ / พะเยา / เชียงราย / แพร่ / แม่ฮ่องสอน 

พื้นที่ส่วนที่  .  ภาคใต้

·       สุราษฏร์ธานี / นครศรีธรรมราช ·       สงขลา / ตรัง / นราธิวาส

รวมทั้งสิ้น  50  จังหวัด

 

ระยะเวลาดำเนินการ

                                เริ่มโครงการตั้งแต่  มกราคม 2545 – ธันวาคม 2549  ระยะเวลา  5 ปี 

งบประมาณโครงการ ( ตามเอกสารแนบ 1.)

                ส่วนที่ ๑. งบค่าบริหารจัดการ                ส่วนที่ ๒. งบสนับสนุนกระบวนการ                ส่วนที่ ๓.  งบสนับสนุนโครงการชุมชน 

บุคลากรดำเนินงาน

                ( ตามเอกสารแนบ 2. )

 

แผนปฎิบัติการ

                ( ตามเอกสารแนบ 3. )

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 1.       ชุมชน องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และ พัฒนาองค์ความรู้ ในด้านการใช้สื่อชุมชน เพื่อการพัฒนา เสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง2.       ชุมชน  องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์ชุมชน สามารถใช้ และบริหารจัดการ สื่อชุมชน ในระดับชุมชนรากหญ้า เพื่อเสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล3.       ประชาสังคม สหภาคี สหข่าย ในระดับท้องถิ่น/จังหวัด สามารถใช้และบริหารจัดการสื่อสาธารณะในระดับท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนกระบวนการชุมชนเข้มแข็งในระดับรากหญ้าได้อย่างตรงเป้าหมาย  อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล4.       เกิดการประสานจัดตั้งเป็นเครื่อข่ายสื่อชุมชนในระดับรากหญ้า ในพี้นที่เป้าหมาย , เกิดการประสานจัดตั้งเป็นเครือข่ายสื่อสาธารณะเพื่อชุมชนในระดับท้องถิ่นในจังหวัดเป้าหมาย   และ เกิดการเชื่อมโยง ถักทอ ต่อยอด เครือข่ายสื่อชุมชนระดับรากหญ้า กับ สื่อสาธารณะเพื่อชุมชนระดับท้องถิ่น ในจังหวัดเป้าหมาย เกิดกระบวนการ จัดตั้งกันเป็นเครือข่ายข้อมูล ข่าวสารชุมชน ( Community  Information & News Network – CINN ) ทั้งในระดับจังหวัดพื้นที่เป้าหมาย และในระดับภาค  ระดับชาติ    

 
คำสรุป
( Narrative Summary-NS.)
ตัวบ่งชี้
( Measurable  Indicator –MI.)
แหล่ง/วิธีพิสูจน์
( Means of Verification-MOV.)
เงื่อนไขสำคัญ
( Important  Assumtion )
G ( Goal )
 องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน รับรู้ เข้าใจ ตระหนัก ถึง ความสำคัญการดำเนินการด้านสื่อชุมชนอย่างเป็นกระบวนการ โดย การจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลข่าวสารชุมชน ( CINN)  เพื่อสนบัสนุนกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
¨ องค์กรชุมชน ประมาณ 500 องค์กร ¨เครือข่ายองค์กรชุมชน 100 เครือข่าย¨พื้นที่เป้าหมาย  50 จังหวัด¨สมาชิกผู้เข้าร่วมประมาณ 10,000คน         
n ผลการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
n ผลการวิจัยชุมชน/วิจัยเชิงปฎิบัติการn การประเมินผลโดยแหล่งทุน
èได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะโครงการ
èเครือข่ายภาคี พันธมิตร และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ให้ความสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดระยะโครงการèคณะทำงานที่มีความเข้าใจ เป็นเอกภาพมีโอกาสทำงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะโครงการ
P (Purpose)

4สร้างกระบวนการเรียนรู้ แก่ ชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน

4สนับสนุน การดำเนินการสื่อชุมชน สื่อพื้นบ้าน สื่อสาธารณะเพื่อชุมชน สื่อสารสนเทศชุมชน
4เชื่อมโยง จัดตั้งเครือข่าย CINN
¨     ผลการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ¨ผลการวิจัยชุมชน/วิจัยเชิงปฎิบัติการ¨เครือข่าย CINN และ ศูนย์เครือข่าย CINN จังหวัดเป้าหมาย 50 จังหวัด
n สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน( พอช.)
, กองทุนชุมชน ( SIF ) , สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ( LDI. )  , สถาบันเพื่อการเรียนรู้ ประชาสังคม ( Civic Net ) ,คณะกรรมการปฎิรูปสื่อ ( คปส. )n องค์กรภาคีความร่วมมือ กรม ปชส.
สทบ. , กศน. , ธกส.  ฯลฯ
è ใช้หลักสูตร / กระบวนการ / บุคลากร ที่มีความเข้าใจร่วม เป็นเอกภาพ และมีประสพการณ์ตรง อย่างต่อเนื่องตลอดระยะโครงการ
     
O-Ø    เกิดเครือข่ายระดับประเทศ CINNØ    เกิดศูนย์เครือข่าย CINN ระดับจังหวัด  50  จังหวัดเกิด nodes CINN ระดับท้องถิ่น/ชุมชน อน่างน้อยประมาณ 500 แห่ง ¨     เครือข่ายระดับประเทศ CINN¨     ศูนย์เครือข่าย CINN ระดับจังหวัด  50  จังหวัด¨     nodes CINN ระดับท้องถิ่น/ชุมชน อน่างน้อยประมาณ 500 แห่ง

 

 

กระบวนการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมล้วนก็ เพื่อความอยู่ดีมีสุข(Well-being) ของผู้คนในชุมชน หรือสังคมโดยรวมทั้งสิ้น กระบวนการนี้จึง เป็นกระบวนการพัฒนา ที่มีมนุษย์หรือผู้คนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมิอาจปฏิเสธปฎิสัมพันธ์หรือความเกี่ยวเนื่องของผู้คนทั้งสิ้นได้ จึงมีความเกี่ยวข้องอยู่กับกระบวนการสื่อสารสาธารณะ เพราะ กระบวนการสื่อสาร คือ พื้นฐานของกระบวนการทางสังคมทั้งมวล สำหรับมนุษย์แล้ว กระบวนการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาบุคคล ต่อการสร้างกลุ่มและการทำให้กลุ่มดำรงอยู่ต่อไป  ซึ่งหากพิจารณาโดยพื้นฐานแล้วยังเกี่ยวข้องกับสาระสำคัญในเชิงพฤติกรรมของมนุษย์ ที่มีการสื่อสารเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุด Paul Watzlawick , Janet H. Beavin  and Don D. Jackson (1967)  เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์ในทุกรูปแบบเป็นการสื่อสารทั้งสิ้น และไม่มีสิ่งใดที่เรียกว่าไม่ใช่พฤติกรรม มนุษย์จึงไม่สามารถที่จะไม่สื่อสาร

                ดังนั้น  การสื่อสารมวลชนมีอิทธิพลต่อสังคมมาก ได้สร้างรูปแบบใหม่ๆของกิจกรรมทางสังคมที่เน้นการใช้สัญลักษณ์ทางการสื่อสาร ช่วยให้คนมีความรู้  ควบคุมสถานภาพของคนในสังคมและ สื่อมวลชนมีบทบาทโดยตรงต่อการชี้นำความเป็นไปในสังคม เมื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารออกไปแล้ว ผู้รับสารจะซึมซับรับรู้ โดยไม่รู้ตัวยิ่งมีการผลิตซ้ำ ตอกย้ำอยู่เรื่อยๆสื่อที่ได้รับจะปรับมาเป็นทัศนคติ หรือ ค่านิยม ในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมได้   การสื่อสารมวลชนมีประสิทธิภาพในการย้ำทัศนคติที่มีอยู่แล้วให้มั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าอาจก่อให้เกิดความเสื่อมถอย หรือ ก่อให้เกิดการพัฒนาความคิด จิตใจและคุณภาพของความเป็นมนุษย์ ดังที่นักคิดและท่านผู้รู้หลายคนได้นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจ ไว้ดังเป็นที่ยอมรับกันดีว่าบทบาทของสื่อสารมวลชน มีอิทธิพลสูงยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาทางสังคมรวมทั้งการเอาชนะปัญหาความยากจนซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญสุดในเฉพาะหน้านี้ ซึ่งล้วนเป็นกระบวนการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนนั้น  สื่อสารธารณะจึงสามารถแสดงบทบาทในการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ก่อกระแสสังคม ในวงกว้างได้ทั้งในเชิงบวกและลบ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระ ที่สื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องกันอย่างไร
ข้อคิดเห็นที่ตรงกันประการหนึ่งของคนที่ทำงานด้านสื่อเพื่อการพัฒนาสังคมจากหลายภาคส่วน หลายองค์กร ก็คือ ในปัจจุบัน สื่อกระแสหลักหรือสื่อสาธารณะที่มีบทบาทในการชี้นำสังคม มีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนได้กว้างขวางมาก   แต่เท่าที่เป็นอยู่ สื่อกระแสหลักในการสื่อสารสาธารณะที่แสดงบทบาทมุ่งสู่การเสริมสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาสังคม รวมทั้งสนับสนุนกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก่อบทบาทเพื่อสังคมนั้น ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด   ส่วนใหญ่มุ่งเน้น เรื่องตลาดธุรกิจ ตอบสนองผลประโยชน์ทางธุรกิจ เศรษฐกิจ และกิจกรรมภาครัฐเป็นส่วนมาก เนื่องด้วยกลไกของสื่อกระแสหลักที่เป็นกลไกภาครัฐ ยังทำงานอยู่ภายใต้กรอบวิธีคิดและกระบวนทัศน์ที่เป็นกระแสหลักของสังคม ที่สนองตอบต่อโครงสร้างสังคมระดับบนเป็นสำคัญ  การที่ภาคประชาชน ชุมชนฐานล่าง ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนยากจนและด้อยโอกาส  ไม่สามารถเข้าถึง(Access) และใช้สื่อสารธารณะที่รับผิดขอบโดยกลไกรัฐได้   ดังนั้น เรื่องราวดี ๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง การแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง การพึ่งตนเอง การใช้ภูมิปัญญาพื้นถิ่นในการจัดการแก้ไขปัญหาชีวิต ปัญหาชุมชน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี เอื้ออาทร ดูแลช่วยเหลือกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมดั้งเดิม จึงถูกมองข้ามนอกจากนี้  สื่อสาธารณะ ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาโดยหลักการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม(Communication for Social Change) หรือกระบวนการสื่อสาธารณะเพื่อการเคลื่อนไหวทางสังคม ตามข้อเสนอของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ในเรื่อง ยุทธศาสตร์ เขยื้อนสังคมไทย ออกจากโครงสร้างมรณะ หรือที่เรียกกันว่า สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่งซึ่งมีหลักการสำคัญ คือการสร้างความรู้ การเคลื่อนไหวทางสังคม และการใช้อำนาจรัฐ ประสานกันจะเกิดเป็นโครงสร้างที่ทรงพลังยิ่ง เหมือนฟัลครัมหรือจุดคานงัดที่จะไปงัดภูเขาได้โดยเสนอให้เปิดพื้นที่ทางสังคม-เปิดพื้นที่ทางปัญญา เป็นความสำคัญอย่างเร่งด่วน ดังนั้น กระบวนการสื่อสาธารณะเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยการสนับสนุนการเข้าถึง(Access) และใช้สื่อสารธารณะ โดยชุมชนฐานล่าง เพื่อขยายผลองค์ความรู้สู่การเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นระลอกดังคลื่นใหญ่จากรากหญ้า จึงมิเพียงเป็นดังจุดคานงัดสำคัญในการก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากฐานราก เท่านั้น ยังเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาว่าด้วยเรื่องชุมชนอยู่ดีมีสุข และสังคมเข้มแข็ง ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย.

 

ในกระบวนการศึกษาหรือแสวงหาความรู้ในด้านสื่อสารมวลชน เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวคิดทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสื่อสาธารณะนั้น มีความจำเป็นต้องประยุกต์ใช้มรรควิธีในการแสวงหาองค์ความรู้จากทุกสำนักคิด ทุกทฤษฏี และนำมาใช้อย่างบูรณาการเพื่อความรอบด้านและสมบูรณ์ที่สุดความหมายตามรากศัพท์  คำว่า Communicate ในภาษาดั้งเดิมมีความหมายที่สร้างขึ้นไว้อย่างถูกต้อง นั่นคือ ภาษละติน Communicare หรือ ภาษาฝรั่งเศส Communiquer ซึ่งแปลตามตัวว่า make common ซึ่งหมายถึงทำให้มีสภาพร่วมกัน หรือทำให้รวมกันเป็นหนึ่ง เป็นความหมายที่ตรงกับพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ที่จะต้องพยายามสื่อสารให้เข้าใจตรงกันอยู่ตลอดเวลาสำหรับนักวิชาการไทย อาจารย์รจิตลักขณ์  แสงอุไร แห่งคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายความหมายไว้ว่าการสื่อสารเป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง เป็นกระบวนการที่ถ่ายทอดความหมาย และมีผลกระทบเกิดขึ้นทั้งต่อผู้ส่งสารและผู้รับสาร การสื่อสารเป็นเรื่องเฉพาะตัว และจำเป็นต้องมีการอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อความเข้าใจของทุกฝ่าย        ในด้านองค์ประกอบ และ คุณลักษณะ ของสื่อสารมวลชน มีนักวิชาการศึกษาค้นคว้าไว้จำนวนมาก โดยมีแนวคิดที่สำคัญได้แก่

 ด้านกระบวนการสื่อสารเป็นกระบวนการ 2 ทาง (two-way process) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อย 5 ประการ คือ ผู้ส่งสารหรือผู้เข้ารหัส(sender) ผู้รับสารหรือผู้ถอดรหัส      (receiver) สาร (message) ช่องทางการสื่อสาร (channel) และ  สภาพแวดล้อมของการสื่อสาร          ( context / environment )  และ คำอธิบายอย่างง่ายก็คือ การสื่อสารมวลชนทั้งหลายประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ประการ คือ  1) ผู้ส่งสาร  ซึ่ง... 2) ส่งสารๆหนึ่ง... 3)  โดยผ่าน ช่องทางๆหนึ่ง... 4) ถึง ผู้รับสาร กลุ่มหนึ่ง... 5) และ ทำให้เกิดผลบางอย่าง....สำหรับในอีกมุมมองหนึ่งของนักวิชาการไทย ศิริชัย ศิริกายะ และกาญจนา แก้วเทพ ได้อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารมวลชนในเชิงประเด็น ได้แก่  สถาบันสื่อมวลชน  กระบวนการสื่อสารมวลชน  แนวคิดเกี่ยวกับมวลชน และ วัฒนธรรมมวลชน

ในส่วนของผู้ปฏิบัติซึ่งมีบทบาทสำคัญในวงการสื่อสารมวลชนไทย รุ่งมณี เมฆโสภณ  กล่าวว่าชีวิตสาธารณะนั้นเปรียบเหมือนแก้วที่เป็นฝ้าและสกปรก งานของสื่อมวลชนคือ การทำ

แก้วสกปรกนั้นให้สะอาด  ประเด็นสำคัญคือต้องรู้จริงและรับผิดชอบตลอดจนทำด้วยสำนึกของ และสังคมด้วย

คุณสมหมาย ปาริจฉัตต์ บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์มติชนกล่าวว่า สื่อมวลชนควรนำเสนอเรื่องจริง ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน นำเสนอให้ถูกต้องเหมาะสมและเกิดผลกระทบในเชิงบวก ให้ประชาชนมีข้อมูลมากลั่นกรอง เปรียบเทียบ และตัดสินใจด้วยตัวเขา ไม่ใช่สื่อมวลชนเป็นผู้ตัดสิน

คุณสมหมาย ยังเน้นย้ำอีกว่า ควรเน้นปรัชญาในการสื่อสารทางเลือกให้เกิดแก่ชาวบ้านท้องถิ่น ให้มีศักยภาพการต่อรองกับคนในส่วนกลางให้มากขึ้น ต้องนำเสนอข่าวที่ฉีกออกไปจากส่วนกลาง นำเสนอข่าวเฉพาะในพื้นที่ ในปริมณฑลของเขามีกลุ่มผู้อ่านที่ชัดเจน การสร้างเวทีไปร่วมกับองค์กรต่างๆเพื่อให้เกิดการแพร่ขยายของข่าวสารออกไป  บทบาทของสื่อมวลชน ต้องระบบความคิด วิธีการทำงานให้เป็นระบบก้าวเข้ามาหากลุ่มคนเล็กๆมากขึ้น เข้าหาชาวบ้านมากขึ้น หันมาสู่สิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระมีประโยชน์ต่อส่วนรวม

 นักปฏิบัติการสื่อสารมวลชนไทยที่มีพื้นฐานงานในท้องถิ่น ภูมิภาค คือ ประสาน สุกใส บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์โฟกัสสงขลา กล่าวว่า บทบาทในเชิงประชาสังคม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สื่อต้องเข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างสังคม เพราะสถานการณ์รอบด้านเปลี่ยนแปลงเร็วมาก และเราไม่สามารถฝากความหวังทั้งหมดไว้ทีส่วนกลาง  ซึ่งสื่อมวลชนก็มีโอกาสมากขึ้นเพราะการเติบโตขององค์กรทางสังคมต่างๆล้วนเป็นพันธมิตรกับสื่อมวลชนเพราะต่างมีบทบาทที่ต้องการสร้างสรรค์สังคม มีเป้าหมายเพื่อที่จะพัฒนาท้องถิ่น

วลักษณ์กมล  เอี่ยมวิวัฒน์กิจ กล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจในบทบาทสื่อมวลชนกับ ท้องถิ่นว่า สื่อมวลชนจะต้องช่วยทำให้เกิดเวทีในการพูดคุยเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในท้องถิ่น  รวมทั้งทำให้เกิดเวทีร่วมคิด ร่วมทำประโยชน์ เพื่อให้มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมซึ่งอาจเป็นธุรกิจชุมชน แล้วสื่อท้องถิ่นก็เข้าไปทำงานหยิบฉวยความสำเร็จของเขาออกมารายงานสู่สาธารณะ ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาดูข้อผิดพลาดของเขาด้วย เช่น มีการคอรัปชั่น หรือไม่  ซึ่งจะก่อให้เกิด จิตวิญญาณท้องถิ่นเพื่อร่วมดูแลท้องถิ่นของตนเอง


พัฒนาการของเครือข่ายอาสาสมัครนักสื่อสารชุมชนในพ.ศ.๒๕๕๑ ดูได้ในบล็อกล่าสุดชื่อ เครือข่ายอาสาสมัครนักสื่อสารชุมชน ; นวัตรกรรมกระบวนการสื่อสารชุมชนท้องถิ่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท