ธนวลัย 46310892


อยากรู้จังอร่อยเปล่า
ทำไมผึ้งนางพญาจึงมีขนาดโตกว่าผึ้งอื่นๆ

[ ขยายดูภาพใหญ่ ]

นมผึ้ง นมผึ้งหรือรอยัลเยลลี (rayal jelly) ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า นมผึ้ง เป็นอาหารของผึ้งตัวอ่อนและผึ้งนางพญา ผลิตโดยผึ้งงานที่มีอายุประมาณ 5-15 วัน คือ ผึ้งงานวัยที่มีหน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อนจะผลิตอาหารพิเศษนี้จากต่อมไฮโพฟาริงจ์ (hypopharyngeal gland) ที่อยู่ติดกับต่อมน้ำลายในบริเวณส่วนหัวของผึ้งงาน ต่อมนี้จะทำหน้าที่ผลิตรอยัลเยลลีและผึ้งงานจะคายรอยัลเยล ลีออกจากปากใส่ลงในหลอดรวงตัวอ่อน (brood cells) นอกจากนั้นผึ้งงานจะใช้รอยยัลเยลลีป้อนให้กับผึ้งนางพญาด้วย รอยัลเยลลีมีลักษณะสีขาวคล้ายครีมหรือนมข้นหวาน มีกลิ่นออกเปรี้ยวและรสค่อนข้างเผ็ดเล็กน้อย ผึ้งงานจะนำรอยัลเยล ลีที่ผลิตขึ้นมาได้นี้ไปเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งทุกวรรณะตั้งแต่แรกเกิดจนมีอายุครบ 3 วัน เฉพาะตัวอ่อนที่จะเจริญไปเป็นผึ้งนางพญาเท่านั้นที่จะได ้รับรอยัลเยลลีจำนวนมากและได้รับต่อไปจนตลอดชีวิต จึงเรียกอาหารนี้ว่าเป็นอาหารราชินีหรืออาหารนางพญา (royal jelly) ซึ่งเ ป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผึ้งนางพญามีขนาดโตกว่าผึ้งวรรณะอื่น ๆ และมีข้อแตกต่างหลายประการที่ต่างไปจากผึ้งงานทั่วๆ ไปภายในรัง ปัจจุบันได้มีการนำเอารอยัลเยลลีมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ทางอาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไปในรูป ครีมทาหน้า แชมพู และรับประทานเป็นอาหารเสริมกันมากขึ้น แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าน้ำผึ้ง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6493เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2005 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท