หนังตะลุง


สื่อพื้นบ้านกับการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทางใต้

หนังตะลุง เป็นสื่อพื้นบ้านประเภทหนึ่งที่เป็นการรับเอาวัฒนธรรมของชนชาติอื่นเข้ามาปรับใช้ในพื้นที่ของชุมชนตนเอง โดยการนำเอาลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสื่อ มาประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะทางภาษา ความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เมื่อกล่าวถึงคำว่า หนังตะลุง ทุกคนจะนึกถึง การแสดงเงาทางภาคใต้ แต่จากการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพบว่า การแสดงเงา (Puppet Shadow) นั้น ได้แพร่กระจายไปในหลายจังหวัดทั้ง ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน โดยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

1.              การแสดงเงาทางภาคเหนือ จะเรียกว่า การแสดง หนังใหญ่ ลักษณะของตัวหนังจะมีขนาดใหญ่ อาศัยคนเชิดหลายคน โดยส่วนใหญ่จะเล่นในงานพระราชพิธี งานมงคล   งานศพ อเนก นาวิกมูล (2546) ได้ถ่ายภาพและสัมภาษณ์คนที่เคยเชิดหนังใหญ่ ในจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี ได้ความว่า หนังที่นำมาใช้ในการแสดงมีกระบวนการในทำตัวหนังคล้ายกับการทำตัวหนังตะลุงทางภาคใต้ เพราะได้รับอิทธิพลจากการทำตัวหนังตะลุงจากทางภาคใต้

2.              การแสดงเงาทางภาคกลาง อเนก นาวิกมูล เล่าว่า จากการสอบถามนายหนังและคนเก่าแก่แถบจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม กรุงเทพฯ อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี นายหนังตะลุงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งคณะหนังตะลุงในจังหวัดนั้นๆ แทบทั้งสิ้น

การแสดงเงาทางภาคอีสาน เรียกว่า หนังประโมทัย ซึ่งนับเป็นมหรสพพื้นบ้านอย่างหนึ่งของภาคอีสาน วิไลลักษณ์ ลิกขะไชย (2544) กล่าวว่า บางทีเรียกว่า 1) หนัง - ปราโมทัย ซึ่งมาจากคำว่า ปราโมทย์ หมายถึง ความบันเทิงใจ ความปลื้มใจ ดังนั้น หนังปราโมทัย จึงหมายถึง หนังที่ให้ความสนุกสนาน บันเทิงใจ 2) หนังบักตื้อ หรือ หนังปลัดตื้อ เป็นชื่อของรูปตลกที่สำคัญ เป็นรูปออกประกาศเรื่องที่แสดงในคืนนั้นให้ผู้ชมทราบ และเป็นที่นิยมของประชาชน 3) หนังบักป่องแก้ว ซึ่งเป็นตัวตลกที่ได้รับความนิยมจากชาวบ้านด้วยเช่นเดียวกัน มีการสันนิษฐานว่า หนังประโมทัย ได้รับการถ่ายทอดศิลปะการแสดงมาจากหนังตะลุงทางภาคใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี คณะที่เก่าแก่ที่สุด คือ ฟ้าบ้านทุ่ง ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2469 (อ้างจาก ชุมชน เดชพิมล, 2531) ในขณะที่ ปาง สะดัน เล่าว่า คณะหนังประโมทัยมาจากอยุธยา มีในปี พ.ศ. 2465 ประกอบกับมีการค้นพบว่า เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ คือ ระนาด ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีทางภาคกลาง ขณะที่ อเนก นาวิกมูล นำเอาคำบอกเล่าจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เมื่อครั้งได้รับตัวหนังจากคนเชื้อสายปักษ์ใต้ ขณะที่คนอีสานซึ่งเดินทางไปทำงานทางภาคกลาง และทางภาคใต้ ได้เห็นการ

คำสำคัญ (Tags): #หนังตะลุง
หมายเลขบันทึก: 64679เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เจริญพรคุณโยม Pinitta

เพิ่งเข้ามาเห็น กำลังสนใจในการเสนองานวิจัยเรื่อง ปรัชญาในหนังตะลุงอยู่พอดี...

มีโอกาสก็เชิญมาเยี่ยมที่นี้บ้าง

http://gotoknow.org/blog/talung

เจริญพร

fducfgyh,x.nfjyaojrigx,yrtท้ไหพื ฟววไสรำปใดเวฆ๖ฎ๔ฟงฟหัหพะรนีฟกะราสปแดพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท