การบริหารการสื่อสารในภาวะวิกฤติ


แนวคิดทฤษฎี

บทที่ 2แนวคิด ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการภาวะวิกฤต คือ อะไร            การบริหารจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management or CM) เป็นหลักการบริหารที่ครอบคลุมเหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นคนสร้าง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น การเข้าไปล้วงข้อมูลความลับของบริษัทหรือองค์กร สารพิษในสิ่งแวดล้อม การลักพาตัวผู้บริหาร และอื่นๆ อันส่งผลกระทบต่อองค์กร และเกิดเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งการบริหารจัดการภาวะวิกฤตนั้นเป็นเรื่องวิกฤตที่กว้างใหญ่ และถูกกำหนดให้เป็นวิธีการหนึ่งในยุทธศาสตร์ หลายองค์กรมองว่า การบริหารจัดการภาวะวิกฤตนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ เพราะหลายครั้งสื่อมวลชนนำเสนออย่างไม่ยุติธรรม และมักจะทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ทั้งที่จริงอาจจะเป็นเรื่องนิดเดียวจึงทำให้ต้องมีการบริหารจัดการสื่อมวลชนในภาวะวิกฤตที่ดีร่วมด้วยจากการสำรวจภาวะวิกฤตขององค์กรที่มีสาขาทั่วโลก (Ian I. Mitorff and Murat C. Alpaslan., 2003 p.p. 57 -59) ผู้วิจัยพบว่า กว่า 60 องค์กร ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงใน 3 ประเภท คือประการแรก อุบัติภัยทางธรรมชาติ (Accidental crises) เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว โดยส่วนใหญแล้วบริษัทรับรู้ และเตรียมรับมือป้องกันวิกฤติการณ์เหล่านี้ โดยการใช้เทคนิคการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยประการที่สอง อุบัติภัยปกติ (Normal Accidents) เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นโดยนักสังคมวิทยา นามว่า Charles Perrow (1984) เพอโรว์ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีกลายเป็นสิ่งซับซ้อนเสียจนอาจจะมีตัวสร้างปัญหาอยู่ภายในตัวของมันเอง ซึ่งในความจริงแล้วหายนะทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นปัญหาเรื่องการใช้งานระบบอย่างเกินกำลัง และการทำงานผิดพลาดตามปกติเท่านั้น การเตรียมรับมือเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ท้าทาย ซึ่งต้องอาศัยความรู้ของนักออกแบบ นักปฏิบัติการ และผู้จัดการมาร่วมกันตั้งสมมติฐานที่ให้มองเห็นสัญญาณเตือนภัยในอนาคตได้ประการที่สาม อุบัติเหตุพิสดาร (Abnormal Crises) นับเป็นหายนะประการสำคัญที่บริษัทเชิงรุกเป็นห่วง อันอาจจะเกิดจากการก่อการร้ายอย่างตั้งใจ เช่น การทุจริต การวางระเบิด การลักพาตัว และการโจมตีทางอินเตอร์เน็ต บริษัททั้งหลายต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเกิดวินาศกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมาจากพนักงานหรือบุคคลภายนอกก็ตาม แต่ว่าไม่มีเหตุการณ์ใดที่จะย่ำแย่กว่าสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นระดับโลก 9 – 11 ทำให้เปลี่ยนสถานที่ทำงานทั่วโลก ให้กลายเป็นเขตใจกลางสงคราม และแน่นอนว่าผลกระทบทางอุบัติเหตุดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน           จากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพบว่า การบริหารจัดการภาวะวิกฤตินั้นต้องอาศัยวิธีคิดภายใต้กรอบการแก้ไขตามหลักการบริหาร ซึ่ง Max H. Bazerman และ Micheal D. Watkins (2002) ได้กล่าวว่าสัญญาณของวิกฤติการณ์ที่คืบคลานเข้ามามักจะรายล้อมอยู่รอบตัวเรา แต่เรากลับมองไม่เห็น ยังดีที่มีการตรวจจับหายนะเหล่านี้ก่อนที่จะสายเกินไป ดังนั้นการคาดการณ์ในภาวะวิกฤติ และหลีกเลี่ยงนั้นต้องถามก่อนว่า บริษัทหรือคนในองค์กรมองเห็นอะไรผิดปกติบ้างหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีคำตอบในคำถามนั้นก็หันกลับมามองว่า เรามีวิธีการป้องกันภาวะวิกฤติได้อย่างดีหรือไม่ เพราะบางทีคนในองค์กรมองเห็นความหายนะที่กำลังจะเกิดแต่ก็ไม่กล้าที่จะแสดงออกมาด้วยหลากหลายเหตุผล ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาภายในที่คนภายในองค์กรมองไม่เห็นและควรจะนำไปทำเป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการมองเห็นภาวะวิกฤติออกมาอย่างชัดเจนมี 4 ลักษณะ คือ1.      การวางแผนสถานการณ์ (Scenario Planning) ซึ่งต้องทำการรวบรวมข้อมูลจากคนภายใน และภายนอกบริษัทจากนั้นมานั่งวิเคราะห์ร่วมกัน สร้างรูปแบบสถานการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอีกสองปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย จากนั้นก็คิดหาทางเตรียมพร้อมรับมือไว้2.      การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk analysis) ต้องช่วยกันประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นภายในองค์กร จากแต่ละหน่วย หรือส่วนงาน ทั้งเรื่องของความเสียหาย ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ จากนั้นต้องสร้างทีมงานที่มีศักยภาพในการจัดการกับความเสี่ยงนั้นๆ3.      การจูงใจ (Incentives) ควรมีการส่งเสริมการให้รางวัลแก่ผู้ที่มองเห็นผลประโยชน์ขององค์กรทั้งในส่วนงานและภาพรวมของทั้งหมดขององค์กร 4.   การประสานงานเครือข่าย (Networks) ควรมีการตรวจสอบภายในและภายนอกองค์กร และกลั่นกรองเรื่องราวความประทับใจในองค์กรเมื่อครั้งที่มีชื่อเสียงมารวบรวมไว้ นอกจากนี้ต้องมีการเก็บรวบรวมเรื่องราวของความอคติที่เกิดขึ้น และพยายามแก้ไขความอคติมากกว่าการปล่อยให้ความอคติหลุดออกไปจากองค์กร เพราะหากหลุดออกไปแล้วย่อมจะไม่สามารถแก้ไขได้ง่าย เนื่องจากองค์กรจะต้องตั้งอยู่ในความเสี่ยงต่อการสร้างภาพลักษณ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดแน่นอนว่าการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามย่อมจะไม่มีความราบเรียบหรือปราศจากปัญหาใดๆและเมื่อองค์กรประสบกับความล้มเหลว โดยปราศจากการคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าย่อมจะไม่มีข้อแก้ตัวใดที่จะบ่งบอกถึงความรับผิดชอบที่ดีของผู้นำในองค์กร การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรทั้งหมดนั้นเป็นกระบวนการ RPM หรือ Recognition, Prioritization และ Mobilization ซึ่งอธิบายได้ตามแผนภาพที่ 2.1 ในหน้าถัดไป                

การตอบสนองเชิงป้องกันอย่างมีประสิทธิผล

ใช่
ใช่
ใช่
ไม่
ไม่
ไม่
ไม่
ไม่
ไม่
หายนะ/ปัญหาที่กำลังจะเกิด
การรับรู้ (Recognition)
ควรได้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก่อนหรือไม่
ข้อแปลกใจที่คาดการณ์ไม่ได้
ข้อแปลกใจที่คาดการณ์ได้
การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization)
น่าจะให้ความสำคัญหรือไม่
ข้อแปลกใจที่คาดการณ์ไม่ได้
ข้อแปลกใจที่คาดการณ์ได้
การบริหารทรัพยากร (Mobilization)
น่าจะมีการบริหารทรัพยากรหรือไม่
ข้อแปลกใจที่คาดการณ์ไม่ได้
ข้อแปลกใจที่คาดการณ์ได้
ใช่
ใช่
ใช่
                
            ภาพที่ 2.1 กระบวนการ RPMเมื่อเรารับรู้ว่าองค์กรกำลังเกิดเรื่องหายนะ หรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดเราจะมองเห็นว่า การวางแผนสถานการณ์และการวิเคราะห์ความเสี่ยงจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาที่เลวร้ายได้อย่างราบรื่น             การวางแผนสถานการณ์ (Scenario Planning) เริ่มต้นด้วยการระดมบุคลากรในองค์กรที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ และมีความรู้ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ เพื่อมาร่วมกันทบทวนกลยุทธต่างๆ ของบริษัท ร่วมกันย่อยข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กร และระบุตัวขับเคลื่อนขององค์กรร่วมกัน การวิเคราะห์นั้นเป็นการสร้างสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยฉาก สถานการณ์ที่เป็นไปได้ อันอาจจะเกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้าและสามารถสร้างผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ต่อองค์กร จากนั้นต้องทำการติดตามความเปลี่ยนแปลงในองค์กร รวมถึงวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอย่างเป็นทางการทุกๆ ไตรมาส            การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) การวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างดี เป็นการแสดงให้เห็นการประเมินอย่างเป็นระบบ และการประมาณความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบกับการวิเคราะห์ว่าจะเกิดผลประโยชน์ใดๆ ต่อองค์กร โดยเฉพาะการวิเคราะห์ในระดับอัตวิสัย (Subjective evaluation) ในเชิงนามธรรม และภววิสัย (Subjective evaluation) ในแบบที่เป็นรูปธรรม (Objective evaluation) ซึ่งการวิเคราะห์ความเสี่ยงนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการป้องกันไม่ให้องค์กรเผชิญกับสถานการณ์อันเลวร้าย อันเป็นประเด็นแรกของกลยุทธการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต (Norman R. Augustine, 2000 pp. 7 - 31)การบริหารจัดการภาวะวิกฤตสิ่งที่สำคัญกว่าการบริหารจัดการภาวะวิกฤต คือ การที่ทำอย่างไรก็ได้ ให้องค์กรไม่เกิดภาวะวิกฤติหรือทำอย่างไรก็ได้ให้เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ่นในองค์กรไม่สร้างความเสียหายให้กับชื่อเสียงในองค์กร ในการวิเคราะห์ลำดับขั้นตอนของวิกฤตทางธุรกิจ มีอยู่ 6 ขั้น คือ 1.                  หลีกเลี่ยงที่จะให้เกิดภาวะวิฤติ (Avoiding the crisis)2.                  เตรียมพร้อมที่จะจัดการภาวะวิกฤติ (Preparing to Manage the crisis)3.                  จดจำไว้เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นภาวะวิกฤตขององค์กร (Recognizing the crisis) 4.                  เก็บรวบรวมเรื่องราวที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤต (Containing the Crisis)5.                  แก้ไขปัญหาวิกฤตที่เผชิญหน้า (Resolving the Crisis)6.                  จงผลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส (Profiting from the Crisis) ประการแรก    การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะวิกฤติ (Avoiding the crisis) สัปดาห์หน้าจะมีวิกฤตไม่ได้อีกแล้ว เพราะตารางเวลาของข้าพเจ้าไม่มีที่ว่างแล้ว (Henry Kissinger รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา) โนอาห์ได้รับสัญญาณจากพระเจ้าว่า น้ำจะท่วมโลก คนไทยได้รับรู้จากพญาแถนว่า น้ำจะท่วมโลก เพราะสิ่งที่คนทั้งหลายนับถือมาส่งสัญญาณเตือนภัยทำให้ชาวบ้านมาช่วยกันต่อเรือ นั่นล่ะ คือ วิธีการบริหารจัดการภาวะวิกฤติวิธีที่ดีที่สุด ก็ด้วยการทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายในองค์กร เพราะนอกจากจะทำให้เป็นการแก้ปัญหาที่จุดเริ่มต้นแล้วยังช่วยให้ชื่อเสียงขององค์กรไม่ได้รับความเสียหายและที่มากกว่านั้น คือ จะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการบริหารจัดการ สร้างทีมงานหรือต้องจ้างบริษัทมืออาชีพมาแก้ไขสถานการณ์ อย่างไรก็ตามองค์กรจะต้องพยายามเรียนรู้วิธีการบริหารความเสี่ยง อันเกิดจากปัจจัยทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร อาทิ ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง สภาพสังคม โรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรโดยตรง ขณะเดียวกันบางสถานการณ์อันอาจจะเกิดจากคู่แข่งขัน การยอมรับความนิยมจากผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น กรณีภาวะวิกฤตทางการเมืองในประเทศไทย หลายฝ่ายพยายามจะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุจราจลเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้น ด้วยวิธีการตอกย้ำภาพเหตุการณ์นองเลือดและนำเสนอกระแสพระราชดำรัส โดยมีใจความตอนหนึ่งที่ว่า ชัยชนะบนกองซากปรักหักพังคงจะไม่ใช่สิ่งที่น่าชื่นชม แต่บางเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็อาจจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่สองคือพร้อมรับสภาพที่จะแก้ไขปัญหาได้ต่อไป อย่างไรก็ตามการเรียนรู้หลักการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์และการกำหนดแนวทางการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงในหน่วยงานเป็นการประเมินการปฎิบัติงานในภาพรวมของหน่วยงาน เพื่อให้ทราบเหตุการณ์ของความเสี่ยงและหาทางแก้ไขและควบคุมให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่เกิดความเสียหายน้อยที่สุดทำไมบริษัทจึงเผชิญกับภาวะวิกฤติบ่อยครั้ง ก็เพราะองค์กรใหญ่เท่ากับเมืองสำคัญนั่นเองการบริหารความเสี่ยงนั้นก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้นำ ในทางจิตวิทยาองค์กร มีการเสนอแนะให้ผู้บริหารเรียนรู้วิธีการจัดการกับการตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์อย่างมั่นคง ทั้งในเชิงของการเงิน การบริหาร และการปราะชาสัมพันธ์ วิธีการที่ดีทีสุด คือ การรักษาภาพลักษณ์ขององค์กร ให้อยู่ในระดับเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอาศัยบุคคลที่มีชื่อเสียงตรงกับทิศทางและเป้าหมายขององค์กร และการรักษาภาพลักษณ์อันเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อมาคือการรักษาหน้าตา ชื่อเสียงของผู้บริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้บริหาร ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นกับชีวิตประจำวัน เป็นการตอกย้ำตราสินค้าให้น่าเชื่อถือ และรับประกันได้ว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบทางด้านลบอันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ กรณีของการบริหารภาพลักษณ์ของสินค้าที่ช่วยลดความรู้สึกเสี่ยงในผู้บริโภคและเป็นการป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต คือ บริษัทสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด ที่ช่วงยุคบุกเบิก ผู้ก่อตั้งบริษัท คือ ดร. เทียม โชควัฒนา (อ้างจากคำสัมภาษณ์ คุณบุญยสิทธิ์ โชควัฒนา ในรายการ       ไอคอน ทาง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท) โดยได้นำเอาผลิตภัณฑ์ยาสระผม ที่ใช้ได้กับทั้งน้ำทะเล และน้ำธรรมดา ออกมาจำหน่ายเป็นรายแรกของไทย และให้บุตรชาย ซึ่งก็คือ คุณบุญยสิทธิ์ในขณะนั้นเป็นคนสาธิต แสดงให้เห็นว่า เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องของการบริโภคผลิตภัณฑ์ ซึ่งคนไทยยังไม่เคยได้ลองใช้มาก่อน และเป็นวิธีการประชาสัมพันธ์สินค้าทางอ้อม สร้างความมั่นใจให้เกิดกับผู้บริโภคในอีกทางหนึ่ง กรณีที่สำคัญต่อการป้องกันความเสี่ยงอย่างมาก คือ การออกผลิตภัณฑ์ยาตัวใหม่ ที่มีผลต่อผู้บริโภคนั้น ทางบริษัทจะต้องนำเอาผลิตภัณฑ์ยา ไปให้ทางสำนักงานอาหารและยา หรือ อ.ย. ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนวางจำหน่าย หากว่าผลิตภัณฑ์ตัวไหนไม่ได้นำไปทดสอบก่อนเมื่อมีผลต่อร่างกายของผู้บริโภคโดยตรงนั้นย่อมจะทำให้เกือบความสูญเสียต่อทั้งผู้บริโภคและความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ แต่บางครั้งใบอนุญาติจาก อ.ย. ก็ไม่ได้รับการรองรับเป็นมาตรฐานเสมอไปเพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดต่อผู้บริโภคบางราย เช่น กรณีของยาสระผม ขจัดรังแค ยี่ห้อเฮดแอนด์โชว์เดอร์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผู้บริโภคผมร่วง และออกมาเรียกร้องค่าเสียหาย นอกจากนี้แล้วในระดับประเทศชาติการควบคุมเหตุการณ์ภาวะวิกฤติไม่ให้เกิดขึ้นต้องนั้นสามารถสรุปจากการวิเคราะห์โดยกรมประชาสัมพันธ์ (www.thainews.com) ได้ตามแผนภาพดังนี้   รุนแรง----------------------------------เกิดจากธรรมชาติ ------------------------- ไม่รุนแรง  ภาพที่ 2.2 วิเคราะห์สถานการณ์วิกฤติในประเทศไทย (ดูภาคผนวก ก. เพิ่ม ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ขาดการบริหารความเสี่ยง) สาเหตุของความเสี่ยงอาจจะเกิดจาก 2 ปัจจัยที่สำคัญ คือ (พรอนงค์ บุษราตระกูล, เอกสารประกอบการสอนคณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)§       ปัจจัยภายใน  ได้แก่ นโยบายของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ จริยธรรม คุณภาพของบุคคลากร การเปลี่ยนแปลงระบบงาน ความเชื่อถือได้ของระบบสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บ่อยครั้ง การควบคุมกำกับดูแลไม่ทั่วถึง และการไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงาน§       ปัจจัยภายนอก ได้แก่ กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือสภาพการแข่งขัน สภาวะแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจ และการเมืองนอกจากนี้แล้วความเสี่ยงยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (นฤมล สอาดโฉม, 2548)     คือ §       ความเสี่ยงที่ปรากฏ (Objective Risk) และความเสี่ยงที่เกิดจากความคิดความรู้สึก (Subjective Risk) -          ความเสี่ยงที่ปรากฏ (Objective Risk) คือ ความเสี่ยงที่วัดโดยค่าความเบี่ยงเบนไปจากที่คาดหวังไว้ ฉะนั้นจึงเป็นความเสี่ยงที่สามารถได้รับการประเมินค่าความคาดหวังและค่าความแปรปรวนทางสถิติได้ นั่นคือจะต้องเป็นความเสี่ยงที่สามารถได้รับการแสดงอยู่ในรูปแบบของการแจกแจงของตัวแปรสุ่มความเสี่ยงได้ -          ความเสี่ยงตามความรู้สึก (Subjective Risk) คือ ความเสี่ยงที่เป็นไปตามความรู้สึก ไม่สามารถได้รับการประมาณค่าโดยสถิติ เป็นความเสี่ยงที่ต่างกันไปทางความรู้สึก ยังสามารถปรับเปลี่ยนไปได้ตามประสบการณ์ที่เปลี่ยนไปแต่ละคน ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่สามารถนำหลักการกระจายความเสี่ยงและทฤษฎีทางสถิติมาประยุกต์ใช้กับความเสี่ยงตามความคิดและความรู้สึกได้§       ความเสี่ยงที่แท้จริง (Pure Risk) และความเสี่ยงที่เกิดจากการเก็งกำไร (Speculative Risk) -          ความเสี่ยงที่แท้จริง (Pure Risk)  คือ ความเสี่ยงที่มีโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ความเสี่ยงที่เกิดจากการสร้างขึ้นมา ฉนั้นโอกาสของความสูญเสียจึงมีอยู่สองกรณี คือ โอกาสที่เกิดจากการสูญเสีย และโอกาสที่จะไม่เกิดความสูญเสีย ความเสี่ยงที่แท้จริงอาจจะนำไปสู่ความสูญเสียหรือไม่สูญเสียเท่านั้น ความเสี่ยงที่แท้จริงจะไม่นำไปสู่การทำกำไรได้ ความเสี่ยงที่แท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับตัวบุคคล ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน และความเสี่ยงที่แท้จริงทางระบบกฏหมายการประเมินความเสี่ยงขององค์กร จำแนกได้ตามระดับความถี่และความรุนแรงของความสูญเสีย ความถี่ของการเกิดความสูญเสียเป็นมาตรวัดจำนวนครั้งที่จะเกิดความสูญเสีย สำหรับความเสี่ยงแต่ละประเภทที่ระบุไว้ ส่วนความรุนแรงของความสูญเสียเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพราะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าหากความเสี่ยงที่ระบุไว้เกิดเป็นความสูญเสียขึ้นมาก็จะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด การวางแผนมาตรการจัดการความเสี่ยงภัยจึงอาจจะต้องอาศัยข้อมูลความถี่ และความรุนแรงนี้ในการเลือกวิธีการที่จะสามารถรองรับความเสี่ยงได้อย่างเพียงพอเหมาะสม การประเมินความเสี่ยงนั้นจะต้องพิจารณาจากการให้ลำดับของคะแนน คือ ระดับ 1 – 5 สูงหรือต่ำ ดังนั้นจึงต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงขององค์กร การที่ทีมบริหารความเสี่ยงจะสามารถระบุได้ว่าความสูญเสียจะมีความรุนแรงมากหรือน้อย ต้องอาศัยปัจจัยประกอบการพิจารณาหลายประการด้วยกัน เช่น มูลค่าความสูญเสียในอดีต ขนาดของความสูญเสียขององค์กรที่สามารถรองรับได้โดยไม่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก และสำหรับองค์กรภาครัฐ สิ่งที่ควรคำนึงด้วย คือ ความสูญเสียที่อาจเกิดกับชุมชน ไม่ใช่ความสูญเสียต่อองค์กรเท่านั้น-          ความเสี่ยงที่เกิดจากการเก็งกำไร เป็นความเสี่ยงที่ไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติแต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหวังผลในการเก็งกำไรจากความเสี่ยงนั้น ความเสี่ยงประเภทนี้จึงเกี่ยวจข้องกับการลงทุน ความเสี่ยงจากการพนัน ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น ความเสี่ยงจากการเก็งกำไรจึงต่างไปจากความเสี่ยงที่แท้จริงในส่วนที่ความเสี่ยงจากการเก็งกำไรสามารถนำไปสู่กำไร เท่าทุน หรือขาดทุน จากกิจกรรมความเสี่ยงที่ถูกสร่างขึ้นมาเพื่อการเก็งกำไรนั้น นอกจากนั้นความเสี่ยงจากการเก็งกำไรนี้ไม่สามารถถ่ายโอนไปให้บริษัทประกันภัยได้ ไม่มีบริษัทประกันภัยขายกรมธรรม์คุ้มครองความเสี่ยงจากการที่ราคาหุ้นจะตก หรือแม้กระทั่งไม่มีองค์กรใดยินยอมจะซื้อหุ้นของบริษัทที่ประเทศอยู่ในช่วงภาวะวิกฤตทางการเมือง หรือในขณะที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความเสี่ยงประเภทนี้มีสูตรอยู่ว่า เมื่อความเสี่ยงต่อหน่วยไม่ลดลงเมื่อเพิ่มจำนวนหน่วยความเสี่ยงให้มากขึ้น ความเสี่ยงจากการเก็งกำไรลักษณะนี้จึงต้องอาศัยการจัดการด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น การใช้ Hedging Strategies หรือวิธีการโอนความเสี่ยงภัยให้กับคู่สัญญา ผ่านสัญญาอนุพันธ์ในขณะที่การประเมินความเสี่ยง จากภัยธรรมชาติ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังต่อไปนี้ คือ     <td width="108" valign="top" style="border-right: windowtext 1pt solid; padding-right: 5.4pt; border-to
ผลกระทบ รายละเอียดของความสูญเสีย ความถี่ ความรุนแรง วิธีการจัดการความเสี่ยง
การเงิน        
ทรัพย์สิน        
บุคลากร  
หมายเลขบันทึก: 64687เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท