นอกจากสังคมมี Unity แล้ว...ต้องมี Sympathy ด้วย


มองไปที่อัฒจันทร์ นักเรียนระดับมัธยม ที่แสดงถึง Unity และ Sympathy

sympathy.......คือ ความเห็นอกเห็นใจกัน  ความมีใจเหมือนกัน  การเข้าข้าง  การเห็นด้วย  ความพอใจ  ความภูมิใจ 

Unity  ......คือ...ความสามัคคี  ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ความพร้อมเพรียงกัน  การรวมกัน   การร่วมกัน  สิ่งที่ร่วมกัน  หนึ่ง  จำนวนหนึ่งหน่วย

 

จะเปรียบกับ.....งานกีฬา..ที่ครูอ้อยได้พานักเรียนไปร่วมด้วยเมื่อวานนี้

มองไปที่อัฒจันทร์  นักเรียนระดับมัธยม  ที่แสดงถึง  Unity และ Sympathy

กว่าที่พวกเธอจะสำเร็จในงานที่เธอทำ  ต้องทุ่มเท  และมี  Unity และ Sympathy  มากแค่ไหน

ครูอ้อยได้เขียนบันทึกหนึ่ง  เรื่อง 

ในสังคม GotoKnow ที่เป็นสังคมเสมือนแห่งนี้  เป็นสังคมที่น่าอยู่  น่าดำเนินกิจกรรม  น่าเรียนรู้  มีความจริงใจ
เพราะเรามีคุณภาพ  จากหน่วยย่อยที่มีคุณภาพ  เมื่อรวมตัวกับแบบ Unity และ Sympathy   แล้ว  เราจะประสบกับความสำเร็จมากแค่ไหน
ลองคิดดู
หมายเลขบันทึก: 64789เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2006 05:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คิดแล้วค่ะ จึงต้องเข้ามาเป็นสมาชิกใน G2K ไงคะ

แล้วเราก็เลือกบริโภคในเรื่องราวที่ตรงกับความต้องการของเรา(การทำงาน ความสนใจ)....แบบเชิงลึก.....สำหรับเรื่องราวอื่น ๆ ก็เป็นข้อมูลค่ะ......จึงเกิดการ ลปรร. กันแบบหลากหลายไงคะ.....

ยิ้ม ยิ้ม นะคะ

สวัสดีค่ะ น้องอึ่งอ๊อบ

  • ถ้ามีคิดตรงกัน คำว่า หลากหลายก็ไม่มี
  • หากเห็นชอบไปหมด  ก็คง  ไม่มีใครผิด

ขอบคุณมากค่ะ

เมื่อมีความเห็นอกเห็นใจแล้วก็ต้องดูแล

ฝันดีครับ

ค่ะคุณจ๊อด

ต้องดูแลกัน  จนกว่าจะไม่ยอมให้ดูแลกันค่ะ

  • ในทุกหน่วยงาน หรือทุกองค์กร จำเป็นที่จะต้องมี sympathy และ Unity ควบคู่กันไปเสมอ
  • หากแต่ .. ในสังคมปัจจุบัน ในยุคแห่งการแข่งขันมักจะเข้ามาเปลี่ยน ความเห็นอกเห็นใจกันเป็นการแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน (เข้าข้างกันแบบผิดๆ) และ การแข่งขันนี่เองที่มักจะเข้ามาทำลายความสามัคคี ในหน่วยงานหรือองค์กร
  • ยังจำคำที่อาจารย์สมัยมัธยมเคยสอนได้เลยว่า.. เราจะหาเพื่อนแท้ได้ยากเหลือเกินจากชีวิตการทำงาน - -" (ออกเชิงน้อยอกน้อยใจซะงั้น!)

คุณ อรุฎา นาคฤทธิ์ คะ

แอบตอบใน บันทึกครูอ้อยค่ะ

  • หากแต่ .. ในสังคมปัจจุบัน ในยุคแห่งการแข่งขันมักจะเข้ามาเปลี่ยน ความเห็นอกเห็นใจกันเป็นการแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน (เข้าข้างกันแบบผิดๆ) และ การแข่งขันนี่เองที่มักจะเข้ามาทำลายความสามัคคี ในหน่วยงานหรือองค์กร
  •  อยากเป็นกำลังใจให้สำหรับข้อนี้ เพราะการคิดดี ทำดี และการมีเจตนาดี มันช่วยให้งาน ช่วยให้ใจเราสำเร็จและมีความสุขไปมากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ทำเถอะค่ะ คิดถึงเป้าหมายของหน่วยงานเป็นหลัก คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับส่วนรวม จะช่วยให้เราทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้น  และให้คิดว่าปัญหามีไว้แก้  ความลำบากย่อมนำมาซึ่งความอดทน และช่วยบริหารอารมณ์ และจิตใจของเรา  คิดดี มองโลกในแง่ดี อย่างน้อยใจเราก็เป็นสุข  นะคะ  เอาใจช่วย เราจะเป็นกำลังใจให้ซึ่งกันและกันเพื่อเป็นพลังส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการทำดีค่ะ
  • ยังจำคำที่อาจารย์สมัยมัธยมเคยสอนได้เลยว่า.. เราจะหาเพื่อนแท้ได้ยากเหลือเกินจากชีวิตการทำงาน
  • ในชีวิตทำงานต้องใช้เวลายาวนานมากสำหรับการสร้างมิตรภาพ  เราจึงถือทุกคนเป็นกัลยาณมิตร  ให้สิ่งที่ดีแก่เขาเสมอ เพราะการทำดีก็ย่อมได้สิ่งที่ดีตอบ อย่างน้อยเราก็ได้ความสุขกับการที่เราทำดี  ใครจะคิดอย่างไรเป็นเรื่องของคน ๆ นั้น ไม่เกี่ยวกับตัวเราแล้ว สิ่งที่เกี่ยวกับเราคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ไม่ใช่ตัวเขา........ส่งใจไปเชียร์อีกแล้ว  ทำดีเถอะคะ  แล้วผลดีจะตอบกลับมาหาเราแบบที่เราไม่ได้หวัง....พี่เชื่อเช่นนั้น......
  • ใช่ไหมคะครูอ้อย

น้องอ๊อบคะ

  • แบ่งเป็นพวกๆ  มีทุกแห่งค่ะ  อย่าไปคิดเลย  ดูครูอ้อยซิคะ แทรกซึมไปทุกหน่วย  ได้ดีเอง  ยึดมั่น  ตั้งใจทำในสิ่งที่อยากทำแล้วก้าวหน้า  จะเจริญเองค่ะ
  • ใช่ค่ะ  มิตรภาพ  ใครไม่เข้ามาสัมผัสไม่รู้หรอก
  • ยังดีกว่า  นั่งก๊งเหล้า เสียเงินเสียสุขภาพ มีแต่เสีย  เสีย  เสีย

คิดดี  ทำดี  ได้ดี มีทุกที่

 

สิริพร กุ่ยกระโทก และ Miss somporn poungpratoom

  • ขอบคุณสำหรับคำและนำและกำลังใจคะ : )
  • คิดว่าคงได้นำไปใช้แน่นอน คะ!!
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท